soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดโพธิ์  (อ่าน 10238 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
วัดโพธิ์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2566, เวลา 09:08:52 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              



กรุงเทพมหานครฯ

วัดโพธิ์ มรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติจากยูเนสโก
          วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อ วัดโพธาราม เรียกสั้นๆ ว่า "วัดโพธิ์" เป็นวัดโบราณราษฎรสร้างระหว่าง ปี พ.ศ. 2231 - 2246 ในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา


          ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้มีการบูรณะใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2332 ใช้เวลาสร้าง 7 ปี 5 เดือน 18 วัน โปรดเกล้าให้จัดงานฉลองและพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งใช้เวลา 16 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์พระรัศมีพระพุทธไสยาสน์ และทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” พร้อมทั้งทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ขึ้นในวัดองค์หนึ่งเรียกว่า เจดีย์รัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมอบให้กระทรวงโยธาธิการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมการบูรณะปฏิสังขรณ์จนถึงปัจจุบัน การบูรณะใหญ่ครั้งที่ 2 ดำเนินการในสมัยรัชกาลที่ 5 และการบูรณะใหญ่ครั้งที่ 3 ดำเนินการในรัชกาลปัจจุบัน


พระอุโบสถ
          สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ขยายและสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะเป็นทรงรัตนโกสินทร์ฐานตรง เสาสี่เหลี่ยมแต่งมุมเป็นรูปเล็บมือ ปลายสอบเล็กน้อย ไม่มีบัวหัวเสาและตีนเสา หลังคามุขลดชั้นสามชั้นเครื่องบนหน้าจั่วเป็นเครื่องลำยองมีไขราหน้าจั่วต่อด้วยปีกนก พนักระหว่างเสาก่อด้วยกำแพงประดับศิลา ด้านนอกสลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ และมีโคลงจารึกบอกเรื่องไว้ด้านบน มีจำนวน 158 ภาพ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในพระอุโบสถที่เชิงบุด้วยแผ่นศิลาสูงถึงระดับหน้าต่างผนัง ระหว่างหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ 41 เรื่อง


          เสาในพระอุโบสถมี 16 ต้น เขียนเป็นลายดอกไม้ก้านแย่งสลับนกบานประตูพระอุโบสถด้านนอกประดับมุกทั้ง 8 บาน เป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปพัดพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญ ทั้งฝ่านคามวสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง ซุ้มประตูทำเป็นทรงมงกุฎ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูทำเป็นทรงมงกุฎ บานหน้าต่างด้านนอกปิดทองประดับกระจกลายแก้วชิงดวง ด้านในหน้าต่างเขียนลายรดน้ำเป็นตราเจ้าคณะสงฆ์ กรอบเช็ดหน้าเขียนลายทองเป็นเครื่องเทศ รูปสัตว์ต่าง ๆ ข้างกบประดับกระเบื้องเคลือบเป็นดอกดวง ซุ้มหน้าต่างทำเป็นทรงมงกุฎ บริเวณกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีซุ้มประตู 8 ซุ้ม และซุ้มสีมา 8 ซุ้ม ประตูกำแพงแก้วมีรูปสางหล่อด้วยสำริดสร้างขึ้นแทนสิงห์ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


พระเจดีย์กลุ่ม
          เป็นพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ กลุ่มละ 5 องค์ ตั้งอยู่ที่ตรงมุมวิหารคต ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ ล้อมองค์กลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่และสูงกว่า ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ลักษณะสำคัญของพระเจดีย์ 4 องค์เล็ก แบ่งเป็น ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานทักษิณ, ฐานเขียง, ฐานสิงห์ 2 ชั้น, บัวถลา, บัวลูกแก้วอกไก่, บัวปากระฆัง ส่วนองค์ระฆังประกอบด้วย องค์ระฆัง และบัลลังก์ และส่วนยอดประกอบด้วย คอฐานยอด, บัวถลา, บัวกลุ่ม 7 ชั้นปลี, ลูกแก้ว, ปลียอด, เม็ดน้ำค้าง ในขณะที่พระเจดีย์องค์กลาง ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงย่อมุมไม้สิบสอง, ฐานสิงห์ 3 ชั้น, บัวถลา, บัวลูกแก้ว, อกไก่, บัวปากระฆัง ส่วนองค์ระฆังประกอบด้วย องค์ระฆัง และบัลลังก์ และส่วนยอดประกอบด้วย คอฐานยอด, บัวถลา, บัวกลุ่ม 9 ชั้น, ปลี, ลูกแก้ว, ปลียอด, เม็ดน้ำค้าง


