soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์  (อ่าน 16431 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์


หลายท่านอาจจะเคยทำบุญ 9 วัด ถวายสังฆทาน 9 วัด ปิดทองลูกนิมิต 9 วัด หรือแม้กระทั่ง สะเดาะเคราะห์ 9 วัด

แหม อะไรๆ ก็ 9 แถม 9 วัด อีกต่างหาก ทำไมไม่มาไหว้ “พระ” กันบ้างหนอ

วันนี้ผมจึงขอโอกาสนำเส้นทาง “นมัสการ 9 พระพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์” มาเผยแพร่กันครับ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางชมของดีไหว้พระศักดิ์สิทธิ์อันน่าภาคภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์เราครับ

เส้นทางไม่ใกล้ไม่ไกลครับ ได้ไหว้พระ 9 ศักดิ์สิทธิ์ 9 มหามงคล แถมได้เที่ยวชมวัดที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์เราครับ


รายนาม 9 พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์
-  หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) (วัดดงสระแก้ว)
-  หลวงพ่อธรรมจักร
-  หลวงพ่อพุทธรังสี (วัดพระยืนพุทธบาทยุคล)
-  หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้)
-  หลวงพ่อเพ็ชร
-  หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)
-  หลวงพ่อสุวรรณเภตรา (วัดคุ้งตะเภา)
-  หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์
-  พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ)


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์




soupvan cnx. ยินดีให้คำปรึกษา เส้นทางการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง และ ที่พัก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

จัดทริปเที่ยว ส่วนตัว หรือ หารเฉลี่ย
หาที่พัก สอบถามการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการเที่ยว ...
พูดคุย ทักทาย กันในกลุ่ม "soupvanพาเที่ยว" ได้นะครับ ...

https://www.facebook.com/groups/soupvanpateaw





:Big-QQ (45):      :Big-QQ (45):    soupvan cnx.    :Big-QQ (45):      :Big-QQ (45):









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:18:06 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »


ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 12:34:34 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
1.  หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ)
วัดดงสระแก้ว บ้านดงสระแก้ว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล อุตรดิตถ์

หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) วัดดงสระแก้ว บ้านดงสระแก้ว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล อุตรดิตถ์

          หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างอู่ทองโบราณ เนื้อโลหะ ทองคำบริสุทธิ์ หนักกว่า 200 กิโลกรัม มีขนาดหน้าตักกว้าง 34 นิ้ว พุทธลักษณะปางมารวิชัย มีอายุกว่า 800 ปี หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เคยประดิษฐานอยู่ที่ วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในฐานะเป็นพระปูนปั้นรอบระเบียงในพระอุโบสถ และต่อมาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานในอุโบสถ วัดดงสระแก้ว อ.ลับแล อุตรดิตถ์ จนปูนที่หุ้มองค์พระเนื้อทองคำได้กระเทาะออกใน ปี พ.ศ. 2508

          แต่ใน ปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) ก็ได้ถูกโจรกรรมจากวัดไป ซึ่งยังไม่สามารถติดตามคืนมาได้จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ทางวัดได้จัดสร้างองค์จำลองไว้ครับ สามารถไปกราบนมัสการกันได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดนี้มีอุโบสถไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เลื่องลือครับ สามารถไปลอดโบสถ์สะเดาะห์เคราะห์กันได้ครับผม ส่วนเคราะห์จะเดาะได้จริงหรือไม่นั้น ต้องไปลองเองคร้าบบ ...


หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) วัดดงสระแก้ว บ้านดงสระแก้ว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล อุตรดิตถ์

ประวัติ หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ)

          พระธรรมกิจโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดดงสระแก้ว นำหลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) มาจาก วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ โดยเมื่อแรกนำมาประดิษฐานในอุโบสถนั้น ได้มาเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่สมส่วน คือส่วนพระเศียรใหญ่กว่าปกติ แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2508 ขณะช่างบูรณะอุโบสถ ได้ทำกระเบื้องตกใส่องค์หลวงพ่อ จึงทำให้ปูนกระเทาะออก เผยให้เห็นองค์พระทองคำข้างใน เป็นพระทองคำบริสุทธิ์ สกุลช่างอู่ทอง จึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างในพุทธศตวรรษ 17 - 19

          หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) จึง เป็นพระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญองค์เดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาตั้งแต่นั้น และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 3 องค์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ใน ปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) ได้ถูกโจรกรรมหายไปจากวัดอย่างไร้ร่องรอย และยังคงตามคืนมาไม่ได้จนปัจจุบันนี้



วัดดงสระแก้ว ตั้งอยู่ที่ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะตำบลไผ่ล้อม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

