soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เทศกาลปี๋ใหม่เมือง สงกรานต์เชียงใหม่ 2566  (อ่าน 23035 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 635
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2142
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
เทศกาลปี๋ใหม่เมือง สงกรานต์เชียงใหม่ 2566
« เมื่อ: 30 มีนาคม 2566, เวลา 23:07:21 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


สงกรานต์เชียงใหม่ กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ สนุกสนานไปกับการเล่นน้ำสงกรานต์ และร่วมกิจกรรมตามประเพณีในวันปี๋ใหม่เมือง

          ชวนเที่ยวงาน สงกรานต์เชียงใหม่ ปี 2566 ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 9 - 17 เมษายน 2566 ทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับกิจกรรมที่เป็นไฮไลต์ เช่น การจัดขบวนแห่สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์, การประกวดแม่ญิงขี่รถถีบกางจ้อง, กิจกรรมยอสวยไหว้สา, การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

          นอกจากนี้ยังมีการจัดสรงน้ำพระตามวัดต่างๆ ได้แก่ วัดเชียงยืน, วัดโลกโมฬี, วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, วัดเจ็ดลิน, วัดเชียงมั่น และวัดอื่นๆ กว่า 11 วัด ทั่วเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชน นักท่องเที่ยว มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง แต่ก่อนจะไปพบกับความสนุกของการเล่นน้ำสุดคึกคักจัดเต็มให้หายคิดถึง เรามีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ หรือ ประเพณีปีใหม่เมือง (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง) ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรมของชาวไทย - ล้านนา ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณมาฝากกัน ดังนี้

เทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์เชียงใหม่
          ก่อนที่จะรับเอาปีตามปฏิทินสากลมาใช้ คนไทยและล้านนาในหัวเมืองเหนือต่างก็ถือเอาช่วงสงกรานต์ หรือปีใหม่เมือง เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านปี ต้องมีธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อชำระสิ่งไม่ดีออกไป  และรับสิ่งเป็นมงคลในวันปีใหม่ โดยมีความเชื่อที่ให้ความสำคัญกับ ขุนสังกรานต์ หรือขุนสังขานต์ ที่จะล่องมาในแต่ละปี ซึ่งการล่องของขุนสังกรานต์นั้นจะมีความยิ่งใหญ่อลังการ และมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันไปตามวันที่จะล่องในแต่ละปี เช่น สีเครื่องนุ่งทรง, เครื่องประดับ การถือสิ่งของในแต่ละมือ อิริยาบถ, พาหนะ, ทิศการเสด็จ และคำทำนายที่มีอิทธิพลความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ คล้ายคลึงกับความเชื่อเรื่องท้าวกบิลพรหมและนางสงกรานต์ทั้ง 7 วัน ในภาคกลาง

การปฏิบัติในเทศกาลสงกรานต์ เชียงใหม่
วันสังขานต์ล่อง หรือวันสังขารล่อง
          คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ สงกรานต์ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ก้าวล่วงแล้ว, ผ่านไปแล้ว โดย วันสังขานต์ล่วง ก็คือ วันมหาสงกรานต์ ในภาคกลาง ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่า และก้าวเข้าสู่ปีใหม่นั่นเอง ปัจจุบันถือเอาวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันสังขานต์ล่อง โดยในวันนี้คนล้านนาจะตื่นแต่เช้า จุดประทัด, ยิงปืน เพื่อขับไล่ความไม่ดี เรื่องร้ายๆ ให้ไหลล่องไป จากนั้นจะทำความสะอาดบ้านเรือน, ซักที่นอน หมอนมุ้ง และอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาด ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่ประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เสด็จขึ้นบุษบกในตอนเช้า และช่วงบ่ายจะมีพิธีแห่รอบเมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนได้สรงน้ำ รวมถึงมีพระพุทธรูปสำคัญเข้าร่วมในขบวนด้วย

วันเนาว์ หรือวันเน่า
          วันที่สองในปีใหม่เมือง ยังไม่นับเป็นปีใหม่ เป็นวันที่อยู่ถัดจากวันสังขานต์ล่อง และอยู่ก่อนวันเถลิงศก กำหนดตามปฏิทินจุลศักราช ปัจจุบันมักตกอยู่ในวันที่ 14 เมษายน ถือเป็นวันไม่ดี ไม่ส่งเสริมสิริมงคล จึงไม่ควรดุด่าว่าร้ายกัน เพราะเชื่อว่าถ้าใครด่าทอหรือทะเลาะวิวาทกันจะเป็นอัปมงคลไปตลอดทั้งปี ในวันนี้ผู้คนจะเตรียมของต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในประเพณีปีใหม่เมือง เช่น ช่อ, ตุง, ข้าวตอก ดอกไม้, หมากเหมี้ยง, เสื้อผ้าต่างๆ เพื่อใช้ในการทำบุญ รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ นอกจากนี้ในวันนี้ เด็กๆ หนุ่มสาว และคนเฒ่า คนแก่ จะพากันไปขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย และประดับตกแต่งด้วย ตุง, ช่อข้าวตอก และดอกไม้ เพื่อเป็นพุทธบูชาด้วย

วันพญาวัน
          วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ ในวันนี้จะมีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เช้าตรู่ ช่วงบ่ายจะเป็นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปเจดีย์ รวมถึงในหลายพื้นที่จะมีพิธีแห่ไม้ค้ำศรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา และค้ำชูหนุนให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

วันปากปี หรือวันปากปี๋
          วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันแรกของปีใหม่ ศักราชใหม่ ในวันนี้คนล้านนาจะทำอาหารที่มีขนุนเป็นหลัก เช่น แกงขนุน, ตำขนุน เพราะมีความเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า บางพื้นที่จะมีการทำพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และคารวะรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโสของหมู่บ้านนั้นๆ

การรดน้ำดำหัวของผู้ใหญ่ ตามแบบฉบับล้านนา
          การดำหัวผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่, ครูอาจารย์ หรือผู้อาวุโส ของชาวล้านนา จะมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ ใช้น้ำขมิ้นส้มป่อย พร้อมสิ่งของและเครื่องสักการะ ไปมอบแก่บุคคลที่นับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกินไว้ เมื่อผู้ใหญ่ได้รับแล้วก็จะจุ่มมือลงในน้ำขมิ้นส้มป่อย แล้วนำมาลูบศีรษะ และอาจจะสลัดใส่คล้ายการประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้พร (ซึ่งแตกต่างจากภาคกลางที่จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ขันเล็กๆ มารดมือผู้ใหญ่)

เทศกาลงานสงกรานต์เชียงใหม่ ปี 2566 จัดเมื่อไร
          เทศบาลนครเชียงใหม่ ชวนร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา ในเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2566” ตั้งแต่วันที่ 1 - 16 เมษายน 2566 กับสถานที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ที่จะทำให้สุขใจกับวัฒนธรรมสุดล้ำค่า มีการจัดกิจกรรมที่เน้นวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมนตร์เสน่ห์ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมล้านนา เข้าวัดเข้าวาเพื่อเสริมบารมีรับพรปีใหม่เมือง กับกิจกรรมสืบสานประเพณีดั้งเดิมของชาวล้านนา

ภาพจาก :  Virojt Changyencham / Shutterstock.com

ภาพจาก :  Virojt Changyencham / Shutterstock.com

กิจกรรมต่างๆ ในเทศกาลงานสงกรานต์เชียงใหม่ ปี 2566
พิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ ประจำปี 2566
          จัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน 2566 เวลา 06.00 - 08.00 น. ณ ข่วงประตูท่าแพ เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี สร้างบุญ, สร้างกุศล ด้วยการตักบาตรข้าวสาร, อาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์ และสามเณร จากวัดในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พร้อมรับศีลรับพร เสริมสิริมงคลรับปีใหม่เมือง

พิธีอัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธรูปสำคัญ
          จัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน 2566 ณ สี่แยกสันป่าข่อย - วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่ร่วมฟื้นฟูขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ออกจากวิหารลายคำ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ขึ้นรถบุษบกไปยังบริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อเตรียมพร้อม ก่อนที่ในช่วงบ่ายจะมีขบวนแห่พร้อมกับพระพุทธรูปสำคัญจากวัดต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำตามประเพณีที่ปฏิบัติในเทศกาลปี๋ใหม่เมืองทุกปี ซึ่งพระพุทธสิหิงค์จะถูกอัญเชิญออกมาจากวิหารลายคำเพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น