พระปรางค์
          ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงสี่เหลี่ยมตัดมุม ฐานสิงห์ 3 ชั้น ฐานบัวลูกแก้วอกไก่, ส่วนเรือนธาตุ ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้วอกไก่, เรือนธาตุ มีรูปปั้นเทวดายืนถือพระขรรธ์ในซุ้มคูหาทั้งสี่ทิศ บัวหงาย และส่วนยอดประกอบด้วยฐานยอดทำเป็นรูปปั้นมารแบก ปรางค์ ยอดนภศุล


พระมหาเจดีย์
          มีจำนวน 4 องค์ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ได้แก่


          1.  พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชรญดาญาณ เป็นพระมหาเจดีย์องค์กลางสีเขียว สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อบรรจุพระพุทธรูปพระนามว่า “พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปองค์นี้เดิมอยู่วัดพระศรีสรรเพชรญ์ พระนครศรีอยุธยา ถูกพม่าเผาไฟลอกทองคำไปเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไม่สามารถบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์นี้ และถือเป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 เมื่อได้บรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
          2.  พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน อยู่ทางด้านเหนือองค์สีเหลือง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่ออุทิศแด่พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือกันว่าเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2


          3.  พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาร อยู่ทางทิศใต้องค์สีส้มย่อมุมไม้สิบสอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือกันว่าเป็นพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ซึ่งลักษณะสำคัญของเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-3 จากฐานไปถึงยอดมีดังนี้ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงรูปสี่เหลียมตัดมุมทำในรูปฐานสิงห์ ฐานสิงห์ 3 ชั้น ฐานบัวปากระฆัง (ส่วนฐานบัวปากระฆังนี้มีลักษณะพิเศาเพิ่มจากแบบประเพณีทั่วไปคือ ประกอบด้วยบัวคว่ำลูกแก้วอกไก่ บัวปากระฆังและบัวเชิงบาตร) ส่วนองค์ระฆัง ส่วนบัลลังก์ คอฐานยอดมีเ สาหารรอบ บัวถลา ส่วนยอดประกอบด้วย บัวกลุ่ม 11 ชั้น ปลี ลูกแก้ว ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง
          4.  พระมหาเจดีย์ศรีสุริโยทัย อยู่ทางด้านทิศตะวันตกตรงกับองค์กลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 สร้างเลียนแบบเจดีย์ศรีสุริโยทัยที่วัดสวนหลวงสบสวรค์ พระนครศรีอยุธยา ลักษณะสำคัญของเจดีย์นี้ คือ ส่วนฐานสูง ประกอบด้วยฐานเขียงสูงทำเป็นฐานทักษิณ ฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองและย่อเก็จเพิ่ม ย่อแบบ 45 องศา ฐานบัวลูกแก้วกลม ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนที่เป็นฐานเก็จเพิ่ม นั้นทำเป็นซุ้มคูหาทั้ง 4 ทิศ เฉพาะทิศเหนือและทิศใต้มีเจดีย์กลมตั้งอยู่บนหลังคาซุ้ม ส่วนองค์เจดีย์ ประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้วกลม 3 ชั้น ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี ส่วนองค์ระฆังและส่วนบัลลังก์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองแบบย่อรัศมี คอฐานยอดมีเสาหาร ส่วนยอดประกอบด้วย ปล้องไฉน 21 ปล้อง ปลียอด และเม็ดน้ำค้าง


          วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 จารึกวัดโพธิ์ได้รับการประกาศรับรองให้เป็น มรดกความทรงจำแห่งโลก โดยไม่เพียงแต่เป็นวัดคู่บ้านเมืองมาช้านาน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารหรือวัดโพธิ์ ยังเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 อีกทั้งยังเป็นดั่งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย โดยเมื่อครั้งอดีต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นสถานที่เล่าเรียน พระปริยัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ จนกลายเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง กระทั่งทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน ให้เป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 และในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ



          วัดโพธิ์กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จนได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2551 รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย


          จุดเด่น คือพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ อันเป็นลักษณะหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ



          นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระเจดีย์ กระจายอยู่ทั่วไปรวมทั้งสิ้น 99 องค์ ซึ่งนับเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย พระเจดีย์ที่สำคัญ เช่น พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งถือเป็นพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล ทำให้วัดโพธิ์ยังคงดูใหม่ และได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีจวบจนถึงปัจจุบัน

ชาวไทยเข้าชม ฟรี
ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม  200 บาท/คน

ที่ตั้ง :  2 ถนนสนามชัย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง)
เปิดตั้งแต่ 08.00 - 17.00 น.

แหล่งอ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : งานผังรูปแบบ ฝ่ายอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.




ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th