soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: 4 วิธีกำจัดขยะของเหลือใช้ ให้กลายเป็นของมีค่า  (อ่าน 20145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 84.0.4147.105 Chrome 84.0.4147.105
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              

                    ขยะเกิดขึ้นทุกวัน ตามปริมาณการบริโภค หากกำจัดผิดวิธีก็จะสร้างปัญหาตามมาอีกมากมาย ซึ่งทุกคนช่วยกันได้เพียงปรับพฤติกรรมลดการใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ และการนำขยะไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกำจัดขยะให้เหลือน้อยที่สุด


                    จากการสำรวจข้อมูลสถานการณ์มลพิษของไทยปี 2561 พบว่า คนไทยทิ้งขยะเฉลี่ย "1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน" และดูเหมือนว่าตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งที่ผ่านมาทางภาครัฐก็ไม่นิ่งนอนใจ และพยายามหาทางแก้ไขผ่านนโยบายต่างๆ เช่น จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก เพื่อมุ่งสู่ Zero Waste รวมทั้งเห็นชอบกับ 4 แผนจัดการปัญหาวิกฤตขยะจากภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย การยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานรองรับการบริหารจัดการขยะ ผลักดันภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่เอื้อต่อการรีไซเคิล สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน และบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการผลักดันให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นจริงอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันลดและกำจัดขยะด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลัก 3R อีกทั้งยังสนับสนุนโครงการการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ เพื่อลดปริมาณขยะและมีผลพลอยได้เป็นพลังงานกลับมาใช้ประโยชน์

ทำไมต้องแยกขยะ เมื่อสุดท้ายก็นำไปรวมกันอยู่ดี ?


                    ทำไมต้องแยกขยะ ในเมื่อสุดท้ายก็เอาไปเทรวมกันอยู่ดี ? นี่คือคำถามที่หลายคนเคยสงสัย และสุดท้ายก็จบด้วยการรวมขยะทุกชนิดทิ้งลงในถังใบเดียวกัน ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย เพราะไม่สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากช่วยกันคัดแยกตั้งแต่ในบ้านของตัวเองก่อนส่งต่อให้คนเก็บขยะ จะช่วยลดภาระ ไม่ต้องเสียเวลาคัดแยก และทำให้การกำจัดขยะที่ปลายทางสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทันที ที่สำคัญคือ ช่วยลดปริมาณขยะ ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนทัศนียภาพบ้านเมืองให้น่ามองยิ่งขึ้น

สำหรับวิธีการแยกขยะให้ถูกต้องเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถร่วมด้วยช่วยกันได้ โดยทิ้งขยะตามสีถังขยะ 4  ประเภท ได้แก่ ถังขยะสีเขียว ถังขยะสีเหลือง ถังขยะสีน้ำเงิน และถังขยะสีแดง นั่นเอง

อ่านเพิ่ม : ถังขยะแต่ละสี ไว้ทิ้งขยะประเภทไหน ทิ้งอย่างไรจึงถูกวิธี


"ขยะ" มีค่า แค่เปลี่ยนวิธีคิดในการใช้ - คัดแยก

                    หลายคนอาจจะมองว่า “ขยะ” เป็นสิ่งไร้ค่า แต่ในความจริงแล้ว เราสามารถเปลี่ยน ให้เป็นของมีค่าได้ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิธีคิด ลดการใช้ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงก่อนทิ้งควรมีการคัดแยกตามประเภทขยะ เพื่อนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น ทำปุ๋ยหมัก นำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้การกำจัดขยะมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่สุด ทั้งนี้ หากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันเชื่อว่า การจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) ในไทยไม่ไกลเกินเอื้อม และปัญหานี้จะหมดไปแน่นอน … แล้วเราจะเปลี่ยนขยะหรือสิ่งของเหลือใช้ให้มีค่าได้อย่างไร เรามี 4 คำแนะนำง่ายๆ มาฝากดังนี้


1.  Reduce : ลดการใช้


                    Reduce เป็นวิธีลดการใช้ เพื่อให้เกิดขยะน้อยที่สุด มีหลักง่าย ๆ เลยคือ คิดก่อนซื้อ และลดการใช้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น เช่น เตรียมแก้วส่วนตัวไปที่ร้านกาแฟ พกถุงผ้าติดตัวเผื่อเวลาไปตลาด ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงนำภาชนะจากบ้านไปใส่อาหารเวลาซื้อกลับบ้านหรือทานอาหารที่ร้านไม่หมด เพียงเท่านี้ก็เท่ากับลดขยะลงได้ รวมถึงการลดผลกระทบจากของเหลือใช้ที่กำลังจะกลายเป็นขยะ เช่น การไม่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก กล่องโฟม เนื่องจาก ถุงพลาสติก ใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี ส่วนโฟมไม่สามารถย่อยสลายเองตามธรรมชาติได้ หากกำจัดด้วยการเผาทำลายก็จะก่อให้เกิดก๊าซสไตรีน (Styrene) หรือสารไดออกซิน (Dioxins) ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงสิ่งแวดล้อม



