soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เมากัญชาแก้อย่างไร สังเกตแบบไหนว่ามีอาการแพ้กัญชา  (อ่าน 24067 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 102.0.0.0 Chrome 102.0.0.0
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


เมากัญชา แพ้กัญชา เป็นอาการที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากไทยปลดล็อกกัญชาพ้นจากสารเสพติด แถมบางคนยังเป็นหนักจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลกันเลย

          จะเห็นได้ว่าหลังกัญชาถูกปลดล็อก ประชาชนบางส่วนก็ปลูกกัญชาได้ต้นสูงปรี๊ดชนิดที่โตทันใจ ส่วนร้านอาหาร รวมไปถึงร้านขายเครื่องดื่ม ก็ตอบรับกระแสกัญชาด้วยการรังสรรค์เมนูกัญชาออกวางจำหน่ายกันอย่างคึกคัก และไม่ใช่แค่ในส่วนของอาหารเท่านั้นหรอกนะคะที่กัญชาไปรันวงการ แต่ในวงการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ฉุกเฉิน ก็ต้องตั้งรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้กัญชาหรือรับกัญชามาเกินขนาดจนเกิดอาการผิดปกติด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าในกัญชาก็มีสาร THC ซึ่งเป็นสารเสพติดและสารเมา ที่ส่งผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้แม้จะใช้อย่างถูกวิธีก็ตาม

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เรามาเช็กกันว่าอาการแพ้กัญชาหรือเมากัญชาเป็นแบบไหน แล้วถ้าเผลอรับกัญชาเข้าไปแล้วเกิดเมาหรือแพ้เราควรแก้ยังไงดี


อาการแพ้กัญชา-เมากัญชา เป็นยังไง


          อาการข้างเคียงจากกัญชาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในบางคนที่ไวต่อสารในกัญชามาก หรือได้รับกัญชาในปริมาณที่เกินควร ได้แก่
          -  ง่วงนอนมากกว่าปกติ
          -  ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ
          -  วิงเวียนศีรษะ
          -  คลื่นไส้ อาเจียน


อาการแพ้กัญชา - เมากัญชา แบบไหนควรพบแพทย์


          ผลข้างเคียงของกัญชาที่รุนแรงและควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับบางคน ได้แก่
          -  หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
          -  เป็นลมหมดสติ
          -  เจ็บหน้าอก ร้าวไปที่แขน
          -  เหงื่อแตก ตัวสั่น
          -  อึดอัด หายใจไม่สะดวก
          -  เดินเซ พูดไม่ชัด
          -  สับสน กระวนกระวาย  
          -  วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
          -  หูแว่ว เห็นภาพหลอน
          -  พูดคนเดียว
          -  อารมณ์แปรปรวน

          จะเห็นได้ว่าโทษของกัญชาก็ไม่ธรรมดา ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่าง ดังที่เราได้เห็นเคสผู้ที่แพ้หรือเมากัญชา บางคนกินคุกกี้กัญชาเพียงชิ้นเดียว หรือแค่ซดน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวผสมกัญชา ก็มีอาการรุนแรงถึงขั้นรู้สึกเข้าใกล้ความตาย ยิ่งคนที่ใช้กัญชาเกินขนาดบางรายต้องรักษาใน ICU หรือเคสหนัก ๆ อาจมีภาวะไตเสื่อมกันเลยทีเดียวนะคะ ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติหลังกินกัญชา มาดูกันว่าเราจะแก้เมา แก้แพ้กัญชา ด้วยวิธีไหนได้บ้าง


เมากัญชาแก้อย่างไร แพ้กัญชาแก้ได้ไหม
          หากมีอาการเมาหรือแพ้กัญชา สามารถแก้อาการได้เบื้องต้น ตามนี้เลย
          หากมีอาการคอแห้ง :  ให้ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมากๆ หรือดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทราย
          หากมึนเมา :  ให้บีบมะนาวครึ่งลูก ผสมเกลือปลายช้อนแล้วกิน หรือเคี้ยวพริกไทยแก้เมา
          หากวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน :  ให้ดื่มชาชงขิง หรือน้ำขิง หรือชงรางจืด ดื่มวันละ 3 เวลา แก้อาการโคลงเคลง

