soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: ขายของใน shopee lazada เสียภาษีไหม  (อ่าน 1065 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Lali

  • ฝากประชาสัมพันธ์
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 4
  • กระทู้: 6
  • กำลังใจ : +4/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 132.0.0.0 Chrome 132.0.0.0
    • Jeban
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 432
ขายของใน shopee lazada เสียภาษีไหม
« เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2568, เวลา 01:37:07 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              



การขายของออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นิยมอย่างมาก เพราะสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดย 2 แพลตฟอร์มซื้อ-ขายยอดฮิตที่ทุกคนต่างรู้จักกันดีในขณะนี้ คือ Shopee และ Lazada แพลตฟอร์มค้าขายออนไลน์ขนาดใหญ่ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันนี้ หลายๆ คนอาจเกิดข้อสงสัยว่า แล้วการ ขายของใน Shopee  Lazada เสียภาษีไหม? วันนี้ นรินทร์ทอง จึงอยากชวนทุกคนมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมแชร์รายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ที่ทำธุรกิจขายของออนไลน์ควรรู้!




รายได้ขายของออนไลน์


  • รายได้จากการขายสินค้า – เป็นราคาที่ลูกค้าชำระสำหรับสินค้าที่คุณขาย หมายถึงจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่ายจริงในการซื้อสินค้า

  • รายได้จากค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ – ผู้ขายอาจเรียกเก็บค่าจัดส่งสินค้าจากลูกค้า หรือรวมค่าจัดส่งไว้ในราคาสินค้า หรือบางครั้งผู้ขายอาจได้รับส่วนลด หรือค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทขนส่ง

  • รายได้จากคอมมิชชั่น – สำหรับผู้ขายที่ขายสินค้าแบบ Drop shipping หรือเป็นตัวแทนขาย จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ หรือคอมมิชชั่นจากยอดขาย


ค่าใช้จ่ายขายของออนไลน์


  • ต้นทุนสินค้าที่จ่ายให้กับ Supplier
  • ต้นทุนสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับ Shopee, Lazada
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Payment Fee)
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Commission Fee)
  • ค่าโฆษณา (Affiliate Ads)
  • ค่าเข้าร่วมโปรแกรมต่างๆ
1.Freeship Max
2. Cash Back


ทำความเข้าใจเรื่องรายได้และค่าใช้จ่าย สำหรับร้านขายของออนไลน์เพิ่มเติมคลิก


การเข้าร่วมแคมเปญ พร้อมยกตัวอย่าง
 


สำหรับแพลตฟอร์ม Shopee ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญส่งเสริมการขาย


  • รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น รายได้จากการประกอบกิจการ

  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
3. กำไรสุทธิ (Net Profit) – กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. เสียภาษีนิติบุคคล 15% สำหรับ SME


หมายเหตุ: กิจการที่เป็น SMEs อาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีในช่วงแรก


  • ส่งฟรี ทางร้านจะโดนหัก 5% โดยจะหักเปอร์เซ็นต์จาก ยอดขายรวม (Gross Transaction Value หรือ GTV) ของผู้ขาย ซึ่งรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งก่อนที่จะมีการใช้ส่วนลดต่างๆ เช่น คูปอง หรือ โปรโมชันที่ให้กับลูกค้า
  • Coin cash back โดนหัก 3-4% จากราคาขายสินค้าสุทธิ ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการสนับสนุนโปรแกรม Coin cash back ที่มอบเหรียญ Shopee Coins คืนให้กับลูกค้า เพื่อกระตุ้นยอดขายและเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าบนแพลตฟอร์ม
  • เข้าร่วมทั้ง ส่งฟรี และ Coin cash back จะโดนหัก 6-7% หากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการขายทั้ง 2 แคมเปญ ร้านค้าจะถูกหักค่าธรรมเนียมที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากยอดขายของสินค้าในแคมเปญนั้นๆ และจะหักค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น หากร้านค้าเข้าร่วมแคมเปญพิเศษอื่นๆ
ส่วนแพลตฟอร์ม Lazada ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญ Lazada Payday มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 3.21% เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อทำธุรกรรมการชำระเงิน ผ่านช่องทางต่าง ๆ บน Lazada โดยอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.21% (รวม VAT 7%) ของราคาคำสั่งซื้อรวมค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ

  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Commission) 3.21 – 5.35% เป็นค่าธรรมเนียมที่ Lazada จะเรียกเก็บจากผู้ขาย เมื่อมีการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม

  • โปรแกรมส่งฟรี 6.42% หรือทางร้านค้าออกค่าส่งเอง เป็นโปรโมชันที่จัดขึ้นเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า โดยตัวเลข 6.42% นี้คือ ส่วนลดเพิ่มเติมจากราคาสินค้า


  • คูปอง แคมเปญ (Laz Bonus) 5.35% เป็นส่วนลดพิเศษที่ได้รับจาก Lazada  เมื่อซื้อสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนดในแคมเปญ

ภาษีเงินได้ (Income Tax)

ภาษีเงินได้แบ่งเป็น 2 ประเภทตามสถานะของผู้ขาย:

1. บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax – PIT)


รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (ตามมาตรา 40(8))
  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
รวมรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ เช่น ค่าสินค้า (ที่ลูกค้าจ่าย)
2. หักค่าใช้จ่าย (เลือกได้ 1 วิธี):
  • หักแบบเหมา:  60% ของรายได้
  • หักตามจริง: ค่าใช้จ่ายที่มีเอกสารหลักฐาน
3. คำนวณเงินได้สุทธิ:
เงินได้สุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
4. เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า:
  • รายได้สุทธิน้อยกว่า 150,000 บาท: ยกเว้นภาษี

  • 150,001 – 300,000 บาท: 5%

  • 300,001 – 500,000 บาท: 10%

  • 500,001 – 750,000 บาท: 15%

  • 750,001 – 1,000,000 บาท: 20%

  • 1,000,001 – 2,000,000 บาท: 25%

  • 2,000,001 – 5,000,000 บาท: 30%

  • มากกว่า 5,000,000 บาท: 35%


2. นิติบุคคล (Corporate Income Tax – CIT)


  • รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น รายได้จากการประกอบกิจการ

  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
3. กำไรสุทธิ (Net Profit) – กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. เสียภาษีนิติบุคคล 15% สำหรับ SME

หมายเหตุ: กิจการที่เป็น SMEs อาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีในช่วงแรก


ภาษีมูลค่าเพิ่ม



ในส่วนถัดมา คือ เรื่อง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)” ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบันเป็นอัตรา 7% โดยตัวชี้วัดง่ายๆ ที่ทำให้พ่อค้าหรือแม่ค้าออนไลน์อย่างเรา จะรู้ได้ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่นั้น ต้องเช็กที่ยอดรายได้ หากรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าเราต้องรีบไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทันที ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ

  • ภาษีขายคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้า ซึ่งต้องคิดรวมอยู่ในราคาขายและค่าขนส่งไว้เรียบร้อยแล้ว

  • ภาษีขายภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราถูก Supplier หรือว่า Shopee, Lazada เรียกเก็บไป ในอัตรา 7 % เช่นเดียวกัน สังเกตง่ายๆ จากใบกำกับภาษีที่เราได้รับมา


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถัดมาคือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ แต่ก็ใช่ว่าทุกรายจ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเสมอไป เพราะกฎหมายกำหนดประเภทรายจ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ และอัตราการหัก ณ ที่จ่ายไว้เช่นกัน

เรียนรู้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบละเอียด เพิ่มเติมคลิก


ขายของใน shopee เสียภาษีไหม นรินทร์ทอง พร้อมให้คำปรึกษาและบริการครบวงจร

หากกล่าวโดยสรุปจากเนื้อหาข้างต้นที่หลายๆ คนสงสัยว่า ขายของใน shopee เสียภาษีไหม? คำตอบคือ “ต้องเสียภาษีเมื่อมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด” นอกจากนี้จะเห็นว่าการขายของบนแพลตฟอร์ม Shopee Lazada นั้น ส่งผลดีต่อร้านค้าในหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างเช่น การโดนหักค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งทางที่ดีร้านค้าออนไลน์ ควรวางแผนภาษีขายออนไลน์ ให้ดี ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณมีผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษีได้ ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น และส่งผลดีในหลายๆ ด้าน ซึ่งสำนักงานบัญชีที่แนะนำ คือ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339





 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th