เรื่องเล่าในตำนาน “ตาโร" และ "โหมะทูแหมะ ช้างกู้แผ่นดิน" แห่งดินแดนมึกะคี
หมู่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง เชียงใหม่
หมู่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง เชียงใหม่
"มึกะคี" ในภาษาปกาเกอะญอ หมายถึง ดินแดนแห่งความสงบ สันติ และอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันอยู่ในแม่กลางหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ชาวปกาเกอะญอมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติตั้งแต่เกิดจนตาย การใช้ชีวิตจึงวนเวียนอยู่กับผืนป่า แหล่งน้ำ ภูเขา ตั้งแต่เช้าจรดเย็น จนทำให้ชาวปกาเกอะญอเกิดความเชื่อที่หลากหลายและนำมาสู่พิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับภูตผีและวิญญาณที่วนเวียนอยู่ในป่าเขา พิธีกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นความผูกพันแนบแน่นกับธรรมชาติ ชาวปกาเกอะญอจึงได้สร้างศูนย์รวมศรัทธาของชุมชนขึ้น เรียกว่า “วิหารแห่งปาเกอญาราม” หรือมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “พุทธอุทยานแม่กลางหลวง” ศาสนสถานของชาวปกาเกอะญอ ที่สะท้อนความผูกพันของคนกับป่า โดยนำเฉพาะไม้ล้มมาสร้างวิหารผสานงานออกแบบศิลปะสมัยพระนางจามเทวีและสมัยทวารวดีเคียงคู่กับประติมากรรมรูปช้างและบรรพชนของปกาเกอะญอ
รูปปั้นของตาโรและโหมะทูแหมะ ณ วิหารแห่งปาเกอญาราม (พุทธอุทยานแม่กลางหลวง)
ตำนานตาโรและโหมะทูแหมะน้อยคนนักที่จะรู้จักหรือเคยได้ยิน..."ตาโร" คือ ควานช้าง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษรุ่นแรกๆ ของชาวปกาเกอะญอที่เดินทางมายังแม่กลางหลวง ซึ่งขณะนั้นยังเป็นแผ่นดินบนยอดเขาสูงท่ามกลางป่าโปร่งอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองหริภุญชัย (ลำพูนในปัจจุบัน) “ตาโร” ได้นำแม่ช้างหางขาดชื่อว่า "โหมะทูแหมะ” มอบเป็นบรรณาการแด่เจ้าเมือง แลกกับการตั้งรกรากบนแผ่นดินดอยสูงอันเป็นที่ตั้งของวิหารและหมู่บ้านปกาเกอะญอในปัจจุบัน ซึ่งการเสียสละของตาโรและโหมะทูแหมะในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการสานต่ออารยธรรมจวบจนปัจจุบัน
****แวะไปเที่ยวชม “ตาโรกับโหมะทูแหมะ” ได้ที่วิหารแห่งปาเกอญาราม
เพื่อร่วมรำลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษและช้างกู้แผ่นดินของชาวปกาเกอะญอกันนะคะ****
เพื่อร่วมรำลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษและช้างกู้แผ่นดินของชาวปกาเกอะญอกันนะคะ****
พิกัด GPS. พุทธอุทยานแม่กลางหลวง (ปกาเกอญาราม) หมู่บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง เชียงใหม่ : 18.537911, 98.549893
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://news58.thaipbs.or.th/content/
http://www.nithed.cmru.ac.th/wp-content/uploads/2015/11/newspaper58.pdf