soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เส้นทางขยะของกรุงเทพฯ : เมื่อขยะในกรุงเทพฯ ถูกนำไปทิ้งที่จังหวัดอื่น  (อ่าน 24418 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 100.0.4896.127 Chrome 100.0.4896.127
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


สนับสนุนเนื้อหา โดย Reporter



Highlight
          กรุงเทพฯ สร้างขยะ 12,281.70 ตัน/วัน คน กทม. สร้างขยะราว 2.2 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน เฉลี่ยแล้วคนกรุงเทพฯ 1 คน ใช้งบฯ จัดการขยะ 4.09 บาทต่อวัน หรือกิโลกรัมละ 1.86 บาท
          กทม. ไม่มีขยะตกค้างเลยในแต่ละปี เพราะขนถ่ายไปฝังกลบยังพื้นที่จังหวัดอื่น อย่างฉะเชิงเทรา และนครปฐม กว่า 4,000 ตัน/วัน
          กรุงเทพฯ มีขยะอินทรีย์ 45% หรือราว 3,874 ตัน/วัน นำไปทำปุ๋ยที่โรงงานในอ่อนนุช 1,600 ตัน/วัน และนำไปคัดแยก-สร้างพลังงานที่โรงงานระบบ MBT 800 ตัน/วัน แต่โรง MBT ถูกระงับใบอนุญาตหลังถูกร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น
          การขนถ่ายขยะไปฝังกลบที่นครปฐม กรุงเทพฯ จ้างบริษัทกลุ่ม 79 ราคา 693 บาท/ตัน และบริษัทวัสดุภัณฑ์ธุรกิจ ราคา 800 บาท/ตัน ส่วนการขนถ่ายไปที่ฉะเชิงเทราจ้างบริษัทไพโรจน์สมพงษ์พานิชย์ ราคา 717 บาท/ตัน
          มีการอนุมัติสร้างเตาเผาอีก 2 แห่งที่อ่อนนุช และหนองแขม แต่ละโรงจะเผาได้วันละ 1,000 ตัน/วัน กำหนดเสร็จในปี 2567 แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดในแต่ละวันอยู่ดี

          เราอาจเคยสงสัยว่าขยะจากบ้านของเราที่รถขยะคันสีเขียวของกรุงเทพฯ เก็บไปนั้นไปสิ้นสุดที่ตรงไหน สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน และทำไมกรุงเทพฯ ถึงบอกว่าแต่ละปีไม่มีขยะตกค้างเลย แล้วกรุงเทพฯ เองจัดการขยะทั้งหมดได้อย่างไร

          Rocket Media Lab ชวนเดินทางตามเส้นทางขยะในกรุงเทพฯ ว่า การที่ไม่มีขยะตกค้างในกรุงเทพฯ ในแต่ละปีนั้น ขยะเหล่านั้นเดินทางไปไหน ไปถูกฝังแถวบ้านใครแทนหรือเปล่า พร้อมทั้งปัญหาต่างๆ ในการจัดการขยะของกรุงเทพฯ ที่อาจจะซุกอยู่ใต้พรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง ที่คนกรุงเทพฯ ต้องมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบ


เส้นทางขยะของกรุงเทพฯ :  เมื่อขยะในกรุงเทพฯ ถูกนำไปทิ้งที่จังหวัดอื่น
          ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในแต่ละปี กรุงเทพฯ ไม่มีขยะตกค้างเลย ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า กรุงเทพฯ ซึ่งไม่มีบ่อฝังกลบ อันเป็นวิธีกำจัดสำหรับขยะส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีเพียงสถานีขนถ่ายขยะ 3 แห่ง และมีเตาเผาขยะมูลฝอยเพียงเตาเดียว ไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะ แล้วขยะจำนวนมากในแต่ละวันของกรุงเทพฯ นั้นไปไหน

          จากการทำงานของ Rocket Media Lab โดยอ้างอิงข้อมูลปี 2563 จากกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ มีจำนวนเฉลี่ย 12,281.70 ตัน/วัน ในจำนวนนี้สามารถแยกขยะได้เป็นสองแบบ คือ
          1.  ขยะแปรใช้ใหม่หรือ "ขยะรีไซเคิล" ซึ่งหมายถึงขยะที่นำไปแปรสภาพเป็นวัสดุเพื่อการผลิตใหม่ได้ 3,672 ตัน/วัน
          2.  ขยะที่ต้องนำไปกำจัด 8,609 ตัน/วัน ขยะรีไซเคิลนั้นจะถูกแยกโดยบรรดาพนักงานเก็บขยะหรือพี่ๆ ซาเล้ง และนำไปขายให้แก่ร้านรับซื้อของเก่าเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิล ปัญหาขยะของกรุงเทพฯ จึงอยู่ที่ขยะที่ต้องนำไปกำจัด

          สำหรับขยะที่ต้องนำไปกำจัด ยังแบ่งได้อีกสองประเภท คือ ขยะอินทรีย์ ทั้งเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ หรือต้นไม้ที่ถูกตัด โดยมีปริมาณประมาณ 45% ของขยะที่ต้องนำไปกำจัดหรือ 3,874 ตัน/วัน หากคำนวณตามปริมาณขยะปี 2563 ขยะส่วนนี้จะถูกส่งไปที่โรงหมักปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ ที่ตั้งอยู่ในสถานีขนถ่ายขยะอ่อนนุช โดยรับขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยได้ 1,600 ตัน/วัน และที่โรงงานกำจัดขยะเชิงกล-ชีวภาพ หรือ MBT (Mechanical Biological Waste Treatment) โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม ซึ่งรับขยะอินทรีย์ไปคัดแยกวัสดุ รวมทั้งเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ 800 ตัน/วัน


          อย่างไรก็ตาม โรงกำจัดขยะระบบ MBT ดังกล่าว เพิ่งจะถูกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระงับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 หลังจากประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็น โดย กกพ.มีคำสั่งให้บริษัทดำเนินการปรับปรุงระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องและการเตือนค่าความเข้มข้นมลพิษทางอากาศ รวมทั้งปรับปรุงระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โรงงานกำจัดขยะของกรุงเทพธนาคมนี้ เกิดจากการใช้อำนาจมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คำสั่งที่ 4/2559 ยกเว้นกฎหมายผังเมือง ทำให้สามารถตั้งใกล้กับชุมชนได้ รวมทั้งไม่มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มีเพียงประมวลหลักการปฏิบัติ (code of practice: CoP) เป็นเอกสารประกอบในการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น

          นอกจากโรงหมักปุ๋ยอินทรีย์ที่อ่อนนุชแล้ว แต่ละเขตเองก็จะนำเอาขยะอินทรีย์ไปหมักเป็นปุ๋ยเพื่อใช้งานเช่นเดียวกัน โดยปุ๋ยที่ได้นั้นก็จะนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ในกรุงเทพฯ นั่นเอง

          อีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ ของกรุงเทพฯ ก็คือขยะมูลฝอย ซึ่งเมื่อคำนวณแยกจากขยะอินทรีย์แล้ว จะพบว่าเหลือปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ซึ่งก็คือขยะมูลฝอย เป็นจำนวนประมาณ 4,735 ตัน/วัน โดยส่วนหนึ่งจะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีการเผาในเตาเผาพลังงานที่สถานีขนถ่ายหนองแขม ซึ่งจะได้พลังงานไฟฟ้าและส่งให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แต่เตาเผาพลังงานก็รับขยะได้วันละไม่เกิน 500 ตัน ดังนั้นจึงมีขยะมูลฝอยที่เหลือที่ต้องถูกนำไปกำจัดวันละประมาณ 4,235 ตัน หรือคิดเป็น 80% ซึ่งขยะจำนวนนี้จะถูกขนถ่ายไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบที่บ่อฝังกลบ 2 ที่ด้วยกันคือ ที่ อำเภอกำแพงแสน นครปฐม ซึ่งรับขยะได้ 7,000 ตัน/วัน และที่ อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา ซึ่งรับขยะได้ 1,800 ตัน/วัน

          ข้อมูลจากโครงการศึกษาวิจัยต่อยอดโครงการบ่อขยะฝังกลบที่ อำเภอกำแพงแสน นครปฐม โดยเกียรติไกร อายุวัฒน์ พบว่าบ่อฝังกลบ อำเภอกำแพงแสน นครปฐม รองรับขยะจาก กทม. ประมาณวันละ 3,000 ตัน หากคำนวณตามเลขนี้ก็จะพบว่าที่เหลืออีกประมาณ 1,235 ตันจะถูกนำไปฝังกลบที่ อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่มีขยะมูลฝอยตกค้างในกรุงเทพฯ เลย เพราะกรุงเทพฯ นำขยะไปทิ้ง (ฝังกลบ) ที่จังหวัดอื่นนั่นเอง


คนกรุงเทพฯ 1 คน สร้างขยะ 2.2 ก.ก./วัน ใช้งบฯ ในการจัดการ 4.09 บาท/คน/วัน
          ขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ อ้างอิงข้อมูลจากปี 2563 เฉลี่ย 12,281.70 ตัน/วัน นั้น เมื่อคำนวณดูแล้ว ในแต่ละวัน คน กทม.สร้างขยะราว 2.2 กิโลกรัม โดยในปี 2563 กรุงเทพฯ ใช้งบฯ ในการจัดการขยะสูงถึง 6,125,151,487 บาท เฉลี่ยแล้วคนกรุงเทพฯ 1 คน ใช้งบฯ ในการจัดการขยะ 4.09 บาทต่อวัน หรือกิโลกรัมละ 1.86 บาท

          การกำจัดขยะของกรุงเทพฯ นั้นใช้ระบบการจ้างเอกชนแทบทั้งหมด เริ่มต้นด้วยการเก็บขยะตามบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ใน กทม. ด้วยรถเก็บขนมูลฝอยจำนวน 2,140 คัน เป็นรถของ กทม. เอง 495 คัน และรถเช่าอีก 1,571 คัน เก็บขยะไปรวมไว้ที่สถานีขนถ่ายมูลฝอยหลัก 3 สถานีคือ อ่อนนุช หนองแขม และสายไหม และสถานีขนถ่ายย่อยรัชวิภาอีกหนึ่งแห่ง

          ที่สถานีขนถ่ายขยะจะมีการแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปรีไซเคิล ขยะอินทรีย์เพื่อนำไปหมักเป็นปุ๋ย และขยะมูลฝอยเพื่อนำไปอัดและขนถ่ายไปฝังกลบ โดยจะขนถ่ายขยะมูลฝอยไปฝังกลบที่ อำเภอกำแพงแสน นครปฐม ดำเนินการโดย 2 บริษัทคือ บริษัทกลุ่ม 79 จำกัด ที่ทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 4 ปี ด้วยราคา 693 บาทต่อตัน บริษัทกลุ่ม 79 จำกัด นี้ได้รับสัมปทานเป็นผู้กำจัดขยะของกรุงเทพฯ มายาวนานกว่า 20 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา และบริษัทวัสดุภัณฑ์ธุรกิจ จำกัด ซึ่งรับขนถ่ายขยะมูลฝอยจากสถานีสายไหมไปฝังกลบที่ อำเภอกำแพงแสน ตามสัญญาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ระยะเวลา 10 ปี ด้วยราคา 800 บาทต่อตัน โดยบริษัทวัสดุภัณฑ์ธุรกิจ จำกัด ก็เป็นบริษัทของครอบครัวของเจ้าของบริษัทกลุ่ม 79 จำกัด นั่นเอง

          ส่วนที่ ฉะเชิงเทรา ขยะจากกรุงเทพฯ จะถูกขนจากสถานีอ่อนนุชไปฝังกลบที่ อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา ดำเนินการโดยบริษัทไพโรจน์สมพงษ์พานิชย์ จำกัด ที่ทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2563 ระยะเวลา 4 ปี ด้วยราคาตันละ 717 บาท

          การที่กรุงเทพฯ ไม่มีขยะตกค้าง แม้จะทำให้กรุงเทพฯ ดูสะอาดและปลอดมลภาวะจากขยะได้มากขึ้น แต่การนำขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตนเองไปฝังกลบยังที่อื่นก็สร้างปัญหามลภาวะให้กับประชาชนในพื้นที่นั้น ดังเช่น ชาวบ้าน อำเภอพนมสารคาม ที่ทนไม่ไหวกับกลิ่นเหม็นจากบ่อขยะ จนต้องยื่นเรื่องร้องเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด

          สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและ เลขานุการอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ให้สัมภาษณ์กับ Rocket Media Labในประเด็นนี้ว่า ...

