Share:
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” อัญเชิญพระศรีศากยมุนี (พระโต) มาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนั้นชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศน์เทพวราราม” ภายในวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ภายในพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งประดิษฐานของ
1. พระพุทธศรีศากยมุนี ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ สูง 4 วา พระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ที่สุดในไทย เดิมประดิษฐานภายในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ กลางกรุงสุโขทัย มีศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงกล่าวอ้างถึงว่า “พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์กรุงสุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้หล่อและทำการฉลองในปีพุทธศักราช 1905 ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ในปีพุทธศักราช 2350 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปอัญเชิญพระใหญ่จากเมืองสุโขทัยล่องตามลำน้ำมายังพระนคร เมื่อมาถึงทรงโปรดให้มีพิธีสงฆ์และงานสมโภชทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลา 7 วัน จึงอัญเชิญขึ้นบกพร้อมด้วยขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ พระราชดำเนินด้วยพระบาทเปล่าตามกระบวนแห่มาด้วย เพื่อนำไปประดิษฐานยังวัดสุทัศนเทพวรารามที่ทรงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่บริเวณกึ่งกลางพระนคร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามพระองค์ใหญ่นี้ว่า “พระพุทธศรีศากยมุนี” นิยมมากราบไหว้เพื่อเสริมดวงชะตา ให้ปราศจากโรคภัย อุปสรรค ภยันตรายใดใด ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำสิ่งใดก็ราบรื่น การงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 บริเวณผ้าทิพย์ด้านหน้าฐานบัลลังก์ขององค์พระศรีศากยมุนี อีกด้วย
2. พระสุนทรีวาณี (ลอยองค์) ประดิษฐานภายในพระวิหารหลวง เป็นปูชนียวัตถุรูปเปรียบพระธรรม โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ได้เสด็จเป็นประธานประกอบพิธีเททองและพุทธาภิเษก ณ มณฑลพิธี วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งพระสุนทรีวาณีองค์นี้ถูกสร้างเป็นรูปแบบพิเศษครั้งแรกในนามคณะสงฆ์วัดสุทัศนเทพวราราม และผู้ออกแบบคือ นายปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เดิมพระสุนทรีวาณีเป็นภาพเขียนโบราณที่เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน ป.ธ. 8) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม รูปที่ 3 ได้ดำริสร้างขึ้นด้วยการผูกลักษณาการจากคาถาที่ได้รับสืบทอดมาจากพระอุปัชฌาจารย์ และมอบหมายให้หมื่นสิริธัชสังกาศ (แดง) เขียนภาพขึ้นโดยมีลักษณะเทพธิดาทรงเครื่องอย่างบุรุษ แสดงนิสีทนาการบนดอกบัวสื่อถึงพระธรรม พระหัตถ์ขวาแสดงอาการกวักเรียก (เอหิปัสสิกวิธี) สื่อถึงเชิญชวนให้มาศึกษาปฏิบัติ พระหัตถ์ซ้ายมีแก้ววิเชียรวางประทับ สื่อถึงพระนิพพาน มีองค์ประกอบรายล้อมด้วยมนุษย์นั่งบนดอกบัวซ้ายขวา ด้านล่างมีนาค และสัตว์น้ำ ด้านบนมีรูปเทพยดา พรหม สื่อถึงสังสารวัฏฏ์ คาถาพระสุนทรีวาณี บทสรรเสริญพระธรรม สวดแล้วจิตสงบ เกิดสมาธิ คลิ๊ก พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยพระอุโบสถและองค์พระประธาน ( พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ ) นี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดเจดีย์อันงดงามรอบ ๆ พระอุโบสถ มีซุ้มเสมา 8 ซุ้ม ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว เป็นใบเสมาคู่ซึ่งทำจากหินอ่อนสีเทา สลักเป็นภาพช้าง 3 เศียร งวงชูดอกบัวตูมเศียรละ 1 ดอก เบื้องบนมีดอกบัวบาน 3 ดอก บนกำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเกยอยู่ด้านละ 4 เกย ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับประทับโปรยทานแก่ประชาชนในงานพระราชพิธี เรียกว่า “เกยโปรยทาน” ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งประดิษฐานของ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ หล่อด้วยสำริดปิดทอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเก้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์หล่อขึ้น ณ โรงหล่อในพระบรมมหาราชวัง อีกทั้งยังทรงโปรดให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานภายในองค์พระพุทธรูปด้วย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์” พระพุทธรูปปางประทานโอวาทท่ามกลางพระอสีติมหาสาวก ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทดแทนพระศรีศาสดาที่ทรงอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธรูปและพระมหาสาวก 80 องค์ เป็นศิลปะตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 สร้างด้วยปูนปั้นลงสี ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่ทรงให้ถ่ายแบบจากหุ่นพระโครงสานไม้ไผ่ที่สมมติเท่าองค์พระพุทธเจ้าที่ทรงสร้างเป็นตัวอย่าง และพระมหาสาวกมีลักษณะคล้ายบุคคลจริง มีใบหน้าและสีผิวที่แตกต่างกันไปตามอนุพุทธประวัติ 2. พระกริ่งใหญ่ ประดิษฐานที่มุขด้านหลังพระอุโบสถ หล่อด้วยสำริดปิดทอง สร้างเมื่อพุทธศักราช 2534 โดยคณะศิษยานุศิษย์ในเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม รูปที่ 7 มีวัตถุประสงค์จัดสร้างเพื่อถวายสักการะบูชาพระคุณในวาระที่เจ้าประคุณมีอายุวัฒนมงคลครบ 5 รอบ 60 ปี ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปิฎกจึงได้ถวายพระนามพระกริ่งใหญ่องค์นี้ว่า “พระกริ่งธรรมปิฎก 60” คาถาบูชาพระกริ่งใหญ่ ( นะโม 3 จบ )
กิง กัมมัง กุสะลัง ยันตัง สัมพุทธะปะฏิมายิทัง
ปูชะนัง มะมะ อัชเชวัง กุสะลัง เอวะ สาธุกํ
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะ มุตตะมัง
ติโลกะนาถะสัมพุทธัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
อิมินา ปูชะเนเนวัง โหตุ เม ชะยะมังคะลัง ฯ ประดิษฐานที่มุขด้านหลังพระอุโบสถ หล่อด้วยสำริดเคลือบสีเขียว ท้าวกุเวรมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ “กุเวร” ได้สร้างโรงหีบอ้อยประกอบเครื่องยนต์ 7 เครื่อง ให้ผลกำไรขึ้นที่โรงแห่งหนึ่งแก่มหาชน ได้กระทำบุญ ผลกำไรที่มากกว่าได้เกิดขึ้นแม้ในโรงที่เหลือ จึงเลื่อมใสในบุญนั้น นำเอาผลกำไรที่เกิดขึ้นแม้ในโรงที่เหลือ ให้ทานตลอด 20,000 ปี เมื่อถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อ กุเวร ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ปกครองหมู่ยักษ์และอมนุษย์ มีราชธานีชื่อวิสาณะ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกว่า “ท้าวเวสสุวรรณ” คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (นะโม 3 จบ)
เวสวะวัณโณ มะเหสักโข ยักขะราชา มะหิธิโก
ตังปูชะนาวะเสเนวะ โส มัง รักขะตุ สัพพะทา
อันตะราโย จะ นัสสันตุ ปาปัคคะโห จุปัททะโว
วัฑฒะตัง โข มะมัง ลาโภ สะทา โสตถี ภะวันตุเม ฯ อนึ่ง วัดสุทัศน์ฯ เป็นวัดเก่าแก่ ที่เพิ่งจัดพิธีสมโภช 215 ปีไปเมื่อ 28 ธันวาคม 2565 - 1 มกราคม 2566 ที่เพิ่งผ่านมา เปิดทุกวัน : ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 17.00 น. พิกัด GPS. : วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร