หมู่บ้านกลางหุบเขา "บ้านนาคูหา" จังหวัดแพร่
บทความจาก : pantip.com / หมู่บ้านกลางหุบเขา "บ้านนาคูหา" จ.แพร่
เที่ยวเชิงเกษตร เที่ยวไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดแพร่ บันทึกนักเดินทาง soupvan chiangmai
บทความจาก : pantip.com / หมู่บ้านกลางหุบเขา "บ้านนาคูหา" จ.แพร่
เที่ยวเชิงเกษตร เที่ยวไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดแพร่ บันทึกนักเดินทาง soupvan chiangmai
หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขาที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์อันดับ 7 ของประเทศไทย วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ เดินทางไปเที่ยวกันที่ "บ้านนาคูหา" จังหวัดแพร่ จังหวัดที่ถูกคนมองว่าเป็นทางผ่าน แต่สำหรับเราฟินสุดๆ พูดมาขนาดนี้อย่ารอช้า ตามเราออกเดินทางไปท่องเที่ยวกัน
เราเดินทางจากตัวเมืองแพร่ขึ้นเขามาประมาณ 30 นาที “[color]=teal]บ้านนาคูหา[/color]” ตั้งอยู่ที่ ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร หมู่บ้านตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขา และธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ ทำให้หมู่บ้านนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
เมื่อเดินทางมาถึงหมู่บ้านนาคูหา สายบุญอย่างเราก็ไม่พลาดที่จะไปที่ "วัดนาคูหา" วัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน เป็นวัดเล็กๆ ที่เงียบสงบ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวงสีทองท่ามกลางทุ่งนา
มีสะพานไม้ไผ่ทอดยาวผ่านทุ่งนา ส่วนใหญ่จะเป็นการขอพรในเรื่องของสุขภาพให้แข็งแรง และปราศจากโรคภัย ขอพรเสร็จแล้วจะรออะไรถ่ายรูปรัวๆ กันสิ
จากวัดนาคูหา... เราจะไปเก็บเตากัน เค้าบอกว่าไฮไลท์ที่นี่คือ “เตา” แล้วอะไรคือ เตา งง ใน งง แต่ความอยากรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ “เตา” เป็นสาหร่ายน้ำจืด ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง เลี้ยงยังไง เก็บยังไงมาดูพร้อมๆ กันเลย
ในการเลี้ยงเตาต้องเลี้ยงด้วยน้ำจากธรรมชาติที่ไหลผ่านจากยอดเขา แต่ความฟินของเราคือได้ลงไปเก็บเตาในบ่อ แล้วเราก็มีคุณป้าใจดีสอนวิธีการเก็บเตาให้ เพียงแค่ใช้ไม้จุ่มลงไปบริเวณที่มีเตาอยู่ วางไม้ราบกับพื้นบ่อ แล้วหมุนไม้เป็นวงกลมหลายๆ รอบเพื่อให้เตาติดไม้แล้วยกไม้ขึ้น
พอเราทำแล้วเริ่มสนุก หยุดยากละทีนี้ ฮ่าๆ เตาเหมือนเส้นผมนุ่มๆ ด้วยความอยากรู้ว่ารสชาติยังไง เก็บได้เราก็เอาใส่ปากทันที มันไม่มีรสชาติแหะ มีกลิ่นคาวนิดๆ แต่คุณป้าบอกว่าเตาทำอาหารได้หลายอย่าง แถมมีสารอาหารที่มีประโยชน์ การได้มาเก็บเตาเป็นอะไรที่ฟินสุดๆ
อยากรู้ล่ะสิว่าเก็บเตาได้แล้วเราก็อยากรู้ว่าเค้าเอาไปทำอะไรกัน ทางชุมชนได้มีการนำเตามาทำอาหาร และแปรรูปเป็น วุ้นเตา , กาละแมเตา , ข้าวเกรียบเตา และ สบู่เตา ถือว่าเตาเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเลยก็ว่าได้