อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ย้อนรอยอารยธรรมโบราณ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย (https://travel.kapook.com/view283066.html)
บทความจาก (https://www.facebook.com/soup.van.cnx) : kapook.com (https://travel.kapook.com/)
[attach=1]
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ทำความรู้จักมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย และแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่ายินดีกับการประกาศให้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี (https://travel.kapook.com/view186309.html) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ (https://travel.kapook.com/view186309.html) จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2566 วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ให้มากขึ้น เผื่อใครสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงที่มาที่ไป ตามเราไปดูด้วยกันเลย
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/19e51fd6-31ca-4105-8520-bda886ce5e26.jpg)
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อยู่ที่ไหน
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บนภูเขาที่ชื่อว่าภูพระบาท ในเขตพื้นที่เมืองพาน อ.บ้านผือ อุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน
พิกัด Google Maps : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (https://maps.app.goo.gl/sWERQsRSPMaudMzTA)
รู้จักอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ภูพระบาท ภูเขาหินทรายที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาภูพาน โดยพื้นที่ของภูพระบาทนั้นเป็นป่าไม้เบญจพรรณอันสมบูรณ์ และมีไม้เนื้อแข็งอยู่หลายชนิด เช่น ไม้เต็ง, ไม้รัง และไม้ประดู่ ด้วยเหตุนี้เอง กรมป่าไม้ จึงประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ชื่อว่า “ป่าเขือน้ำ” ต่อมากรมศิลปากรได้ขออนุญาตกรมป่าไม้ใช้พื้นที่ป่าจำนวน 3,430 ไร่ของป่าเขือน้ำ เพื่อประกาศเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/0e817e7f-3112-4848-a4d9-7cdbbd89c9db.jpg)
ภาพจาก : mai111 / shutterstock.com
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จุดเด่น
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ไม่ใช่เป็นเพียงแค่อุทยานประวัติศาสตร์ธรรมดา แต่ยังเป็นสถานที่ให้ทุกคนได้มาสัมผัสความมหัศจรรย์ของธรรมชาติและอารยธรรมโบราณที่สอดประสานกันอย่างลงตัว โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท คือโขดหินทรายที่กระจายตามพื้นที่จำนวนมาก
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/89b67406-4986-4eb9-b139-5c1a64f9f9b9.jpg)
นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานเอาไว้ว่า ในยุคโบราณนั้นพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ จนเมื่อ 180 ล้านปีก่อน ธารน้ำแข็งละลายและไหลลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการกัดเซาะบนเทือกเขาภูพาน จนกระทั่งในท้ายที่สุดสภาพภูมิประเทศบนภูพระบาทจึงปรากฏเป็นโขดหินและเพิงผารูปร่างแปลกๆ ดังที่เห็นจนถึงปัจจุบัน
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
นอกเหนือไปจากการพบเห็นโขดหินรูปร่างต่างๆ แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ปรากกฏร่องรอยหลักฐานผ่านการสร้างสรรค์ภาพ เช่น ภาพฝ่ามือ, ภาพคน และภาพสัตว์ เนื่องจากมนุษย์ในยุคนั้นยังไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเพื่อใช้สื่อความหมาย
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ก็มีการค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในสมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 โดยมีการดัดแปลงโขดหินและเพิงหินทรายบนภูพระบาทไปเป็นศาสนสถาน มีการปักใบเสมาหินขนาดใหญ่ล้อมรอบศาสนสถาน จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 - 23 วัฒนธรรมลาวก็เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่อีสานตอนบนเกือบทั้งหมด รวมถึงบนภูพระบาท ดังปรากฏมีงานศิลปกรรมช่างลาวอยู่บนภูพระบาทด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โบราณสถาน
ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ประกอบด้วยโบราณสถานน่าสนใจอยู่หลายจุด ได้แก่
หอนางอุสา
โขดหินขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายเห็ดที่ประดับด้วยใบเสมาหิน มนุษย์ในสมัยก่อนได้ก่อหินล้อมไว้เป็นเพิงด้านบน มีประตูและหน้าต่างขนาดเล็ก ใช้เป็นห้องประกอบพิธีกรรม และบริเวณนอกหอนางอุสาก็ยังมีใบเสมาขนาดเล็กและใหญ่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ภายในวงล้อมเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามาตั้งแต่โบราณกาล