ภาพจาก :  nuwatphoto / Shutterstock.com

ภาพจาก :  501room / Shutterstock.com

กิจกรรมอุโมงค์น้ำ และถนนสายน้ำ สืบสานมหาสงกรานต์เชียงใหม่ “จุ้มก๋ายเย็นใจ๋ ปี๋ใหม่เมือง”
          จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน 2566 ณ บนถนนท่าแพ ชุ่มฉ่ำให้ทั่วหน้ากับอุโมงค์น้ำ และถนนสายน้ำ เย็นกายสบายใจไปพร้อมกัน เพื่อเป็นการสร้างสีสัน ความสนุกสนาน รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ขบวนแห่ไม้ค้ำสะหลี และขนทรายเข้าวัด
          จัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายน 2566 ณ วัดบนถนนท่าแพ แห่ขบวนไม้ค้ำสะหลี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เป็นขบวนที่จะมีการตกแต่งอย่างสวยงาม โดยการนำไม้ที่มีขนาดใหญ่มาทาด้วยขมิ้น แล้วประดับกระดาษสีอย่างสวยงาม และได้มีการขนทรายร่วมกับขบวนด้วย โดยในขบวนทั้งหมดนั้นจะแสดงถึงการร่วมใจ ทั้งการแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองอย่างสวยงามเพื่อร่วมขบวนกันอย่างคึกคัก และแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบต่อไป

ย้อนวันวานสงกรานต์ปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่
          จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน 2566 ร่วมย้อนวันวานไปพร้อมกับชาวเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ทั้งถนนคนเดินย้อนวันวาน (วันที่ 13 - 15 เมษายน 2566 ณ ถนนช้างคลาน), เวทีรำวงย้อนยุค (วันที่ 13 - 15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ), การแข่งขันลาบพื้นเมือง (วันที่ 15 เมษายน 2566 ณ ข่วงประตูท่าแพ), การแข่งขันทำอาหารพื้นเมืองรูปแบบขันโตกล้านนา ทั้งนี้ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ยังคงปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาตั้งแต่ดั้งเดิม และคงความเป็นเมืองพุทธด้วยการเชิญชวนเข้าวัดทำบุญ ปักตุงแบบล้านนา ขนทรายเข้าวัด ร่วมก่อเจดีย์ทราย และยังจัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมอีกกว่า 14 กิจกรรม สามารถติดตามกิจกรรมอื่นๆ ในเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ “สืบฮีตโตยฮอย เมืองเจียงใหม่ 727 ปี” ได้ทาง เฟซบุ๊ก เทศบาลนครเชียงใหม่

งาน Water War Chiang Mai
          จัดขึ้นในวันที่ 16 เมษายน 2566 ณ ลานม่วนใจ๋ เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ต้อนรับการกลับมาของเทศกาลสงกรานต์ ด้วยความมันส์สุดเปียกแห่งปีของภาคเหนือ ทุกตารางเมตรจะต้องลุกเป็นน้ำ กับมิวสิกเฟสติวัลใหญ่งานเดียวของชาวเชียงใหม่ เมื่อเทศกาลดนตรีมารวมตัวกับ 6 ผับดัง และร้านอาหารดังตลอด 12 ชั่วโมง ศิลปินจัดเต็ม เพื่อปิดท้ายเทศกาลสงกรานต์ ครบ จบ ทุกความระห่ำในงานเดียว ม่วนหนักจัดเต็มพิกัดที่สุดที่เคยมี

พิกัดเล่นน้ำสงกรานต์ เชียงใหม่
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
          เริ่มต้นฉลองสงกรานต์ เชียงใหม่ 2566 ตามแบบฉบับคนพุทธ ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ทุกปีที่วัดแห่งนี้จะจัดขบวนแห่ พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) พระคู่บ้านคู่เมืองของทางจังหวัด ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสรงน้ำพระเอาฤกษ์เอาชัย เมื่อเสร็จจากการสรงน้ำพระ รับศีลรับพร ขนทรายเข้าวัด ก่อเจดีย์ทราย ร่วมชมขบวนแห่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณด้านหน้าวัดก็จะเป็นสถานที่เล่นน้ำ เรียกได้ว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ด้วยการเล่นน้ำแบบเบาๆ ตามประเพณีท้องถิ่นของสงกรานต์เชียงใหม่นั่นเอง