          แต่หากมีอาการหนัก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที


ใครไม่ควรใช้ - ควรระวังในการใช้กัญชา


          เพราะกัญชาไม่ได้ใช้ได้กับทุกคน แม้จะใช้อย่างเหมาะสมในปริมาณตามที่แพทย์สั่งก็ยังเกิดอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม
          ขณะเดียวก็ยังมีคำแนะนำจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้ามบุคคลบางกลุ่มใช้กัญชา และบางกลุ่มต้องระวังการใช้กัญชา เพราะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับโทษของกัญชามากกว่าประโยชน์ ได้แก่

          ผู้ที่ห้ามใช้กัญชา
          -  เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (ห้ามใช้ และครอบครอง)
          -  หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร รวมทั้งผู้หญิงที่วางแผนกำลังจะมีบุตร
          -  ผู้ที่มีประวัติแพ้กัญชา
          -  ผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดรุนแรง หรือไม่สามารถควบคุมอาการได้
          -  ผู้ที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
          -  ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟาริน หรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ เพราะกัญชาจะไปเพิ่มขนาดยาวาร์ฟารินจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

          ผู้ที่ควรระวังในการใช้กัญชา
          -  ผู้สูงอายุ
          -  ผู้ที่ตับ และไตบกพร่อง  
          -  ผู้ใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยารักษาอาการจิตเวช


คำแนะนำในการใช้กัญชา


          หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาอย่างที่บอกข้างต้น แล้วต้องการลองชิมกัญชาดูบ้าง ก็อยากฝากข้อแนะนำรวมไปถึงข้อควรระวังในการใช้กัญชา ดังนี้

          ข้อควรทำ
          -  ก่อนใช้กัญชาควรศึกษาความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองในระยะสั้น และระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน
          -  กินเมนูกัญชาจากร้านที่ซื้อใบกัญชาจากแหล่งปลูก และแหล่งจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว
          -  กินเมนูกัญชาในปริมาณน้อย หากเพิ่งเริ่มกินควรกินแค่ครึ่งใบต่อวันก่อน เพราะแต่ละคนจะมีความไวต่อฤทธิ์ของกัญชาแตกต่างกัน
          -  เลือกกินใบสด กินเป็นผัก จิ้มน้ำพริก กินเป็นสลัด หรือกินเป็นน้ำคั้นสด ซึ่งไม่มีสารเมา
          -  เลือกกินกัญชาแบบที่ไม่ผ่านความร้อนนานๆ เช่น ใส่แบบใบกะเพรา
          -  ระวังการกินเมนูกัญชาที่ผ่านความร้อน หรือการกินกัญชาร่วมกับอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เมนูทอด เพราะความร้อนและไขมันจะสกัดสาร THC ออกจากกัญชาได้มากขึ้น จึงไม่ควรกินมากเกินไป
          -  ในอาหาร 1 มื้อ ไม่ควรกินเมนูกัญชาเกิน 2 เมนู และทั้ง 2 เมนูอาหารไม่ควรปรุงด้วยน้ำมันที่ผ่านความร้อน เช่น การทอด หรือผัด เพราะเสี่ยงได้รับสาร THC เกินปริมาณ
          -  จำกัดการกินใบกัญชากับคนบางกลุ่ม เพราะอาจได้รับผลกระทบมากกว่าประโยชน์ต่อสุขภาพ
          -  หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการใช้เครื่องจักรอันตราย หลังกินกัญชาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

