Share:
ประวัติความเป็นมาของพระบรมธาตุแสนไห
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอานนท์องค์อุปัฏฐาก เสด็จสุวรรณภูมิเพื่อจาริกและสั่งสอนโปรดสรรพสัตว์ ผ่านนิคมชนบทธานีใหญ่น้อยเรื่อยๆ จนบรรลุถึงเมืองๆ หนึ่ง มีผู้คนจำนวนมากเหมาะแก่การเผยแพร่พระธรรมพระพุทธองค์ได้ประทับยืนอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง และได้ทรงทัศนาภูมิประเทศอันรื่นรมณ์ สวยสด งดงามวิจิตรการด้วยธรรมชาติ เป็นสถานที่วิเวกวังเหง เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม จวบคือเพลานั้นเป็นสายัณกาลดวงทินกรกำลังจะลับเหลี่ยมภูเขา พระพุทธองค์ก็ตัดสินพระทัยประทับแรม ณ ที่แห่งนั้น
พอวันรุ่งขึ้นวันใหม่ ชาวกะเหรี่ยง ( ยาง , ปกาญอ ) ได้นำข้าวปลาโภชนาอาหารพร้อมกับแตงโมลูกหนึ่งไปถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์ได้นำแตงโมลูกนั้นไปผ่าเป็นซีกๆและได้ทิ้งเปลือกลงลอยในลำธารแห่งนั้นว่า “ แม่น้ำแตง “ จนถึงทุกวันนี้ เมื่อพระอานนท์นำแตงไปถวายพร้อมโภชนาอาหาร พระพุทธองค์ก็ได้เสวย ขณะที่กำลังเสวยอยู่นั้น พระทนต์ ( เขี้ยว ) ได้กระเทาะออก ( กระเทาะออกภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ แหง “ พระพุทธองค์ได้มอบพระทนต์ที่กระเทาะออกนั้นให้อุบาสกอุบาสิกาชาวกระเหรี่ยงเพื่อเป็นทาน ( ทานเขี้ยวแหง ) ต่อมาเมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “ เมืองแหง “ พระพุทธองค์ได้ให้พระอานนท์ ที่กระเทาะนั้นบรรจุก่อเป็นสถูปไว้บนยอดเขาแห่งนั้น ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุแสนไหปัจจุบันนี้ จากนั้นพระพุธทองค์ กับพระอานนท์ได้เสด็จจาริกต่อไป ตอนกลางคืนพระบรมธาตุเกิดปาฏิหารย์ขึ้น โดยมีรัศมีแผ่สว่างไสวทั่วบริเวณนั้น ชาวกระเหรี่ยงได้นำความนั้นไปกราบทูลพระยาเจตบตรเจ้าเมืองพระยาเจตเจ้าเมืองได้ทราบก็เกิดปิติเป็นล้นพ้น จึงได้พาบริบาร ทหารไปนมัสการกราบไหว้สักระบูชา และตั้งจิตอฐิษฐานขอชมอภินิหารอีกครั้ง พอตก ตอนกลางคืนพระบรมธาตุก็เกิดปาฏิหารย์เช่นเดิม โดยมีรัศมีรุ่งโรจน์สว่างไสว เป็นเวลาพอประมาณแล้วก็ลงสู่ที่เดิม เมื่อพระยาเจตบุตรเห็นเป็นเช่นนั้นก็เกิดศรัทธาเสื่อมใสอย่างมากจึงประกาศให้ประชาชนในเมืองนั้น ให้สามัคคีร่วมใจกันก่อสร้างพระบรมธาตุขึ้น สิ่งที่ก่อสร้างพร้อมใจกันครั้งนั้นคือ ศาลา 2 หลังๆ หนึ่งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุโบสถ และสังฆวาสอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกแห่งพระบรมธาตุนั้นตามลำดับ มีกำแพงล้อมรอบพระบรมธาตุ พระวิหาร ศาลา ทั้งหมด อนึ่งตามตำนานเล่าสืบๆ กันมาว่า ภายใต้เขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุมีถ้ำ ภายในถ้ำมีทรัพย์สมบัติอันมีค่านานาประการ นับประมาณมูลค่าได้ถึงแสนไห จึงได้ชื่อว่า พระบรมธาตุแสนไห โบราณจารย์พรรณาไว้ว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วมีความสวยงามสง่างามเป็นระเบียบเรียบร้อย พระยาเจตบุตรพร้อมประชาชนจัดการเฉลิมสลองอย่างเอิกเกริกถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน แล้วได้ถวายทานไว้ในบวรพุทธศาสนาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ประวัติการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุแสนไห
ในปี พ.ศ. 2457 พ่อเมืองแหง (พ่อเหงซาววา) ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะ พระบรมธาตุแสนไห ปัจจุบันได้บูรณะขึ้นใหม่ เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ มีฐาน 8 เหลี่ยม วัดโดยรอบ 48 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดฉัตร 21 เมตร
ในปี พ.ศ. 2516 พระอธิการจันทร์ทิพย์ อต.ตธม.โม ได้ทำการบูรณะองค์พระบรมธาตุที่หลุดแล้วฉาบปูนองค์พระบรมธาตุใหม่
ในปี พ.ศ. 2539 หลวงพ่อเป่ง ปภส.สโร พระครูกันตศีลานุยุต เจ้าคณะอำเภอเวียงแหง พระใบฎีกามนตรี เจ้าคณะตำบลแสนไห นายบูรพา มหาบุญญานนท์ นายอำเภอเวียงแหง เป็นผู้นำในการบูรณะ พร้อมศรัทธาประชาชนเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงครองราชสมบัติปีที่ 50 โดยการหุ้มทองจังโก๋องค์พระธาตุ
พิกัด Gps. วัดพระธาตุแสนไห อ.เวียงแหง เชียงใหม่ : 19.619739, 98.629643
soupvan cnx. ยินดีให้คำปรึกษา เส้นทางการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง และ ที่พัก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จัดทริปเที่ยว ส่วนตัว หรือ หารเฉลี่ย
หาที่พัก สอบถามการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการเที่ยว ...
พูดคุย ทักทาย กันที่ กลุ่ม "soupvan พาเที่ยว" ได้นะครับ ...