soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อป้องกันการกวนข้ามช่อง ของวิทยุสื่อสาร (Narrow Mode และ Wide Mode)  (อ่าน 23991 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ บุคคลทั่วไป

  • สมาชิกระดับ 9
  • ******
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 807
  • -จึงได้รับ: 161
  • กระทู้: 376
  • กำลังใจ : +161/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 46.0.2490.71 Chrome 46.0.2490.71
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 12
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              

เพื่อป้องกันการกวนข้ามช่อง ของวิทยุสื่อสาร (Narrow Mode และ Wide Mode)



อ้างจาก: Wide / Narrow ในเครื่องวิทยุคมนาคมรุ่นใหม่ๆ

ก่อนหน้านี้ ทางกทช. ก็พยามจะยกเลิกเครื่องรุ่นเก่าด้วยสาเหตุที่ว่า พอให้ซอยสเตป 12.5KHz  มันก็เกิดการรบกวนกันเนื่องจาก เครื่องรุ่นเก่าไม่มี Narow โหมด วิทยุสมัครเล่นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี Wide (F3E 16KHz) /Narow (F3E 8KHz) มีข้อแตกต่างกันก็คือ

ในระบบเก่า จะมีการผสมคลื่นที่ 16KHz นั่นคือ Wide โหมดในระบบเก่ากำหนดสเต็ปที่ 25KHz มันก็ไม่รบกวนกัน เพราะเครื่องผสมคลื่นออกไปมีความกว้างแค่ 16KHz มันก็ไม่เกิน 25KHz แต่ถ้าท่านใช้สเตป 12.5KHz แต่เครื่องรุ่นเก่ามันไม่สามารถผสมคลื่นที่ 12.5KHz ได้ มันผสมคลื่นออกอากาศได้ที่ 16KHz ตลอดมันก็จะล้นไปช่องข้างเคียง แต่ถ้าส่งในโหมด Narow 8KHz หากใช้สเต็ป 12.5 มันก็ไม่ล้นแล้ว มันจะต้องเหมือนกันทั้งเครื่องส่งและเครื่องรับ ตัวอย่างเช่นท่านมีสองเครื่อง ตัวนึงส่งด้วย Wide อีกตัวรับที่ โหมด Narow เสียงที่ได้ยินก็จะบี้ๆไม่ชัดเจน แต่ถ้าปรับให้เป็น Narow ตรงกันทั้งสองเครื่องเสียงก็จะชัดเจน แล้วก็ไม่รบกวนช่องข้างเคียง แต่คุณภาพเสียงอาจจะด้อยไปกว่า Wide โหมด เพียงแต่คุณภาพเสียงก็จะไม่ทุ้มลุ่มลึกเทียบเท่ากับ Wide เท่าน้นเอง

เสมือนว่า เมื่อก่อน ถนนกว้าง 25 เมตร (step 25 KHz) รถที่เราใช้อยู่ (วิทยุ) ขนาดกว้าง 16 เมตร (เสียงที่ส่งออกไป) ก็วิ่งได้สบายๆ ไม่ตกถนน ไม่เบียดช่องข้างเคียง เสียงใส

แต่ปัจจุบัน ถนนแคบลงเหลือ 12.5 เมตร (step 12.5 KHz) รถเก่าที่เราใช้อยู่ (วิทยุ) ยังมีขนาดกว้าง 16 เมตร (เสียงที่ส่งออกไป) มันก็จะเริ่มวิ่งไม่ได้ เบียดช่องข้างเคียงด้วย

พอเข้าใจนะครับ

ดังนั้น เครื่องใครปรับโหมด narrow band ได้ ช่วยกันใช้ด้วย จะได้ไม่เบียดเพื่อนๆ





เพื่อป้องกันการกวนข้ามช่อง ของวิทยุสื่อสาร (Narrow Mode และ Wide Mode)