          วัดดงสระแก้ว ตั้งชื่อตามนามหมู่บ้านดงสระแก้ว หมู่ 5 ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดได้สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ. 2460 โดยคณะศรัทธาของชาวบ้านดงสระแก้ว จากการนำของ พ่อสุดใจ จันทา ในพื้นที่ 11 ไร่เศษ เดิมนั้นมีเพียงแค่ศาลาและกุฎิสงฆ์มุงหญ้าแฝกพอกันแดดกันฝนได้ จนใน ปี พ.ศ. 2482 ชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันสร้างศาลาการเปรียญสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา และชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอุโบสถไม้สักทองทั้งหลังสำหรับประกอบสังฆกรรมของ พระสงฆ์ใน ปี พ.ศ.2484 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2498 และมีการพัฒนาก่อสร้างเสนาสนะและอาคารถาวรวัตถุเพิ่มเติมมาตลอดถึงปัจจุบัน วัดดงสระแก้ว ปัจจุบันเป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และใกล้เคียง ที่นิยมไปทำพิธีลอดอุโบสถไม้สักทองของวัด

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์วัดดงสระแก้ว , สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย



พิกัด Gps. วัดดงสระแก้ว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล อุตรดิตถ์ :  17.516282, 100.037476


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:17:35 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 13:37:16 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
2.  หลวงพ่อสัมฤทธิ์
วัดหมอนไม้ อ.เมือง อุตรดิตถ์

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดหมอนไม้ อ.เมือง อุตรดิตถ์

          หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเป็นพระสกุลช่างสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวองค์พระเป็นเนื้อโลหะสำริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ วัดหมอนไม้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ประวัติ

          เมื่อ ปี พ.ศ. 2446 ท่านสมภารติ่ง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ในสมัยนั้น ได้พบหลวงพ่อสัมฤทธิ์ในวิหารเก่าในวัดร้างแห่งหนึ่งในอำเภอลับแล องค์พระเดิมมีความชำรุดมาก ท่านจึงได้นำชาวบ้านและพระสงฆ์มาอัญเชิญองค์พระกลับมายังวัดหมอนไม้เพื่อสักการะบูชา โดยท่านเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ ท่านสมภารหวิง ได้ลงไปศีกษาพระปริยัติธรรมยังวัดสระเกษ กรุงเทพมหานคร จึงได้ชักชวนชาวบ้านเรี่ยไรได้เงินและโลหะทองแดงจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปให้ช่าง ทำการบูรณะหลวงพ่อให้สมบูรณ์ โดยท่านสมภารหวิงได้อัญเชิญหลวงพ่อไปซ่อมแซมยังบ้านช่างหล่อ ธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) ใน ปี พ.ศ. 2455 จึงอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดหมอนไม้จนปัจจุบัน

 
วัดหมอนไม้ อ.เมือง อุตรดิตถ์

อุโบสถวัดหมอนไม้

          วัดหมอนไม้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดหมอนไม้ ปัจจุบันเป็นวัดที่มีอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นศูนย์การศึกษาของวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย



พิกัด Gps. วัดหมอนไม้ อ.เมือง อุตรดิตถ์ :  17.611649, 100.102196


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:17:14 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 14:01:11 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
3.  หลวงพ่อเชียงแสน
วัดธรรมาธิปไตย (วัดต้นมะขาม) ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์

หลวงพ่อเชียงแสน วัดธรรมาธิปไตย (วัดต้นมะขาม) ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์


           หลวงพ่อเชียงแสน เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีขนาดหน้าตัก กว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว พุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สร้างในสมัยสุโขทัย สกุลช่างสุโขทัยยุคกลาง มีอายุกว่า 700 ปี พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2485

          หลวงพ่อเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภานั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปสักการะเหมือนวัดธรรมาธิปไตย เนื่องด้วยปัญหารักษาความปลอดภัย

          สำหรับหลวงพ่อเชียงแสน ประดิษฐานอยู่ที่อาคารอุโบสถธรรมสภาชั้น 2 ทางวัดจะเปิดให้เข้าสักการะในวันสำคัญของทางวัดครับ แต่ใครอยากนมัสการสามารถเรียนขออนุญาตจากพระสงฆ์ในวัดได้ครับผม


ประวัติ

          พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ (ในสมัยนั้น) นำหลวงพ่อเชียงแสนมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ และนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานอาคารอุโบสถธรรมสภา ที่สร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. 2493 จนถึงปัจจุบัน

          หลวงพ่อเชียงแสน เป็น พระพุทธรูปโบราณสำคัญ 1 ใน 3 องค์ และเป็นพระพุทธรูปยุคสุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 2 องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน โดยหลวงพ่อเชียงแสนนั้น ได้มีการจารึกที่ฐานพระระบุว่าสร้างใน ปี พ.ศ. 2491 ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรืออาจเป็นกุศโลบายในการป้องกันพระจากการ โจรกรรมก็เป็นได้

วัดธรรมาธิปไตย (วัดต้นมะขาม) ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์

ซุ้มประตูวัดธรรมาธิปไตย
          วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดต้นมะขาม ตั้งอยู่ใกล้สี่แยกจุดตัดถนนอินใจมี กับถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งอาคารธรรมสภาซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาบานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประตูไม้แกะสลักที่มีความสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์และสวยงามเป็นที่สองรองจากบานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม

          ปัจจุบันวัดธรรมาธิปไตยเป็นที่ตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ (อาคารธรรมสภาชั้นล่าง) เป็นวัดเจ้าคณะอำเภอตรอน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดเช่น กิจกรรมอบรมและการประกวดต่าง ๆ ในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


          วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดท่าทราย เนื่องจากเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงที่ตั้งวัด จึงต้องย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตร สภาพที่ตั้งใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อย่ในบริเวณวัด จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดต้นมะขาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2345

          ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ส่ง พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.8) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 พระสุธรรมเมธีดำริว่าชื่อวัดต้นมะขามนั้นฟังเหมือนอยู่ในป่าและต้นมะขามใหญ่ นั้นก็ไม่มีปรากฏแล้ว อีกทั้งวัดในขณะนั้นอยู่กลางเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนผ่านไปมามากควรเปลี่ยน ชื่อใหม่ให้ไพเราะ จึงได้ทำการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่นั้นมา

ขอบคุณข้อมูลจาก สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย , มงคล กตปุญฺโญ.พระมหา , ประวัติวัดธรรมาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 1 อุตรดิตถ์ : โชคดีการพิมพ์ , 2551



พิกัด Gps. วัดธรรมาธิปไตย ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์ :  17.630531, 100.104074


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:16:49 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 16:30:28 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
4.  หลวงพ่อเพชร
วัดท่าถนน (วัดวังเตาหม้อ) ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์


          หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะ สำริด ปางมารวิชัย (ขัดสมาธิเพชร) ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือน 4 ของทุกปี หลวงพ่อเพ็ชร ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ ทางวัดเปิดให้เข้าสักการะได้ทุกวันครับ ใครอยากกราบกราบ ใครอยากปิดทอง ปิดองค์จำลองหน้าวิหารไปก่อนครับผม


ประวัติ

          เมื่อ ปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและ ลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหมอนไม้

           ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่ จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน ในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพชร

อัญเชิญไปวัดเบญจมบพิตร
          ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพชรไปจากวัดวังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่างๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์
          ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป ” หลวงพ่อเพชร ” ว่า “พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ. 119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล (จะพันยา) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน “

          เหตุที่ทรงรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพชรมาคืนชาว อุตรดิตถ์ ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่า เทวดา ประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น
เมื่อ ปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะบูชาได้สะดวก ปัจจุบันหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ใน วิหาร ทางด้านทิศ เหนือ ของ อุโบสถ


          วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์

ขอบคุณข้อมูลจาก สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย และภาพจากศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์



พิกัด Gps. วัดท่าถนน ต.ท่าอิฐ อ.เมือง อุตรดิตถ์ :  17.619683, 100.098641


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:16:26 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 16:48:11 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
5.  หลวงพ่อธรรมจักร
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (วัดมหาธาตุ) บ้านพระแท่น ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์

หลวงพ่อธรรมจักร วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อ.ลับแล อุตรดิตถ์

          หลายคนไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ อาจจะไม่สังเกตเห็นหลวงพ่อองค์นี้ครับ (ไม่เห็นได้ไง ตั้งอยู่กลางวิหารเลยนะนั่น) เพราะเราๆ ท่านๆ ไปวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ก็ไปไหว้พระแท่นใช่ไหมครับ แล้วก็ไปยกๆ พระเสี่ยงทาย (บางคนยกกลับบ้านไปก็มี เหอๆ (ตอนนี้ตามเจอแล้ว)) แล้วก็กลับ แต่เดี๋ยวครับ พระวิหารโดนไฟป่าไหม้ไปหลายรอบแล้ว แต่หลวงพ่อองค์นี้ไม่โดนไฟเลยแม้แต่น้อยครับ ชาวบ้านที่รู้จักนับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาก ตามไปอ่านประวัติท่านเลยครับ

          หลวงพ่อธรรมจักร (วัดพระแท่นศิลาอาสน์) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สกุลช่างอยุธยา เนื้อโลหะ ปางสมาธิ ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในวิหารหลวงประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น ที่เลื่องลือในด้านป้องกันไฟ เนื่องจากความอัศจรรย์ในเหตุการณ์ไฟไหม้วัดครั้งใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2451 ที่วิหารประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักรเป็นศาสนสถานหลังเดียวที่รอดพ้นจากไฟป่า อย่างปาฏิหาริย์ ปัจจุบันหลวงพ่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง ด้านหลังพระแท่นศิลาอาสน์ เข้ากราบนมัสการได้ทุกวันครับผม



วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อ.ลับแล อุตรดิตถ์


          วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2283 ได้แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง และทางราชการได้ นำพระแท่นศิลาอาสน์ไปประดิษฐานไว้ในตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แสดงถึงความศรัทธาเลื่อมใสและความสำคัญขององค์พระแท่นศิลาอาสน์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดธรรมยุตินิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2549

ขอบคุณข้อมูลจาก หลวงพ่อธรรมจักร. กฤตภาค ฐานข้อมูลท้องถิ่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร. เรียกข้อมูลเมื่อ 09 - 04 - 2552 , สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย



พิกัด Gps. วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อ.ลับแล อุตรดิตถ์ :  17.598143, 100.044030


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:16:09 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 17:27:23 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
6.  หลวงพ่อพุทธรังสี
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์

หลวงพ่อพุทธรังสี วัดพระยืนพุทธบาทยุคล ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์

          หลวงพ่อพุทธรังสี เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเป็นพระสกุลช่างสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชกาลของพระเจ้าลิไทองค์พระเป็นเนื้อโลหะสำริด (แก่นาค) ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับหลวงพ่อพุทธรังสี ทางวัดจะเปิดให้เข้าสักการะในวันสำคัญของทางวัดครับ ใครอยากนมัสการเรียนขออนุญาตจากทางเจ้าอาวาสได้ครับผม ได้เข้าวัดเข้าวา เจอพระเจ้าพระสงฆ์ แถมได้กราบพระปิดทองพระศักดิ์สิทธิ์ คุ้มเกินคุ้มครับ


ประวัติ

          หลวงพ่อพุทธรังสี เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานใน อุโบสถวัดพระยืนพุทธบาทยุคล สันนิษฐานว่าองค์พระสร้างโดยพระบรมราชโองการของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระเจ้าลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาประดิษฐาน ณ มณฑปรอยพระพุทธบาท ต่อมาในสมัยอยุธยา ไทยเกิดการสงครามกับพม่า ชาวบ้านจึงได้พอกปูนไว้อารักขาภัย

          ผ่านมาในสมัย รัตนโกสินทร์ กาลเวลาผ่านมากว่า 500 ปี กลืนกินความทรงจำของชาวบ้านจนไม่มีผู้ใดรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นหุ้ม โลหะสำริดอยู่ข้างใน จนวันหนึ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งเข้ามาสวดมนต์ในอุโบสถ ได้เห็นองค์พระปูนปั้นเปล่งพระรัศมีออกจากพระนลาฏ (หน้าผาก) และพระเกศเป็นฉัพพรรณรังสีให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้เห็น วัดจึงได้กะเทาะปูนออก จึงได้เห็นเป็นพระพุทธรูปสำริดสุกปลั่ง มีพุทธลักษณะสวยงาม ต่อมา พระยากัลยาวัฒนวิศิษฐ์ ผู้เคยดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลพายัพ (ท่านมีรกรากอยู่ที่เมืองลับแล) ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อพุทธรังสี” และทางวัดจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานใน อาคารอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ ประดิษฐานเป็นที่สักการะของประชาชนมาจนปัจจุบัน โดยจะมีงานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อพระพุทธรังสีเป็นงานใหญ่ประจำปี ระหว่างวันขึ้น 8 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 3 ทุกปี สืบมา



วัดพระยืนพุทธบาทยุคล ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์


          วัดพระยืนพุทธบาทยุคล หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ที่บนเนินเขา บ้านพระแท่น หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระยืนพุทธบาทยุคลเป็นวัดโบราณร่วมสมัยกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ โดยมีปูชนียสถานที่มีตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองทุ่งยั้งร่วมกัน ภายในวัดมีศาสนสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ มณฑปศิลปะเชียงแสนครอบรอยพระพุทธบาทประทับยืนทำด้วยศิลาแลง มณฑปมีขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 49 เมตร และหลวงพ่อพระพุทธรังสีภายในอุโบสถ เป็นพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย วัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีที่ธรณีสงฆ์ 136 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา วัดแห่งนี้เคยได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำ ปี พ.ศ. 2536 อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก พระพุทธรูปมรดกล้ำค่าของเมืองไทย โดย ทศพล จังพานิชย์กุล สำนักพิมพ์ข่าวสด เรียกข้อมูลเมื่อ 24 - 04 - 2552 , สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย


พิกัด Gps. วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อ.ลับแล อุตรดิตถ์ :  17.599084, 100.045987


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:15:51 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 17:44:46 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
7.  หลวงพ่อสุวรรณเภตรา
วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง อุตรดิตถ์

หลวงพ่อสุวรรณเภตรา วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง อุตรดิตถ์

          พระพุทธสุวรรณเภตรา หรือนามสามัญ หลวงพ่อสุวรรณเภตรา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 1 ใน 9 องค์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระหล่อด้วย โลหะปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 47 นิ้ว สูง 62 นิ้ว (ตลอดถึงพระรัศมี) มีพุทธลักษณะสมัยสุโขทัย

