soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่  (อ่าน 17658 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2165
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows XP Windows XP
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 45.0.2454.85 Chrome 45.0.2454.85
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
« เมื่อ: 11 กันยายน 2558, เวลา 21:19:20 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือ รัตตนติงสาอภินวบุรี

          นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นชื่อเดิมของเมืองเชียงใหม่ ที่ พญามังรายทรงร่วมกับพระสหาย โดยมี พญามังราย , พญางำเมือง และ พ่อขุนรามคำแหง สร้าง ในปี พ.ศ. 1839 หลังจากที่ เวียงกุมกาม ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พญามังรายเลยได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยสุเทพ

          นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่ , ลำพูน , ลำปาง , แพร่ , น่าน , พะเยา , เชียงราย) ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ระหว่าง พ.ศ. 1839 - พ.ศ. 2101 ในปี พ.ศ. 2101 นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ได้เสียเมืองให้กับพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ผู้ปกครองพม่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ อยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามานานกว่า 200 ปี จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่า ออกจากเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ และ เชียงแสนได้สำเร็จ โดยพระเจ้ากาวิละ และ พระยาจ่าบ้าน และ พระเจ้ากาวิละ ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น รัตตนติงสาอภินวปุรี

          พระเจ้ากาวิละ และ เชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ได้ปกครองเมืองมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาได้มีการปรับปรุงการปกครอง ยกฐานะ ขึ้นเป็น จังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) มาจนถึงปัจจุบัน

          เนื่องจากเชียงใหม่เป็นเมืองที่อยู่ทางภาคเหนือ ภูมิประเทศมีภูเขาสูงรายล้อมอยู่ทั่วไป พร้อมกับมีประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนาน จึงเป็น สถานที่หมายปอง ในลำดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ จะมาสัมผัสกับเชียงใหม่กันสักครั้ง

แหล่งท่องเที่ยว เยี่ยมชม
อำเภอเมืองเชียงใหม่

ประตูเมืองเชียงใหม่ (ประตูเมืองชั้นนอก)


 
-  ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูท่าแพ (ชั้นนอก) อยู่ทางทิศตะวันออก
-  ประตูหล่ายแกง หรือ ประตูระแกง
-  ประตูขัวก้อม
-  ประตูไร่ยา หรือ ประตูหายยา
-  ประตูศรีภูมิ หรือ ประตูช้างม่อย
          อยู่ทางทิศเหนือไปทางแจ่งศรีภูมิ สร้างขึ้นในสมัยพญาติโลกราช เนื่องมาจากพระองค์โปรดให้สร้างตำหนักขึ้นใกล้ๆ กับแจ่งศรีภูมิ แล้วจึงโปรดให้เจาะประตูศรีภูมิ เพื่อเสด็จไปยังท่าแม่น้ ปิง ได้สะดวกยิ่งขึ้น ต่อมามีการเปลียนชื่อเป็น ประตูช้างม่อย
-  ประตูกะโหล้ง
(ส่วนประตูที่มีชื่อปรากฏในเอกสาร แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ได้แก่ ประตูแสนปุง (แสนพุง) และ ประตูเชียงยืน)