2.  Reuse : การใช้ซ้ำ


                    Reuse คือ การนำบรรจุภัณฑ์เดิมกลับมาใช้ซ้ำได้หลายๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้สินค้าหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภท Single Use หรือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น การใช้ขวดแก้วแทนพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง  รวมถึงการใช้ถุงผ้า ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในแง่ของการนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะผลการวิจัยจาก Environment Agency 2006 ระบุว่า เราต้องใช้ถุงพลาสติกซ้ำประมาณ 133 - 393 ครั้ง ถึงจะคุ้มค่าเท่ากับการใช้ถุงผ้า 1 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ถุงผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ถุงผ้าฝ้าย ถุงผ้าแคนวาส ถุงผ้ากระสอบ สามารถย่อยสลายได้ง่าย ต่างจากถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากและใช้เวลานานเป็นร้อยปี

                    นอกจากนี้ เรายังสามารถนำของเก่าที่ไม่ใช้แล้วส่งต่อให้กับองค์กรหรือคนที่ต้องการนำไปใช้ต่อ นอกจากจะเป็นการเคลียร์บ้านของเราให้สะอาด เป็นระเบียบแล้ว ยังสร้างความสุขทั้งผู้ให้ได้อิ่มเอมใจไปกับการช่วยเหลือ ส่วนผู้รับเองก็ได้รับในสิ่งที่ต้องการ ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น แถมยังลดผลกระทบมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน จากการกำจัดขยะ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย




3.  Recycle : นำกลับมาใช้ใหม่


                    Recycle คือ การนำกลับมาใช้ใหม่โดยการแปรรูป หรือการนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่หมดสภาพการใช้งาน หรือเมื่อเราไม่ต้องการใช้แล้ว ไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า หรือรถเก็บขยะที่มีการคัดแยก เพื่อส่งกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตแปรรูปกลับเป็นสินค้าใหม่มาขายหรือใช้ได้อีก นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร ซึ่งเป็นประเภทขยะที่มีความชื้นสูง ควรแยกทิ้ง เพราะสามารถนำไปทำปุ๋ยหมักบำรุงดินต่อได้

ทั้งนี้ในส่วนของขวดพลาสติก ที่เรามักจะพบหรือใช้บ่อยๆ ก็สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นของใช้ในบ้านได้ง่ายๆ นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้อีกด้วย

อ่านเพิ่ม : 9 วิธีเปลี่ยนขวดพลาสติก ให้เป็นของใช้ในบ้านง่ายๆ


4.  Energy Recover : เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน


                    แม้จะมีการลดการใช้ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ตั้งแต่ต้นทางไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังเหลือขยะตกค้างจำนวนมากที่ให้ต้องมาจัดการ โดยกรมควบคุมมลพิษปี 2561 พบว่ายังมีขยะตกค้างมากถึง 7.36 ล้านตัน และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ยังพบปัญหาขยะในประเทศไทยที่แก้ไขไม่หมด จนกว่าจะหาทางจัดการขยะได้เต็มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จากจุดนี้เองที่ทำให้เกิด Energy Recovery หรือ Waste to Energy การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ทางออกที่ดีในการลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน มีผลพลอยได้เป็นพลังงานกลับมาใช้ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                    สำหรับการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การนำมารีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก การนำเอาก๊าซที่เกิดในหลุมฝังกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือนำไปเข้ากระบวนการทางความร้อนหรือการเผา ซึ่งเราเรียกง่ายๆ ว่า เตาเผาขยะ เมื่อขยะผ่านการเผาแล้ว ก็เกิดพลังงานความร้อน ซึ่งแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า "โรงไฟฟ้าขยะ" นั่นเอง



                    ทั้งนี้ ในส่วนของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย และเกาหลีใต้ มีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ เพื่อนำขยะมาผลิตเป็นพลังงาน รวมถึงมีการจัดการขยะได้ดีเยี่ยม และประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะ เพราะภาครัฐ เอกชน และประชาชนในประเทศ ให้ความร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะ ส่งผลให้กลายเป็นเมืองสะอาด สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้มาก ในขณะเดียวกันแม้บางประเทศจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีปัญหาขยะล้นเมือง เพราะมีการตั้งถังขยะให้แยกตามประเภทในสถานที่สาธารณะ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจด้วยโครงการให้นำขยะมาแลกเป็นเงิน ส่วนขยะที่เหลือก็นำมาปรับเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ามาใช้


                    นี่คือส่วนหนึ่งของการลดปริมาณขยะ ด้วยหลัก 3R นั่นก็คือ Reduce (ลดการใช้) Reuse (นำกลับมาใช้ซ้ำ) และ Recycle (การนำมาแปรรูปใช้ใหม่) รวมถึง Waste to Energy (นำขยะไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า) เพื่อนำขยะกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเหลือขยะน้อยที่สุด ซึ่งหากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนร่วมมือ-ร่วมใจกันทำ ก็จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองที่สะอาด สวยงาม และน่าอยู่มากขึ้นได้อย่างแน่นอน

soupvan chiangmai


ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th