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/0f4f4070-41f7-450f-a683-c80f57358ddd.jpg)
กู่นางอุสา
มีลักษณะเป็นหินทราย 2 ก้อนวางทับกัน มีการสกัดพื้นทำเป็นห้องขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าใช้เป็นห้องบำเพ็ญเพียร หรือประดิษฐานรูปเคารพ และบริเวณโดยรอบมีใบเสมาขนาดใหญ่ล้อมรอบตั้งอยู่ 8 ทิศ
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/77245611-3b61-46ce-8561-5e8f79222879.jpg)
บ่อน้ำนางอุสา
เป็นบ่อน้ำที่สกัดลงไปบนพื้นหิน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า บ่อน้ำแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งน้ำที่คนโบราณใช้สำหรับบริโภค หรือสำหรับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ นอกบ่อสลักเป็นร่องน้ำตื้นเป็นทางยาว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นทางระบายน้ำลงไปสู่เบื้องล่าง
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/9f1e7f8b-39a3-4a31-ac8a-696c764f0759.jpg)
ถ้ำวัว - ถ้ำคน
มีลักษณะเป็นเพิงหินที่ซ้อนทับกันจนเกิดเป็นชะง่อนหิน ภายในถ้ำวัวมีภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนในถ้ำคน ภายในมีภาพคนที่วาดด้วยสีแดงบนผนัง และเพดานถ้ำยังปรากฏภาพลายตารางสีขาวและภาพคนแบบทึบ
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/ff35467e-3ec3-42f0-862a-0910bc14f6fe.jpg)
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/71b72b96-dcc9-4ce3-b343-334a3b8e2608.jpg)
ถ้ำช้าง
มีลักษณะเป็นแท่นหินที่ซ้อนทับกัน ด้านในมีร่องรอยการสกัดด้วยสิ่วจนเรียบ ด้านนอกปรากฏภาพเขียนสี สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดยุคประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมลาว
ถ้ำพระ
มีลักษณะเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ที่วางซ้อนทับกัน ต่อมาคนโบราณได้สกัดหินที่พื้นออกจนเรียบ กลายเป็นห้องขนาดใหญ่ และปรากฏการสลักรูปพระพุทธรูป ด้านนอกพบรอยหลุมเสา
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/d20a2b22-2087-45b8-9068-be019158f5fe.jpg)
คอกม้าท้าวบารส
มีลักษณะเป็นโขดหินทราย 2 ก้อนซ้อนกัน ด้านล่างของหินก้อนล่างมีการสกัดหินออกเป็นห้อง 2 ห้อง สันนิษฐานว่าแต่เดิมใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของพระสงฆ์ในสมัยโบราณ
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/d5034a10-9623-4ada-8f3b-19be982855e9.jpg)
หีบศพท้าวบารส
มีลักษณะเป็นโขดหินวางทับกัน สันนิษฐานว่าใช้เป็นสถานที่นั่งจำศีล ทางด้านทิศเหนือของเพิงมีการสกัดเป็นลานหิน และเจาะสกัดเป็นหลุมกลมหลายหลุมเรียงตามแนวขอบของหิน สันนิษฐานว่าน่าจะมีการสร้างเป็นรั้วไม้เพื่อป้องกันสัตว์ หรือไม่ก็เป็นหลุมตะคัน เพื่อจุดไฟให้แสงสว่างตอนกลางคืน
หีบศพนางอุสา
มีลักษณะเป็นเพิงหิน มีแท่นหินสองข้างค้ำยันหินขนาดใหญ่ที่ทับอยู่ด้านบน จนมีลักษณะคล้ายกับโต๊ะหิน ด้านล่างเป็นห้อง มีการสกัดพื้นหินจนเรียบ แม้จะเล็กแต่ก็สามารถใช้บำเพ็ญเพียรได้
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มรดกโลก
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ข่าวสารท่องเที่ยว ททท. (https://www.facebook.com/thaitourismnews/posts/960779846088607) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ประกาศแสดงความยินดีกับ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ที่ได้รับการประกาศจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม
(https://scontent.fcnx4-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/445545316_960842479415677_529722411862152144_n.jpg?stp=dst-jpg_p526x296&_nc_cat=106&ccb=1-7&_nc_sid=127cfc&_nc_ohc=9d26gCl0eDIQ7kNvgFm5KyB&_nc_ht=scontent.fcnx4-1.fna&gid=AN9v9fMDqriJ43wLuDWMUd4&oh=00_AYBK1rBmvecGxsohK2oZ9kGDakTkR444HC-cJ4rAInyThQ&oe=66AFAC8F)
โดยวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” จังหวัดอุดรธานี เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ ในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/74dc47f0-7c29-4a5b-9b36-40658b755f53.jpg)
ภาพจาก : เว็บไซต์ whc.unesco.org
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ถือเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2566 และเป็นแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก UNESCO เมื่อ พ.ศ. 2535
วิธีเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
สำหรับใครที่อยากเดินทางมาเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีวิธีการเดินทางดังนี้
(https://scontent.fcnx4-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/453012949_906735894827540_5760914506559288150_n.jpg?stp=dst-jpg_p235x350&_nc_cat=100&ccb=1-7&_nc_sid=e21142&_nc_ohc=fiJKQ8jFksoQ7kNvgFsCVaJ&_nc_ht=scontent.fcnx4-1.fna&edm=AN6CN6oEAAAA&oh=00_AYCRso4v4jonY2QTlzGefv87iSqPzTr-TeHKCebY3aE2EA&oe=66AF9162)
(https://scontent.fcnx4-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/453178068_906736084827521_9178809245790082151_n.jpg?_nc_cat=110&ccb=1-7&_nc_sid=833d8c&_nc_ohc=L8Jyvd5DTf8Q7kNvgGC9tRj&_nc_ht=scontent.fcnx4-1.fna&oh=00_AYCjKVoj8zDNiUdXBvrGNRHEENTJyhpRYBWDo91IjNA20g&oe=66AFA109)
(https://scontent.fcnx4-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/453195545_906735924827537_2953215087028788123_n.jpg?_nc_cat=108&ccb=1-7&_nc_sid=833d8c&_nc_ohc=2GQPJzYu4K8Q7kNvgF9xwu-&_nc_ht=scontent.fcnx4-1.fna&gid=AIhwQCTUFVt6OqXFW98Uasj&oh=00_AYBiM1g8YNbvvGIz1ExqmzqrRBO9rZPNrBvu9b1GLue08Q&oe=66AFA040)
(https://scontent.fcnx4-1.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/453034851_906735968160866_2056970750983334605_n.jpg?_nc_cat=107&ccb=1-7&_nc_sid=833d8c&_nc_ohc=ksK_tg_l0esQ7kNvgGEobvW&_nc_ht=scontent.fcnx4-1.fna&oh=00_AYBaZJh5VoZB0vLdhei3hFnRVIUY2K110P1RduvElhokqQ&oe=66AF92FC)
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท คำแนะนำ
- การเดินทางมาอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทค่อนข้างสะดวก ถนนหนทางดี และด้านหน้าอุทยานมีลานจอดรถกว้าง พร้อมร้านอาหารและครื่องดื่มบริการ
- บรรยากาศโดยรอบในการเดินชมจุดต่างๆ เหมือนเดินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสมบูรณ์ โดยใช้เวลาเดินทั้งหมดประมาณ 1.30 - 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการแวะแต่ละจุดนานแค่ไหน
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/22dc35b6-845a-41c9-b79a-fface8a929a3.jpg)
- แนะนำเส้นทางเดินให้เดินทวนเข็ม เลี้ยวขวาหอนางอุสาก่อน แล้วค่อยเดินวนตามเส้นทาง เพราะช่วงปลายเส้นทางจะเป็นทางเดินลงเขา
- ติดน้ำเปล่าไปด้วยสักขวดเพื่อเอาไว้จิบแก้กระหายกลางทาง
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เวลาเปิด - ปิด
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น. (ไม่มีวันหยุด) และมีบริการนำชม (ไทย - อังกฤษ) ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น.
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ค่าเข้าชม
จุดบริการขายบัตร ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
(ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้พิการ พระภิกษุ - สามเณร ภิกษุณี) เข้าชมฟรี
*** มีบริการแผ่นพับ จุดชมวีดิทัศน์ นิทรรศการ ร่ม รถวีลแชร์ รถไฟฟ้า ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ***
(https://s359.kapook.com//pagebuilder/36909f50-9fed-49e7-8c2e-c9526a065aa2.jpg)
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จึงนับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์น่าสนใจ ตลอดจนสัมผัสมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (https://www.facebook.com/phuphrabathistoricalpark?locale=th_TH) หรือโทรศัพท์ 0-4221-9838
หมายเหตุ : ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
แนะนำ ที่เที่ยวมรดกโลก ที่เที่ยวอุดรธานี อื่นๆ ที่น่าสนใจ
+++ สัมผัสเสน่ห์ 5 แหล่งมรดกโลกของไทย สมบัติอันทรงคุณค่า (https://travel.kapook.com/view96778.html)
+++ 9 จุดเช็กอิน เมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 7 ของไทย (https://travel.kapook.com/view276323.html)
+++ 2 แหล่งท่องเที่ยวโบราณของไทย ทะยานขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม (https://travel.kapook.com/view217656.html)
+++ 15 ที่เที่ยวอุดรธานี จังหวัดเดียวเที่ยววนได้ไม่มีเบื่อ (https://travel.kapook.com/view186309.html)
ขอบคุณข้อมูล และภาพจาก : เฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (https://www.facebook.com/phuphrabathistoricalpark?locale=th_TH), เว็บไซต์ virtualhistoricalpark.finearts.go.th, เว็บไซต์ whc.unesco.org
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ย้อนรอยอารยธรรมโบราณ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย (https://travel.kapook.com/view283066.html)
บทความจาก (https://www.facebook.com/soup.van.cnx) : kapook.com (https://travel.kapook.com/)
soupvan cnx. รถเช่าพร้อมคนขับ (https://www.facebook.com/soup.van.cnx)