ประเมืองเชียงใหม่ (ประตูเมืองชั้นใน)
-  ประตูท่าแพ หรือ ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูเชียงราก (ประตูเมืองแห่งเดียวที่มีบานประตู)  (พิกัด gps.  18.787751, 98.993254)
          ประตูท่าแพ แต่ก่อนอยู่ที่บริเวณสี่แยกวัดแสนฝาง เป็นประตูของแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ต่อมามีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกออก เหลือแต่ประตูเชียงเรือกที่เป็นประตูชั้นใน ชาวบ้านจึงเรียกประตูเชียงเรือก ว่า ประตูท่าแพ ... อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ เป็นประตูสู่ย่านการค้าทั้งในอดีต และจนถึงปัจจุบัน
-  ประตูสวนดอก  (พิกัด gps.  18.788844, 98.978278)
          ประตูสวนดอก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ที่เรียกว่า ประตูสวนดอก เพราะ เป็นทางออกไปสู่อุทยานดอกไม้ของราชวงศ์มังราย (วัดสวนดอก)
-  ประตูช้างเผือก หรือ ประตูหัวเวียง  (พิกัด gps.  18.795364, 98.986560)
          ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ เป็นประตูที่กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จ เข้า - ออก   
-  ประตูเชียงใหม่ หรือ ประตูท้ายเวียง  (พิกัด gps.  18.781254, 98.988924)
          ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่
-  ประตูแสนปรุง หรือ ประตูสวนปรุง  (พิกัด gps.  18.781488, 98.981575)
          ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในสมัยพญาสามฝั่งแกน เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างเจดีย์ราชกุฏคาร (วัดเจดีย์หลวงในปัจจุบัน) เพื่อพระราชชนนีที่โปรดประทับอยู่ที่ตำหนักนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ได้ทรงสะดวกในการเสด็จมาสักการะพระเจดีย์ จึงโปรดให้เจาะกำแพงเมืองด้านนั้น ให้ชื่อว่า ประตูสวนแร
          ต่อมาเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นที่ใช้ประหารนักโทษ ใช้หอกหลาวทิ่มแทงปุง (พุง) ชาวบ้านจึงเรียก ว่า ประตูสวนปุง หรือ ประตูแสนปุง
          นับแต่อดีต เชียงใหม่มีประเพณีที่ว่า หากมีการเสียชีวิตภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ จะต้องนำศพออกจากตัวเมืองเพื่อนำไปยังสุสานหายยา (ที่เผาศพเจ้านายในอดีต) โดยผ่านทางประตูนี้เท่านั้น ซึ่งก็ยังยึดถือประเพณีนี้อยู่ตราบจนถึงปัจจุบัน 

กำแพงเมืองเชียงใหม่ หรือ กำแพงเวียงเชียงใหม่
          เป็นกำแพงเมืองชั้นในของเชียงใหม่ สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ ในรัชสมัยของพญามังราย โดยขุดคูเมืองเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวประมาณ 1.63 กิโลเมตร ทุกด้าน และได้นำดินจากการขุดคูเมือง ขึ้นไปถมเป็นแนวกำแพงเมือง  โดยเริ่มบวงสรวงขุดคูเมือง ที่ แจ่งศรีภูมิ เป็นที่แรก
          ในปี พ.ศ. 2491 กำแพงเมืองเชียงใหม่มีสภาพทรุดโทรม มีวัชพืชขึ้นอย่างมาก อีกทั้งยังบดบังทัศนียภาพของคนที่อยู่นอกกำแพงเมือง ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้เริ่มรื้อกำแพงออก เพื่อสร้างถนน และเส้นทางคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่ (กำแพงเมืองเชียงใหม่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในปี พ.ศ. 2478)

แจ่งเมืองเชียงใหม่ หรือ ป้อมประจำเมืองเชียงใหม่
-  แจ่งศรีภูมิ หรือ แจ่งสะหลีภูมิ  (พิกัด gps.  18.795149, 98.993584)
          อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นจุดแรกที่พญามังรายทำพิธีบวงสรวงเริ่มต้นสร้างเมืองเชียงใหม่ เริ่มต้นจากจุดนี้แล้ววนไปทางทิศใต้ จนมาบรรจบแล้วเสร็จที่นี่
-  แจ่งก๊ะต้ำ หรือ แจ่งขะต๊ำ  (พิกัด gps.  18.781360, 98.992700)
          อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ขะต้ำ เป็นชื่อเรียกของ เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง แต่ก่อนบริเวณนี้มีปลาชุกชุมมาก ชาวเมืองมักจะมาจับปลาที่นี่ จึงเป็นที่มาของชื่อ แจ่งขะต้ำ
-  แจ่งกู่เฮือง  (พิกัด gps.  18.781726, 98.977941)
          อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ที่นี่เป็นที่เก็บอัฐิของ อ้ายเฮือง ผู้ควบคุมพญาคำฟู ซึ่งได้ถูกนำมาขังที่นี่ หลังจากถูกจับเนื่องจากได้ชิงราชสมบัติจากพญาแสนภู
-  แจ่งหัวลิน  (พิกัด gps.  18.795579, 98.978663)
          อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นจุดรับน้ำที่ไหลมาจากดอยสุเทพ เพื่อการไหลเวียนรอบคูเมืองเชียงใหม่

-  พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์  (พิกัด gps.  18.790211, 98.987516)
          พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ ผู้สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ คือ พญามังราย (ประทับกลาง) พญางำเมือง (ประทับด้านขวา) และ พ่อขุนรามคำแหง (ประทับด้านซ้าย) ตั้งอยู่กลางเวียงเชียงใหม่ บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางหลังเก่า) ตรงกันข้ามกับ ศาลแขวงเชียงใหม่หลังเก่า ใกล้กับย่านของกิน เลื่องชื่อหลากชนิด

-  หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่  (พิกัด gps.  18.790221, 98.987167)
          สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2467 เคยใช้เป็น หอคำ , ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ , ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เป็นมรดกตกทอดกันมา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าการวิโรรสสุริยวงศ์ ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 เมื่อเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมี พระธิดา ต่อมาเมื่อ จัดการปฏิรูป การปกครองตามระบบเทศาภิบาล เจ้าดารารัศมีจึงให้ใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้ เป็น ศาลารัฐบาล หรือ ที่ทำการรัฐบาล
          ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้มีส่วนจัดแสดงในด้านต่างๆ ป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งอธิบายถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมของเชียงใหม่ ให้แก่คนเชียงใหม่ในรุ่นต่อไป

วัดในเขตเมืองเชียงใหม่ (จะพยายามรวบรวมให้ครบ เพราะ วัดค่อนข้างเยอะมาก)

-  วัดอินทขิล หรือ วัดสะดือเมือง  (พิกัด gps.  18.789698, 98.987140)
          สร้างโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 เคยเป็นที่ประดิษฐานเสาอินทขิล (เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่ ที่ตั้งของวัดนี้อยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดสะดือเมือง มี พระเจ้าอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้าน คู่เมืองเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่เลยออกไปกลางถนน ผู้ที่มากราบไหว้บูชา จะได้รับความสุขใจ และสงบใจ และทำให้เกิดความรู้สึกที่มั่นใจ และมีความหวัง ที่จะประกอบการงานใดๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามตำนานเชื่อว่า วัดอินทขิล เป็นสถานที่พญามังรายต้องอัศนีบาตจนสิ้นพระชนม์

-  วัดดวงดี หรือ วัดพันธนุดวงดี หรือ วัดหมากต้นเหนือ หรือ วัดอุดมดี หรือ วัดพนมดี  (พิกัด gps.  18.789435, 98.988293)
           สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองเชียงใหม่ คนใด คนหนึ่ง ประมาณในปี พ.ศ. 2039 ตามข้อความจารึกที่ฐานพระพุทธรูปประธานภายในวิหาร ที่นี่ยังเคยใช้เป็นสถานที่เล่าเรียนของลูกขุนนางในสมัยก่อน และเป็นอาคารเรียนชั่วคราวของนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ก่อนการสร้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในปัจจุบัน จะแล้วเสร็จอีกด้วย

-  วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร หรือ ราชกุฏาคาร หรือ โชติการาม  (พิกัด gps.  18.786950, 98.986946)
          องค์พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่แล้วเสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า กู่หลวง
          ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน

-  วัดพันเตา หรือ วัดปันเต้า  (พิกัด gps.  18.787755, 98.987766)   
          เดิมเรียกวัดนี้ ว่า วัดปันเต้า (พันเท่า) หมายถึง การที่มาทำบุญเพียงหนึ่ง จะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า ภายหลังเพี้ยนมาเป็น พันเตา แต่ยังมีที่มาของชื่อที่ว่า น่าจะมาจากการใช้ วัดพันเตา เป็นแหล่งสร้างเตาหลอม ในการหล่อพระอัฏฐารส พระประธานในวิหารวัดเจดีย์หลวง จึงได้ชื่อ ว่า วัดพันเตา
          วิหารเดิมเป็นหอคำ หรือ ท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงองค์ที่ 5 เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ ดูวิจิตรและสง่างาม จนมาถึงยุคอของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7 ได้รื้อมาถวายให้เป็นวิหารของวัดพันเตา


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กันยายน 2558, เวลา 10:00:32 น. โดย soup chiangmai »


ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th