1.  สำหรับย่านสมัครเล่น 144-146 MHz. (ปัจจุบัน ที่ยังไม่ปรับไปใช้ความถี่ใหม่ ตามประกาศฯ)
    ทั้งแม่ข่าย - ลูกข่าย ให้ปรับการมอดูเลทคลื่น เป็น 12.5 KHz. (Narrow Mode) ถ้าเครื่องรุ่นเก่าไม่มีสเต็ป 12.5 KHz. ก็ไม่เป็นไร และเพื่อไม่ให้ไปกวนข้ามช่องของคนที่ใช้ Narrow ก็ขอให้ท่านลดกำลังส่งลงนะครับ
    เพราะปัญหาที่ย่านวิทยุสมัครเล่นทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ทุกวัน ก็เพราะเรื่องการปรับ/ไม่ปรับ Narrow นี่แหละ เพราะคนที่เป็นเครื่องรุ่นเก่าไม่มีสเต็ป 12.5 KHz. นี่แหละ ไปกวนข้ามช่อง (บางครั้งรุนแรง) สำหรับคนที่ใช้เครื่องรุ่นใหม่  ที่ทะเลาะกันไม่จบ เพราะแต่ละคนก็ว่าตัวเองถูก โดยไม่ศึกษาระบบเครื่องที่ตนเองใช้สักนิด ถ้าศึกษาแล้วท่านจะเข้าใจกันไปเอง และจะถ้อยทีถ้อยอาศัย

2.  ส่วนย่านความถี่อื่น
    ทั้งแม่ข่าย - ลูกข่าย ปรับการมอดูเลทคลื่น 12.5 KHz. หรือ 25 KHz. (Wide Mode / Narrow Mode) ตามสะดวก
เพราะถ้าเกิดมีการรบกวนกัน เดี๋ยวเจ้าหน้าที่ กสทช. คงออกไปจัดการให้ท่านเอง หรือถ้าเป็นไปได้ทั้งเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย ก็ปรับไปใช้แบบ Narrow ให้หมด

3.  ปัญหาที่เกิดรบกวนในปัจจุบัน ก็มาจากแม่ข่าย หรือกลุ่มสนทนาที่ใช้เครื่องโมบายกำลังส่งสูงๆ นี่แหละ ที่เป็นสาเหตุหลัก เพราะตนเองไม่ยอมปรับไปใช้ Narrow Mode ทำให้เครื่องลูกข่ายหรือคู่สนทนาต้องจำทนใช้ Wide Mode ตามไปด้วย ถ้าทั้งสองปรับไม่ตรงกัน จะมีผลเช่น กวนข้ามช่อง (ถ้ากำลังส่งสูง จะกวนข้ามช่องรุนเเรงมาก) เครื่องหูตึง เสียงบี้/ไม่บี้ เสียงทุ้ม/เสียงแหลม นี่คือสาเหตุ
 -  สำหรับเครื่องโนเนมที่พบว่ามีอาการข้างต้นแบบชัดเจนคือเครื่องที่มาจากจีนแล้วตีตราเอาตามสะดวก เช่น ยี่ห้อ SPEEDER, FUJITEL ฯลฯ
 -  สำหรับเครื่องวิทยุที่มีแบนด์เนม เช่น ไอค่อม ยาสุ โมโตโรล่า ฯลฯ กลับพบว่ามีผลบ้างแต่มีน้อย
 -  แต่การรบกวนข้ามช่อง มีทุกยี่ห้อ

4.  ตัวอย่างชัดๆ ที่ได้ทดลอง
 -  Icom V82 ตั้งเป็น Wide Mode
 -  SPEEDER SP-IP1 ตั้งเป็น Narrow Mode

 **  ฝั่งไอค่อมกดคีย์ส่ง ฝั่งสปีเดอร์รับ เกิดหอนหรือออสซิเลทวี๊ดๆๆๆๆ ทันที ฟังไม่ได้เลย
 **  แต่ถ้าปรับสลับไปโหมดอื่น สื่อสารกันได้ตามเงื่อนไข ข้อ 3.




สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th