อ่านแล้ว! คุณจะรัก “พ่อหลวง” จนทะลักหัวใจ
1. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีอย่างธรรมดาว่า ... แม่ ...
2. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงรับจ้างเก็บ ผัก ผลไม้ ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
3. หากทรงทำกิจกรรมแล้วมีกำไรจะถูกเก็บภาษี 10% ทุกสิ้นเดือน สมเด็จพระราชชนนีจะเรียกประชุม เพื่อถามว่าจะเอาเงินไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
4. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
5. พระอัจฉริยภาพมาจากการเล่น หากอยากได้ของเล่นต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อ หรือประดิษฐ์เอง ทรงหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐาซื้อชิ้นส่วนวิทยุเอามาประกอบเองแล้วแบ่งกันฟัง
6. ทรงพระราชนิพนธ์เพลง แสงเทียน ครั้งแรกเมื่อ 18 พรรษา ครั้งหนึ่งทรงฉวยซองจดหมายแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง เราสู้ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ 48 เพลง
7. ทรงนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทยที่ รพ.จุฬาฯ และ รพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอ และ โรคเรื้อน
8. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำ หรือ กังหันชัยพัฒนา
9. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี
10. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ โครงการสวนจิตรลดาเริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์ 32,866.73 บาท แล้วก็ค่อยๆ เติบโตอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
11. ทรงประดิษฐ์ฟอนต์จิตรลดา และ ฟอนต์ภูพิงค์ ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ และทรงเชี่ยวชาญ 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และสเปน
12. ทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท หลังอภิเษกสมรส ทรงฮันนีมูนที่หัวหิน
13. ครั้งหนึ่ง ทรงแข่งเรือใบออกจากฝั่ง ไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับเพราะไปโดนทุ่น ซึ่งในกติกาถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น
14. เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อทำเอกสาร ทรงโปรดให้กรอกในช่องอาชีพของพระองค์ว่า ... ทำราชการ ...
15. ของใช้ส่วนพระองค์ไม่จำเป็นต้องมียี่ห้อดัง การถวายของให้พระองค์จึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง ไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ ยกเว้น นาฬิกา
16. หลอดยาสีพระทน ทรงใช้จนแบนราบโดยเฉพาะบริเวณคอหลอดจะมีรอยบุ๋มลึก ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนช่วยรีดและกด
17. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว ส่วนหนึ่งมอบให้ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบให้ราษฎรที่ทำความดีแก่ประเทศชาติ
18. ครั้งหนึ่งเมื่อเสด็จฯ เยี่ยมโครงการ ปรากฏว่ามีฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่มแล้วทรงเยี่ยมข้าราชการ และราษฎรกลางสายฝน
19. วันที่ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง (20 กรกฎาคม 2549) ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
20. ห้องทรงงานอยู่ใกล้ห้องบรรทม เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3×4 เมตร ภายในมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์แผนที่ ฯลฯ
21. ปีหนึ่งๆ ทรงเบิกดินสอ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่งจนกระทั่งกุด ทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ จะทรงมีแผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และ ดินสอที่มียางลบ
22. ทรงพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี 2493 จน 29 ปีต่อมามีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทาน 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์ 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
23. ทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียวบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรมากว่า 60 ปี
24. ทรงตรัสว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือ ความสุขของคนไทยทั่วประเทศ”