ภาพจาก :  Take Photo / Shutterstock.com

ประตูท่าแพ
          ซิกเนเจอร์สำคัญของการเล่นน้ำสงกรานต์เชียงใหม่ การเล่นน้ำที่นี่จะอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่มีกลิ่นอายของเชียงใหม่โบราณ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำคลายความร้อนได้อย่างเต็มที่ เพราะในแต่ละปีประตูท่าแพจะเป็นสถานที่หลักในการจัดงานตามประเพณีสงกรานต์ของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ขบวนแห่ดอกไม้, พระพุทธรูป และนางรำ โดยขบวนแห่มักจะมีขึ้นในช่วงเช้าวันแรกของวันสงกรานต์ ต่อจากนั้นก็จะมีการจัดตั้งเวทีประกวดนายและนางสงกรานต์ รวมถึงการจัดบูธแสดงผลงานหัตถกรรมและของดีของจังหวัดเชียงใหม่ด้วย นักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสสนุกกับการเล่นน้ำ ควบคู่ไปกับการเดิน ชม ชิม ช้อป ของดีของจังหวัดเชียงใหม่ไปในตัว

ภาพจาก :  501room / Shutterstock.com

คูเมืองเชียงใหม่
          ไม่ไกลจากประตูท่าแพก็มาต่อกันที่ คูเมืองเชียงใหม่ สถานที่เล่นน้ำยอดนิยมสำหรับสงกรานต์เชียงใหม่ในทุกปี โดยคูเมืองเชียงใหม่อยู่ใกล้ๆ กับประตูท่าแพชนิดที่ว่าเดินถึงกันได้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมความสวยงามของการประดับตกแต่งสถานที่และเล่นน้ำตามวิถีสงกรานต์เชียงใหม่ได้ที่นี่  ซึ่งก่อนวันสงกรานต์จะมีการถ่ายน้ำในคูทิ้งแล้วโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำ พร้อมเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงรับรองได้ว่าน้ำจากคูเมืองนั้นสะอาดแน่นอน [color]

ภาพจาก :  Pair Srinrat / Shutterstock.com

กาดสวนแก้ว
          ย่านช้อปปิ้งยอดนิยมของเชียงใหม่ ที่มักจะมีการจัดเวทีคอนเสิร์ตบริเวณลานด้านหน้าอย่างยิ่งใหญ่ช่วงเทศกาล หรือจัดอีเวนต์ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงช่วงสงกรานต์ด้วย

ถนนนิมมานเหมินท์
          ย่านสุดฮิปของเมืองเชียงใหม่ที่อัดแน่นไปด้วย ร้านค้า, ร้านกาแฟ รวมถึงที่พักมากมาย เปรียบได้กับถนนข้าวสารในกรุงเทพฯ ที่มีนักท่องเที่ยวจากทุกชาติแวะมาเที่ยวจนครึกครื้น สนุกสนาน ไม่หลับใหล ด้วยเหตุนี้ถนนสายนี้เลยกลายเป็นแหล่งเล่นน้ำยอดฮิตในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงสงกรานต์เชียงใหม่ไปด้วย บรรดาร้านค้าก็จะขนเอาถังน้ำมาร่วมเล่นน้ำกับนักท่องเที่ยวอย่างสนุกสนาน ซึ่งบางช่วงถนนหรือซอยก็จะมีการปิดการจราจรให้เล่นน้ำได้อย่างเต็มที่

ภาพจาก :  I love photo / Shutterstock.com

วันหยุดช่วงสงกรานต์นี้ ถ้ายังไม่รู้จะไปเล่นน้ำที่ไหน ก็ลองตีตั๋วขึ้นเชียงใหม่ไปชุ่มฉ่ำกับสายน้ำเย็นๆ และวิถีวัฒนธรรมแบบล้านนากันที่เทศกาลสงกรานต์ เชียงใหม่ ปี 2566 ดูนะ


หมายเหตุ :  ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงกรุณาตรวจสอบอีกครั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และ เฟซบุ๊ก ททท.สำนักงานเชียงใหม่
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สงกรานต์ 2566
วันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์
ที่เที่ยวสงกรานต์ 2566 เล่นน้ำสุดแฮปปี้ในวันขึ้นปีใหม่ไทย
สถานที่จัดงานสงกรานต์ 2566 ปักหมุดชุ่มฉ่ำกับเทศกาลขึ้นปีใหม่ไทย
เทศกาลสงกรานต์พระประแดง 2566 ชุ่มฉ่ำสายน้ำ เปี่ยมวัฒนธรรมของชาวรามัญ - ไทย
ประเพณีวันไหล 2566 ทั่วไทย สนุกกับเทศกาลแห่งความชุ่มฉ่ำเย็นใจ
 

ขอบคุณข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เฟซบุ๊ก เทศบาลนครเชียงใหม่ เฟซบุ๊ก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ เฟซบุ๊ก ททท.สำนักงานเชียงใหม่





ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th