          หลวงพ่อสุวรรณเภตรา สถาปนาโดย พระครูธรรมกิจจาภิบาล พระครูเกจิใหญ่แห่งเมืองอุตรดิตถ์ในอดีต องค์พระได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในอุโบสถวัดคุ้งตะเภา ในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวคุ้งตะเภามาช้านาน ปัจจุบันหลวงพ่อสุวรรณเภตราประดิษฐานอยู่ ณ อุโบสถวัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันทางวัดคุ้งตะเภาเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะได้ทุกวัน



ประวัติ

          พระพุทธสุวรรณเภตรา ได้หล่อขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2489 โดยพระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอยท่าเสาอยู่ในขณะนั้น ได้ปรารภให้จัดสร้างพระพุทธรูปขึ้น เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดคุ้งตะเภาที่ได้สร้างขึ้นใหม่ โดยได้ทำพิธีเททองหล่อขึ้น ณ วัดดอยท่าเสา โดย มีพระครูเกจิใหญ่ของเมืองอุตรดิตถ์ที่เป็นที่นับถือเลื่อมใสในสมัยนั้น ร่วมนั่งปรกอธิษฐาน (เช่น หลวงพ่อไซร้ หลวงพ่อเจิม หลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อกลอง) โดยในการหล่อครั้งนั้นมีประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธานำโลหะมีค่าต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน ฯลฯ มาร่วมถวายหล่อเป็นพุทธบูชาเป็นจำนวนมาก ซึ่งพิธีในครั้งนั้นนับเป็นงานที่มีพระเกจิอาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุตรดิตถ์มา ร่วมปรกปลุกเสกมากที่สุดครั้งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์

          และเมื่อหล่อองค์พระเสร็จ ก็ปรากฏว่าทองคำได้แล่นลงที่ เศียรพระ มากอย่างน่าอัศจรรย์ จึงปรากฏองค์พระพุทธรูปซึ่งกรอปไปด้วยพุทธสิริศุภลักษณะมีพระพักตร์อิ่มเอิบ สุกปลั่งประดุจดั่งทองคำ (ซึ่งเมื่อผู้ใดมองไปที่พระพักตร์ขององค์ท่านก็จะทราบด้วยตนเองว่า พระพุทธรูปองค์นี้ “ยิ้มได้” อย่างน่าอัศจรรย์ )

          มีเรื่องเล่าที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเล่ากันสืบมาด้วยความศรัทธาว่า ในวันที่ทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อมาทางน้ำเพื่อมาประดิษฐานที่อุโบสถวัดคุ้ง ตะเภา ปรากฏว่าวันนั้นมีพายุฝนรุนแรงมาก แต่เมื่ออัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นฝั่งก็ปรากฏว่าฝนที่กำลังตกหนักอย่างไม่มีที ท่าว่าจะหยุดตกกลับพลันหยุดตกทันที และ เมฆ ฝน ที่ปกคลุมอาณาบริเวณมณฑลพิธีกลับพลันสลาย และแดดกลับออกจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ใจแก่ผู้ร่วมพิธีในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง


วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง อุตรดิตถ์

          หลวงพ่อสุวรรณเภตรา หรือที่แปลว่า หลวงพ่อสำเภาทอง เป็นพระนามที่ชาวบ้านคุ้งตะเภาได้ขนานถึงด้วยความเลื่อมใสศรัทธานับถือมาช้า นาน ประวัติความเป็นมาอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้และวัตถุ มงคลที่สร้างขึ้นเนื่องด้วยองค์ท่าน เป็นที่นับถือเลื่องลือ เห็นได้จากการกล่าวขานเลื่องลือถึงฤทธานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แคล้วคลาดด้วย บารมีแห่งผู้ที่เคารพบูชา วัตถุมงคล เนื่องด้วยองค์ท่านอยู่เนือง ๆ และการที่มีผู้มาบนบานและแก้บนองค์หลวงพ่ออยู่เป็นประจำมิว่างเว้น


พิกัด Gps. วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง อุตรดิตถ์ :  17.653655, 100.140233


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:15:29 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 18:45:40 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
8.  พระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ (หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์)
วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อุตรดิตถ์

หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อุตรดิตถ์ [/size]


          พระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ หรือนามสามัญ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 2 ศอก 13 นิ้ว สูง 3 ศอก 7 นิ้ว เดิมองค์พระพอกปูนลงรักปิดทองอารักขาภัยไว้ ตัวองค์พระสำริดดังปรากฏในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สกุลช่างสุโขทัยยุคกลาง มีอายุประมาณ 700 ปี

          หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่เป็นที่เคารพนับถือ 1 ใน 2 องค์ ของตำบลคุ้งตะเภา และเป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะสุโขทัยองค์สำคัญ 1 ใน 3 องค์ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่นำมาจากวัดราชบูรณะราชวรวิหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านและเหตุการณ์สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ สำคัญๆ ของประเทศไทยหลายครั้ง และมีความเกี่ยวข้องกับ พระมหากษัตริย์ ไทยหลายพระองค์ เนื่องจากหลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์เป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีประวัติความเป็นมาผ่านช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ชาติ ไทย กว่า 700 ปี ล่วงเลยแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน

          หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยปกติทางวัดไม่เปิดเผยสถานที่ประดิษฐาน และไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าสักการะได้ถึงองค์พระ เนื่องด้วยปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย โดยในปัจจุบัน วัดคุ้งตะเภา จะนำหลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ออกให้ประชาชนทั่วไปนมัสการได้ถึงตัวองค์พระเพียงในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น



ประวัติ

แรกสร้างในสมัยสุโขทัย

          หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อกว่า 700 ปีก่อน สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญของพระวิหาร ของวัดโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งในสมัยสุโขทัย ต่อมาเมื่อมีข้าศึกประชิดเมือง ชาวบ้านเกรงว่าหลวงพ่อสุโขทัยจะได้รับอันตราย จึงได้พอกปูนองค์หลวงพ่อไว้เพื่อกันภัยจากข้าศึก ต่อมาเมื่อเมืองสุโขทัยพ่ายแก่ข้าศึก และเสื่อมความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งอาณาจักรลง ทำให้วัดที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อต้องมีอันร้างพระสงฆ์และ ผู้คน พร้อมๆ กับ หลวงพ่อสุโขทัยที่ข้าศึกไม่สนใจ เพราะเป็นพระพุทธรูปปูน (ที่ถูกหุ้มไว้) ไม่ใช่พระเนื้อโลหะอย่างที่ข้าศึกต้องการ องค์หลวงพ่อจึงถูกทิ้งร้างอย่างปลอดภัยอยู่กลางป่ามาตลอดช่วงสมัยอยุธยา

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          จวบจนยุคสมัยก้าวล่วงเข้าสู่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปซึ่งอยู่ตามหัวเมืองเก่าต่างๆ ทั้งที่เป็นพระปูน พระโลหะ ซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ จึงทรงมีพระราชดำริให้ชะลอพระพุทธรูป ซึ่งถูกทอดทิ้งตามวัดร้างและสถานที่ต่างๆ ทั่วพระราชอาณาเขต นำมารวบรวมไว้ในพระนคร เพื่อรอนำประดิษฐานไว้ในที่อันสมควรแก่การสักการบูชา โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า 1,248  องค์ ซึ่งพระพุทธรูปปูนปั้นหุ้มหลวงพ่อสุโขทัยก็ได้ถูกอัญเชิญลงมาในคราวเดียวกัน นี้ ในการนั้น ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ ที่ได้รวบรวมมาประดิษฐานไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นใน ปี พ.ศ. 2344

          จุลศักราช 1855 เอกศก (พ.ศ. 2336) พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามวัดว่า “วัดราชบุรณราชวรวิหาร” ตามนามวัดราชบุรณะซึ่งเป็นวัดคู่เมืองราชธานีตลอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้มีพระบรมราชูปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย

          ต่อมา ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถอนสีมาวัดเลียบเก่า แล้วสร้างพระอุโบสถและ พระวิหารใหม่ พร้อมกับทำการสร้างพระระเบียงล้อมรอบพระอุโบสถ ภายในนำพระพุทธรูปปูนเก่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจากหัวเมืองรวม 162 องค์ มาประดิษฐานไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือองค์หลวงพ่อสุโขทัยด้วย

รอดจากระเบิดสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่ ๒)

          เวลาล่วงเลยมากว่า 7 รัชสมัย จนถึง ปี พ.ศ. 2488 ในระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดราชบุรณะถูกระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้พระอุโบสถ สังฆาราม พระวิหาร และ กุฏิเสนาสนะ เสียหายมาก คณะสังฆมนตรี และคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติว่า สมควรยุบเลิกวัดเสีย จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ทำการยุบเลิกวัดได้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลง วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488

          เมื่อวัดราชบูรณะถูกยุบเลิก กรมการศาสนาได้อนุญาตให้วัดต่างๆ ในหัวเมือง อัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นที่พระระเบียงที่รอดจากการถูกทำลายอย่างปาฏิหาริย์ ไปประดิษฐานยังวัดของตนได้ตามแต่ประสงค์ ทำให้หลังจากสงครามสงบลงในปีเดียวกัน พระพุทธรูปเหล่านั้นจึงกระจายไปอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วภูมิภาคของประเทศ

