soupvanclub
=> GPS Corner. ... => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 13 ธันวาคม 2567, เวลา 18:10:44 น.

หัวข้อ: กุหลาบพันปี อช.ดอยอินทนนท์
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 13 ธันวาคม 2567, เวลา 18:10:44 น.
กุหลาบพันปี (Azalea) อช.ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่

[attach=1] [attach=2]

 พิกัด Gps. และเส้นทางการเดินทาง :   https://maps.app.goo.gl/arfv6qd6hwU11AKD7 (https://maps.app.goo.gl/arfv6qd6hwU11AKD7)

 ชื่อนี้มาจากดอกที่มีความคล้ายดอกกุหลาบ ลำต้นจะมีมอสเกาะอยู่จำนวนมาก ทำให้ดูคล้ายกับมีอายุเป็นพันๆ ปี จึงเรียกกันว่า กุหลาบพันปี

 
ชนิดที่พบในประเทศไทย
           -  คำแดง (https://th.wikipedia.org/wiki/คำแดง) (Rhododendron arboreum) มีลักษณะดอกสีแดง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์),  อุทยานแห่งชาติขุนแจ  (https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติขุนแจ)
           -  ดอกสามสี [/collor] (Rhododendron lyi) มีลักษณะดอกสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ กระจายพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า  (https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า) ออกดอกช่วงเดือนเมษายน 
          -  คำขาวเชียงดาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้เฉพาะถิ่น (https://th.wikipedia.org/wiki/สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น)ของประเทศไทย พบเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ของดอยเชียงดาว  (https://th.wikipedia.org/wiki/ดอยเชียงดาว) และดอยอินทนนท์ เท่านั้น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
          -  กุหลาบแดงมลายู (Rhododendron malayanum) มีลักษณะดอกสีแดง เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ มีความสูงของต้น 1 - 2 เมตร พบในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น
          -  กุหลาบพันปีลังกาหลวง (Rhododendron microphyton) มีลักษณะดอกสีขาวมีจุดสีแดง พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ออกดอกและผล ช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนมกราคม 
          -  คำขาว (https://th.wikipedia.org/wiki/คำขาว) (Rhododendron moulmainense) มีลักษณะดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกคำแดง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น ยอดเขาบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง  (https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติเขาหลวง)
           -  กุหลาบแดง (https://th.wikipedia.org/wiki/กุหลาบแดง) (Rhododendron simsii) พบในภาคอีสานที่ระดับความสูง 1,000 - 1,600 เมตร 
          -  นมวัวดอย (Rhododendron surasianum) ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่งช่อละ 3 - 4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนบางบริเวณ บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 - 1,600 เมตร ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา 
          -  กุหลาบป่า (Rhododendron taliense) ดอกมีสีขาวครีมจนถึงสีเหลือง ลักษณะดอกเป็นช่ออัดแน่นแบบร่ม ดอกย่อยมีจำนวน 10 – 15 ดอก ในประเทศไทยพบเฉพาะยอดเขาสูงในภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, ดอยเชียงดาว, ดอยลังกาหลวง เท่านั้น 
          -  กายอม หรือ กุหลาบขาว (Rhododendron veitchianum) มีลักษณะเป็นกาฝาก อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป



รถเช่าพร้อมคนขับ ชวนชิม ชวนเที่ยว  (https://www.facebook.com/groups/teawcnx)
 soupvan รถเช่าพร้อมคนขับ  (https://www.facebook.com/groups/soupvanpateaw)
soupvan cnx. (https://www.facebook.com/profile.php?id=61562586098573)