          ข้อควรระวัง
          -  ไม่ควรกินกัญชาหลายเมนูในมื้อเดียว เพราะอาจได้รับสารเมาสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป
          -  ไม่ควรกินใบกัญชาแบบทั้งใบ หรือใบที่ผ่านความร้อนแล้ว เกิน 5 - 8 ใบต่อวัน เพราะหากกินในปริมาณมากอาจมีอาการผิดปกติ เช่น กินอาหารได้มาก พูดมาก หัวเราะร่วน หิวของหวาน คอแห้ง และตาหวานได้
          -  ไม่ควรกินใบกัญชาแก่ หรือใบกัญชาตากแห้ง เพราะมีสาร THC มากกว่าใบกัญชาสด
          -  ไม่กินใบกัญชาร่วมกับแอลกอฮอล์
          -  ไม่กินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ใช้ช่อดอกกัญชาเป็นส่วนผสม เนื่องจากมีสาร THC ในปริมาณสูงมาก


ปริมาณกัญชาในอาหาร กินแค่ไหนจะปลอดภัย


          กรมอนามัยได้แนะนำปริมาณใบกัญชาต่อเมนูไว้ในประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้
          อาหารประเภททอด น้ำหนัก 51 กรัม :  ใช้ใบกัญชา 1 - 2 ใบสด กรณีทำไข่เจียว แนะนำครึ่งใบสด เนื่องจากสาร THC และ CBD ละลายได้ดีในน้ำมัน
          อาหารประเภทผัด น้ำหนัก 74 กรัม :  ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
          อาหารประเภทแกง น้ำหนัก 614 กรัม :  ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
          อาหารประเภทต้ม น้ำหนัก 614 กรัม :  ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
          ผสมในเครื่องดื่ม ขนาด 200 มิลลิลิตร :  ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด

นอกจากนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยังให้คำแนะนำในการปรุงและกินเมนูกัญชาไว้ ดังนี้

ภาพจาก :  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

          กัญชาเป็นพืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายอย่างก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีสารที่ทำให้เสพติดได้ โดยเฉพาะส่วนช่อดอกกัญชาที่มีสาร THC ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรใช้กัญชาอย่างระมัดระวัง หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์จะดีที่สุดนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้องกับกัญชา
หมอเผยสาเหตุ ทำไมกัญชาแบบกิน อันตรายกว่าแบบสูบ กระบวนการเล็กๆ ที่คิดไม่ถึง
เมนูกัญชา ย้ำมือใหม่ควรรู้ก่อนลองชิม ไม่งั้นอาจเสี่ยงแพ้รุนแรง จะทำขายต้องทำไง
สาวเปิดใจ หลังเกือบตายจากต้มมะระใส่กัญชา กินไปไม่รู้ว่าแพ้ พร้อมฝากถึงแม่ค้าที่ใส่ทั้งใบ
กัญชา กับสรรพคุณทางยา และประโยชน์ในการรักษาโรค
กัญชาในอาหาร กินแล้วจะเมาไหม กินได้แค่ไหนไม่อันตรายต่อสุขภาพ
กัญชา กัญชง ปลดล็อกแล้วต้องรู้ ปลูก - สูบ - ขาย - ใช้ แบบไหน ผิด - ไม่ผิดกฎหมาย
เปิด 3 ตำรับยาแผนไทยผสมกัญชา ที่คนมีสิทธิบัตรทองก็เบิกได้
กัญชง ต่างกับกัญชาอย่างไร รู้จักพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีประโยชน์ทางยา
รพ.อภัยภูเบศร ชี้ กัญชา มีประโยชน์มหาศาล ต้านมะเร็ง - ภูมิแพ้
กัญชา - กัญชง รักษาโควิด 19 ได้หรือไม่
20 คาเฟ่กัญชา มาพร้อมเมนูกัญชาที่สายสมุนไพรต้องถูกใจ


ขอบคุณภาพจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันกัญชาทางการแพทย์ กรมอนามัย เฟซบุ๊ก Ramathibodi Poison Center ราชกิจจานุเบกษา







ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th