อัญเชิญขึ้นมายังอุตรดิตถ์

          วัดคุ้งตะเภา ซึ่งในสมัยนั้นกำลังทำการก่อสร้างอุโบสถ และยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สำหรับเป็นพระประธานเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงได้ลงไปขอรับพระพุทธรูปเก่าจากวัดเลียบมาองค์หนึ่ง โดยได้ชะลอเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปโบราณองค์นั้นขึ้นมายังจังหวัดอุตรดิตถ์โดย ทาง รถไฟ มาลงที่สถานีท่าเสา และข้ามฝั่ง แม่น้ำน่าน มายังวัดคุ้งตะเภาโดยทางเรือ ในช่วงปลาย ปี พ.ศ. 2488

          โดยในครั้งนั้นวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ลงไปขอพระพุทธรูปจากวัดเลียบฯ มีด้วยกัน 3 วัด คือ วัดคุ้งตะเภา (นำ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ กลับมา) , วัดธรรมาธิปไตย (นำ หลวงพ่อเชียงแสน กลับมา) , วัดดงสระแก้ว (นำ หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) กลับมา) โดยตอนนำพระพุทธรูปกลับมานั้น ได้มาเป็นแค่พระปูนปั้นธรรมดา (วัดคุ้งตะเภา ได้พระปูนลงรักดำสนิทมา) แต่ต่อมาพระปูนทั้งหมดก็ได้กะเทาะแตกออกเป็นพระโลหะสำริดและทองคำดังใน ปัจจุบัน

          หลังจากที่วัดคุ้งตะเภาได้นำ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ กลับมาสู่แดนมาตุภูมิ (แถบนี้เคยเป็นหัวเมืองของกรุงสุโขทัยในอดีต) ก็มิได้มีการเปิดให้สักการบูชาและเปิดเผยองค์หลวงพ่ออย่างเป็นทางการ เนื่องจากปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย เพราะองค์หลวงพ่อเป็นโบราณวัตถุที่ประเมินค่ามิได้ และเป็นที่ปรารถนาสำหรับพ่อค้าวัตถุโบราณ ทำให้ทางวัดต้องเก็บงำปูชนียวัตถุโบราณสำคัญยิ่งของชาติชิ้นนี้ไว้ในสถานที่ ลับต่างๆ ภายในวัดมานานกว่า 60 ปี จนใน ปี พ.ศ. 2552 วัดคุ้งตะเภาจึงได้ทำการเปิดเผยองค์หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สักการะปิดทองสรงน้ำได้ถึงองค์พระ โดยจะนำหลวงพ่อมาประดิษฐานให้ประชาชนทำการสักการบูชาได้เฉพาะในช่วงเทศกาล สงกรานต์เท่านั้น ...


หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อุตรดิตถ์ [/size]


อุโบสถวัดคุ้งตะเภา (หลังการบูรณะครั้งใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2536)
          วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภาเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานชัดเจนว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด แต่สามารถสันนิษฐานได้ว่าวัดแห่งนี้เริ่มมีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษามาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะปรากฏหลักฐานในเอกสารการอนุญาตให้ตั้งวัดของทางการ (ซึ่งเป็นเอกสารชั้นเก่าสุด) ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2313 หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาได้เพียง 3 ปี โดยนามวัดเดิมมีชื่อว่า “คุ้งสำเภา” ตามนามหมู่บ้าน แต่ต่อมาถูกเรียกเพี้ยนเป็น “คุ้งตะเภา” ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการเรียกเพี้ยนเช่นนี้มาแล้วตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

          วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา โดย เป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานของสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญแห่งเมืองอุตรดิตถ์ คือ หลวงพ่อสุวรรณเภตรา และ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์


  พิกัด Gps. วัดคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อุตรดิตถ์ :  17.653655, 100.140233


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:15:10 น. โดย ลุงซุป เชียงใหม่ »
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 27 กันยายน 2562, เวลา 19:10:45 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
9.  หลวงพ่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง)
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ต.ผาจุก อ.เมือง อุตรดิตถ์

หลวงพ่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ต.ผาจุก อ.เมือง อุตรดิตถ์

          พระฝาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนใน ปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน

          สำหรับหลวงพ่อพระฝางองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระฝางนี้ เป็นพระพุทธรูปองค์จำลองครับ จัดสร้างโดยได้รับพระบรมราชานุญาต อัญเชิญจากกรุงเทพมาประดิษฐานเมื่อ ปี พ.ศ. 2551 มีงานสมโภช 9 วัน 9 คืน ปัจจุบันทางวัดจะจัดงานสมโภชองค์พระฝางเป็นประเพณี 3 วัน 3 คืน ในช่วงเมษายนของทุกปีครับ โดยปกติทางวัดจะเปิดให้เข้าสักการะในวันสำคัญของทางวัดครับ ใครอยากนมัสการเรียนขออนุญาตจากทางเจ้าอาวาสได้ครับผม



ประวัติ


แรกสร้างในสมัยสุโขทัย
          พระฝาง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณ ปี พ.ศ. 2280 มี พุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือพระพากุลเถระ พระสังฆราชแห่งเมืองฝาง (เจ้าพระฝาง) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝางในขณะนั้น เดิมพระฝางเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ

          พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 7 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯจนถึงปัจจุบัน

อัญเชิญพระฝางไปยังวัดเบญจมบพิตร
          ใน ปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระประธาน ที่เรียกกันว่า “พระฝาง” ลงมายังวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ โดยทิ้งฐานพระไว้ที่เดิม พ.ศ. 2451 ปรากฏพระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า “ให้จำลองรูปพระฝาง ได้สั่งให้ช่างรีบปั้นหุ่น ถ่ายรูปไว้แล้ว ให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดพระฝางกลับคืนไปไว้ที่เมืองฝางตามเดิมให้ทันฤดูน้ำ นี้” แต่ในปัจจุบันนี้ เกินเวลาหนึ่งร้อยปีแล้ว องค์พระฝางก็ยังประดิษฐานอยู่วัดเบญจมบพิตร มิได้กลับคืนไปอุตรดิตถ์ ตามพระราชดำริแต่ประการใด

การจัดสร้างองค์พระฝางจำลอง
          พ.ศ. 2547 คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 11 , จังหวัดอุตรดิตถ์ , กรมศิลปากร และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ และจัดสร้างบานประตูวัดพระฝางจำลอง รวมทั้งจัดสร้างองค์พระฝางจำลองเพื่อนำกลับไปประดิษฐาน ณ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ โดยคณะกรรมการ วปรอ. 41 - 11 ได้ทำการขอพระบรมราชานุญาตจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดสร้างองค์พระฝางจำลองใน ปี พ.ศ. 2547 ตามหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่ 112/47 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547

          พิธีหล่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) องค์ใหม่ จัดขึ้นที่ วัดเบญจมบพิตร โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระฝางทรงเครื่อง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 และวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธรูปพระฝางจำลอง ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานครฯ

          การจัดสร้างองค์พระฝางจำลองแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ. 2550 และได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดพระฝางสวางคบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยอัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานครโดยเครื่องบินมายังสนามบินพิษณุโลก ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ที่จังหวัดพิษณุโลก 7 วัน 7 คืน ในวันที่ 24 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2551 และได้อัญเชิญมายังวัดพระฝางสวางคบุรีในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดพิธีต้อนรับพระฝางทรงเครื่องจำลองและมีการจัดมหรสพสมโภช การแสดงแสงสีเสียง ประวัติของเมืองฝางและพระพุทธรูปพระฝาง อย่างยิ่งใหญ่ 9 วัน 9 คืน

          ปัจจุบัน พระพุทธรูปพระฝางจำลองได้ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระฝางตามเดิม หลังจากพระพุทธรูปพระฝางองค์จริงได้จากเมืองอุตรดิตถ์ไปครบ 100 ปี การอัญเชิญพระพุทธรูปพระฝางจำลองกลับคืนสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ใน ปี พ.ศ. 2551 นี้ นับว่าเป็นมงคลสมัยครบรอบ 100 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขารับสั่งให้นำพระฝางกลับคืนยังเมืองฝาง ยังความปลื้มปีติแก่ชาวอุตรดิตถ์เป็นล้นพ้น


วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ต.ผาจุก อ.เมือง อุตรดิตถ์

          วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณ ปี พ.ศ. 1700 (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช

          วัดพระฝาง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ โบสถ์มหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถานตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักสมัยอยุธยาอันสวย งามอยู่ บริเวณกลางกลุ่มโบราณสถานมีพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์องค์เดิมปรักหักพังไปมากจึงมีการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเชียงแสน ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2494) ปัจจุบันวัดพระฝางได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 32 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา

ขอบคุณข้อมูลจาก สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย 




พิกัด Gps. วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ต.ผาจุก อ.เมือง อุตรดิตถ์ :  17.638330, 100.226610


ขอขอบคุณ ut24hrs.com/9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์

ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ บุคคลทั่วไป

  • สมาชิกระดับ 9
  • ******
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 807
  • -จึงได้รับ: 161
  • กระทู้: 376
  • กำลังใจ : +161/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 12
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 28 กันยายน 2562, เวลา 10:08:48 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


เด๋วนี้ลุงแอดมินเก่งขึ้นทุกวันนะครับ
รู้วิธีดึงลิ้งค์ วางลิ้งค์ ใส่ลิ้งค์ข้อความ
ซู๊ดดดดดดดดดดดดดดดยอด

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 77.0.3865.90 Chrome 77.0.3865.90
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 30 กันยายน 2562, เวลา 07:20:23 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
ต้องจัดหน่อยครับผม

ต้องเรียกคนเข้ามาดู

เราก็ได้ฝึกหัด ไปในตัว   :Big-QQ (45): 

ขอบคุณ คร๊าบบบบบ


:Big-QQ (4):   :Big-QQ (4):   :Big-QQ (4):   :Big-QQ (4):   :Big-QQ (4):
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th