          "ตอนนี้ที่ อำเภอพนมสารคาม และอำเภอกำแพงแสน ก็มีการต่อต้านว่าทำไมถึงเอาขยะมาทิ้งที่พื้นที่ของเขา ในฤดูร้อนบ่อขยะก็จะไหม้ ฤดูฝนก็มีกลิ่นเหม็น แล้วทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติเน่าเสียอีก ในแผนแม่บทของ กทม. บอกว่าภายในปี 2567 จะลดปริมาณขยะจากการฝังกลบลงแค่ 30% จาก 80% โดยจะสร้างเตาเผาขยะเพิ่มทั้งที่หนองแขมและอ่อนนุช ซึ่งแผนบอกว่าในปี 2567 จะต้องสร้างเสร็จเรียบร้อยและเปิดใช้งาน แต่ตอนนี้ปี 2565 ก็ยังไม่คืบหน้า"


ขยะแบบอื่นถูกกำจัดอย่างไร แล้วเมื่อไรถึงจะไม่มีขยะไปยังบ่อฝังกลบ
          นอกจากขยะอินทรีย์ที่นำไปหมักปุ๋ยและขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปฝังกลบแล้ว กรุงเทพฯ ยังมีการกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้ออีกด้วย โดยขยะติดเชื้อจะถูกเก็บ ขนถ่ายและนำไปกำจัดแยกต่างหากจากขยะทั่วไป โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในปริมาณ 39 ตัน/วัน จากนั้นจะถูกกำจัดโดยวิธีการเผาในเตาเผา 2 แห่ง คือที่ศูนย์กำจัดขยะหนองแขมจำนวน 2 เตา สามารถเผาได้วันละ 20 ตัน และ ที่ศูนย์ฯ อ่อนนุช จำนวน 2 เตา สามารถเผาได้วันละ 20 ตัน

          ในปี 2561 สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ ได้รับจัดสรรงบ 240 ล้านบาท สำหรับจัดหาเตาเผามูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขนาดไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อเตา อีกจำนวน 2 เตา เพื่อรองรับขยะมูลฝอยติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลล่าสุดขยะมูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทยในปี 2564 มีปริมาณ 90,009.23 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 87% เลยทีเดียว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

          นอกจากนี้ยังมีขยะมูลฝอยอันตราย โดยข้อมูลปี 2564 ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ ระบุว่า ได้ว่าจ้างบริษัทไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ จำกัด (นครปฐม) รับกำจัดขยะมูลฝอยอันตราย โดยขนส่งมูลฝอยอันตรายด้วยรถขนส่งมูลฝอยของผู้รับจ้าง นำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ณ สถานที่ที่ผู้รับจ้างได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้าง ราคาตันละ 9,449 บาท (ระยะเวลา 5 ปี)

          ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) กรุงเทพฯ พยายามอนุมัติโครงการการการกำจัดขยะ จำนวน 6 โครงการ ในวงเงินรวม 27,025 ล้านบาท เพื่อหาแหล่งรองรับขยะในอนาคต ใน 6 โครงการนี้ มี 2 โครงการที่ผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้วคือ “โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย โดยใช้ระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน/วันที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช” ระยะเวลาดำเนินการ 24 ปี งบประมาณทั้งโครงการ 7,330 ล้านบาท และ “โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอย โดยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน/วันที่ศูนย์กำจัดขยะหนองแขม” ระยะเวลาดำเนินการ 24 ปี ใช้งบประมาณโครงการ 7,330 ล้านบาท ทั้งสองโครงการนี้จะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2567 โดยนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่า กทม. กล่าวในปี 2561 ว่าโครงการเหล่านี้ของกรุงเทพฯ จะช่วยให้ กรุงเทพฯ กำจัดขยะเองได้ 5,000 ตัน/วัน

          จากข้อมูลการกำจัดขยะในกรุงเทพฯ และแผนการในอนาคตจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีเตาเผาขยะมูลฝอยทั่วไปเพียง 1 เตา ที่สถานีขนถ่ายหนองแขม ซึ่งมีความสามารถกำจัดขยะได้เพียง 500 ตัน/วัน ในขณะที่ขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดนั้นมีกว่า 4,000 ตัน/วัน เลยทีเดียว ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ ต้องใช้การกำจัดขยะด้วยการขนถ่ายไปฝังกลบยังบ่อขยะใน นครปฐม และ ฉะเชิงเทรา

          เมื่อดูจากโครงการสร้างเตาเผาขยะมูลฝอยทั่วไปอีก 2 แห่งที่อนุมัติแล้วได้แก่ สถานีขนถ่ายหนองแขมและอ่อนนุชอย่างละ 1 เตา ซึ่งแต่ละเตามีความสามารถในการกำจัดขยะได้ 1,000 ตัน/วัน ที่ตามแผนจะสร้างเสร็จในปี 2567 และยังมีแนวคิดจะสร้างเพิ่มอีก 1 เตา ณ สถานีขนถ่ายสายไหม ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการกำจัดขยะได้ 1,000 ตัน/วันเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่มีการอนุมัติ

          จะเห็นว่าในปี 2567 หากเตาเผาขยะมูลฝอยทั่วไปสร้างเสร็จและดำเนินการได้ ก็ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดในแต่ละวันอยู่ดี กรุงเทพฯ ยังคงมีขยะมูลฝอยที่ต้องถูกส่งไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบที่ นครปฐม และฉะเชิงเทราเช่นเดิม แต่จำนวนอาจจะลดลง หรือแม้กระทั่งเมื่อเตาเผาขยะมูลฝอยทั่วไปที่สถานีขนถ่ายสายไหมสร้างเสร็จ (ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการอนุมัติโครงการ) ความสามารถในการกำจัดขยะด้วยการเผาของเตาเผาทั้งหมดที่มีในกรุงเทพฯ ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอยทั่วไปที่ต้องกำจัดในแต่ละวัน นั่นก็หมายความว่ากรุงเทพฯ ก็ยังต้องส่งขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเองไปทิ้งด้วยการฝังกลบในจังหวัดอื่น โดยไม่สามารถจัดการขยะให้จบภายในพื้นที่ของตัวเองได้

          แม้การสร้างโรงงานเผาขยะจะเป็นแผนในการกำจัดขยะของกรุงเทพฯ ในอนาคต แต่ถึงอย่างนั้น โรงงานเตาเผาขยะก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวกับ Rocket Media Lab ว่า ...

          "โรงไฟฟ้าขยะนั้น ปัญหาใหญ่ของมันก็คือปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ แล้วทุกโรงไฟฟ้าที่มีในประเทศไทยเชื่อว่าไม่สามารถจัดการได้เรื่องนี้ได้ เพราะต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีในการบำบัดมลพิษทางอากาศซึ่งต้องใช้งบฯ สูงมาก เพราะฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ก็จะไม่แนะนำให้สร้างโรงไฟฟ้าขยะจำนวนมาก แต่เขาจะแนะนำให้สร้างโรงไฟฟ้าขยะที่มีคุณภาพดีไปเลย ยิ่งประเทศที่ไม่มีการคัดแยกขยะที่ดี การสร้างโรงไฟฟ้าขยะยิ่งไม่คุ้ม เพราะจะยิ่งก่อปัญหามลพิษไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย หรือว่าฝุ่น PM2.5"


ปัญหาการจัดการขยะของกรุงเทพฯ จากอดีตถึงอนาคต
          กรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะช่วงแรกที่ไม่สามารถเก็บขยะในเมืองได้หมด ทำให้มีปัญหาขยะตกค้าง เกิดกลิ่นเน่าเหม็น อีกประการหนึ่งก็คือกรุงเทพฯ ยังไม่มีสถานที่ทิ้งขยะอย่างเป็นระบบ จึงทำให้เจ้าหน้าที่มักนำขยะไปทิ้งในพื้นที่รกร้างต่างๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งก็ทำให้เกิดมลภาวะตามมา

          ผู้ว่าฯ กทม. ในช่วงแรกจัดการปัญหานี้โดยการซื้อรถขยะเพิ่ม อย่างเช่นในยุคของ ศิริ สันติบุตร (2517 - 2518) สั่งซื้อรถขยะเพิ่มถึง 50 คัน หรือธรรมนูญ เทียนเงิน (2518 - 2520) ที่ดำเนินการขนขยะในเวลากลางคืนเพื่อป้องกันการจราจรติดขัดและไม่ให้มีขยะตกค้าง ในขณะที่เทียม มกรานนท์ (2524 - 2527) ได้ริเริ่มจ้างบริษัทเอกชน บริษัทไทยสร้างสรรค์ จํากัด มาเก็บขยะ ซึ่งให้ผลว่าเอกชนนั้นทำงานนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และกลายมาเป็นต้นแบบในการจัดการขยะในกรุงเทพฯ จนถึงทุกวันนี้


          ในขณะที่ผู้ว่าฯ ยุคหลังๆ นั้น ก็ดำเนินนโยบายตามแผนพัฒนาฯ กรุงเทพฯ โดยการจัดสร้างเตาเผาขยะ เช่นในสมัยของ กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (2535 - 2539) ที่ดำเนินการก่อสร้างเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ขนาด 10 ตัน/วัน จํานวน 2 เตา บริเวณโรงงานกําจัดมูลฝอยอ่อนนุช ในวงเงิน 73 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันนี้ เตาเผามูลฝอยติดเชื้อนี้ก็ยังคงดำเนินการอยู่ ร่วมไปกับแคมเปญรณรงค์ต่างๆ เช่น “ขยะในมือท่าน ลงถังเถอะครับ” และรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ แยกขยะเป็น 3 ประเภท อย่างขยะรีไซเคิล ขยะจากเศษอาหาร และขยะอันตรายจากบ้านเรือน ในยุคของพิจิตต รัตตกุล ไปจนถึงการตั้งถังขยะเพิ่มในยุคของสุขุมพันธุ์ บริพัตร ซึ่งในแต่ละสมัยก็จะมีแคมเปญรณรงค์ที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดนั้นก็เพื่อการกำจัดขยะไม่ให้ตกค้างในกรุงเทพฯ

          ปัจจุบันแม้จะไม่มีขยะตกค้างในกรุงเทพฯ แล้ว แต่จากข้อมูลจะพบว่ากรุงเทพฯ ยังต้องเผชิญปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับขยะอยู่ โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อผู้คนในพื้นที่อื่น ทั้งนครปฐมและฉะเชิงเทรา ที่กรุงเทพฯ นำขยะไปทิ้ง รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากแนวทางกำจัดขยะในแบบปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นความท้าทายของผู้ว่าฯ คนใหม่ที่ต้องเข้ามาจัดการปัญหาอันเรื้อรังนี้ของกรุงเทพฯ

          สนธิมองแนวทางการแก้ปัญหาขยะของกรุงเทพฯ ว่า "กทม.ต้องกล้าออกข้อบัญญัติให้ประชาชนแยกขยะที่บ้าน คือไม่ต้องแยกอะไรมาก แค่แยกพวกเศษอาหาร พวกสารอินทรีย์ออกไปแค่นั้นพอ เพราะว่าตอนนี้มีสารอินทรีย์ในขยะจากครัวเรือนประมาณ 34-40% เป็นปัญหาค่อนข้างมาก เข้าโรงไฟฟ้าก็ไม่ได้เพราะว่ามันชื้น จึงต้องแยกออกมาเพื่อเอาไปทำปุ๋ยอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้กรุงเทพฯ ต้องเก็บขยะทั้งหมดแล้วเอาไปแยกที่ปลายทาง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายมหาศาล ผู้ว่าฯ ต้องกล้าออกกฎหมายนี้ เพื่อบังคับให้ประชาชนแยกขยะ"


ขอขอบคุณ
ข้อมูล :  Rocket Media Lab
ภาพ :  AFP





ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th