soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติข้าวซอยเวียงเชียงใหม่  (อ่าน 20595 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
ประวัติข้าวซอยเวียงเชียงใหม่
« เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2563, เวลา 11:21:47 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
ข้อมูลโดย ดร. ณัฐวุฒิ ดอนลาว อาจารย์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


          ข้าวซอย เป็นชื่ออาหารที่น่าจะเป็นที่รู้จักอย่างหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ รวมถึงคนเชียงใหม่และใกล้เคียงเองก็นิยมที่จะรับประทานอาหารที่เรียกว่าจะเป็นเป็นมื้อด่วนชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งในเมืองเชียงใหม่ก็มีร้านอาหารที่จำหน่ายข้าวซอยให้ได้รองลิ้มชิมรสอยู่มากมายหลายร้าน ซึ่งหลายท่านน่าจะเคยได้รับรู้รสสัมผัสของข้าวซอยเมืองเชียงใหม่ว่าเป็นอย่างไรกันแล้ว ในตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับเรื่องราวการเดินทางของอาหารขึ้นชื่อนี้กันว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร


          ข้าวซอยเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิม โดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้น ข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่ และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม ส่วนที่ว่าทำไมถึงเรียกว่าข้าวซอย เพราะในสมัยนั้นไม่มีเครื่องจักรอย่างสมัยนี้ สมัยนั้นเขาทำเส้นบะหมี่กันสดๆ แล้วลงหม้อต้มเลย ด้วยกระบวนการเอา แป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวด จนเข้ากันดี แล้วกดรีดให้เป็นแผ่น แล้วเอามีดมาซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้น นี่แหละเขาจึงเรียกว่า “ข้าวซอย”  


ประวัติข้าวซอย
โดย ภูรินทร์ เทพเทพินทร์

ข้าวซอยเป็นอาหารคู่เมืองเชียงใหม่ก็จริง แต่มีประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนและสัมพันธ์โดยตรงกับประวัติศาสตร์สำคัญบางส่วนของประทศจีน รวมไปถึงเจงกิสข่านแห่งมองโกเลีย อย่างไม่น่าเชื่อ

          ก่อนที่จะพูดถึงตัวข้าวซอย ก็ต้องพูดถึงคนผู้เป็นเจ้าตำรับข้าวซอยก่อน เจ้าตำรับข้าวซอยคือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน ชิงไห่ และก่านซู ของประเทศจีน หรือที่เรียกว่า จีนฮ่อ หรือ แข่ฮ่อ (แข่ เป็นภาษาไต ใช้เรียกชาวจีน) หรือ ฮ่อ ที่ผู้เขียนพูดถึงต่อไปนี้ จะหมายถึงคนจีนยูนนานที่นับถืออิสลามเท่านั้น เพราะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คนจีนจากยูนนานที่เดินทางไปมาในถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม ทิเบต อัสสัม และจีน ส่วนใหญ่เป็น คนจีนที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งนั้น เนื่องจากพวกเขามีอาชีพ ค้าขายและลำเลียงขนส่งสินค้าด้วยสัตว์ต่าง ในภูมิภาคนี้มานมนานหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน (กุบไลข่าน) ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรโยนก (เชียงแสน) ของไทย หรือที่จิตร ภูมิศักดิ์ เรียกว่า “เสียมกุก” - สยามแห่งลุ่มน้ำกก ที่นักประวัติศาสตร์เขมรบอกว่า ร่วมมือกับมองโกลทำลายอาณาจักรเขมรนครวัดอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าชัยวรรมันลงจนป่นปี้ แต่นักประวัติศาสตร์ไทยกลับปฏิเสธคอเป็นเอ็นว่าไม่จริง แต่ผู้เขียนเชื่อว่าจริง เนื่องจาก ช่วงเวลาดังกล่าวประจวบเหมาะกับการพลุ่งขึ้นอย่างรวกเร็วของชนชาติพม่าจากทิเบตสู่ลุ่มแม่น้ำอิระวดีเข้ายึดครองดินแดนของมอญ และชนชาติไทยจากตอนใต้ของจีนสู่ลุ่มแม่น้ำโชงและแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ายึดครองดินแดนของเขมร... แต่คราวนี้ขอว่ากันเรื่องประวัติข้าวซอยก่อนดีกว่านะ

          มีผู้อธิบายคำว่า “ฮ่อ” ไว้หลายทฤษฎี แต่ผู้เขียนเข้าใจว่า คำนี้มาจาก คำว่า “หุย” ซึ่งเป็นภาษาจีนหมายถึงชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งพวกมองโกลพามาจากเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง ปัจจุบันคือประเทศ คาซัคสถาน , กีรจีสถาน , ทาจิกิสถาน และ อูสเบกิสถาน ตอนแรกก็มาเป็นทหารร่วมในกองทัพมองโกล และถูกส่งมาควบคุมจุดยุทธศาสตร์ เส้นทางคมนาคม ต่อมากองทหารเหล่านี้ก็เข้าร่วมผสมปนเปกับชาวจีนและชนชาติพื้นเมืองต่างๆ ในพื้นที่ แถบเมืองต้าหลี่ จนลืมภาษาและวัฒนธรรมเอเชียกลางเดิมของตนหมด ยกเว้นภาษาอาหรับ และศาสนาอิสลาม นอกนั้นรับเอาภาษา และวัฒนธรรมจีนมาใช้ทั้งหมด พวกเขาประกอบอาชีพค้าขาย และขนส่ง ซึ่งชาวหุยส่วนนี้นอกจากจะในการใช้สัตว์พาหนะแล้วยังต้องใช้ความสามารถทางการค้าและการทหารไปพร้อมๆ กัน นี่คือเหตุผลที่ทำให้มุสลิมจีนแตกต่างไปจากมุสลิมในที่อื่นๆ ของโลก แม้แต่ทุกวันนี้ในสังคมไทยก็มีความแตกต่างกันระหว่าง ฮ่ออิสลาม และไทยมุสลิมกลุ่มอื่นๆ

          อยู่มาหลายร้อยปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1856 (พ.ศ.2399) เกิดกรณี ชาวฮั่นสังหารหมู่ชาวหุยขึ้นในเมืองคุนหมิงโดยการสนับสนุนจากทางการราชวงศ์ชิง ชาวหุยจึงตอบโต้ด้วยการก่อกบฏภายใต้การนำของ ตู้เหวินซิ้ว เข้ายึดเมืองต้าหลี่ไว้ได้ ประกาศตัวเป็นเอกราช เรียกรัฐอิสลามของตนว่า ผิงหนานกว๋อ - “ประเทศทักษิณสันติสุข” แล้วส่งกำลังเข้าปิดล้อมเมืองคุนหมิงหลายครั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่าการลุกขึ้นสู้ครั้งนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะชาวหุยเท่านั้นแต่ยังมีชนชาติส่วนน้อยอื่นๆ เช่น ไป๋ อาหนี หยีและไต เข้าร่วมด้วยเป็นอันมาก เนื่องจากเกลียดชังที่มีต่อการปกครองที่กดขี่ของราชวงศ์ชิง

          กบฏมุสลิมในยูนนาน หรือกบฏฮ่อ เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับ “กบฏไท่ผิง” ค.ศ.1850 - 1864 (พ.ศ.2393 - 2407) ที่ต่อต้านความชั่วร้ายของการปกครองราชวงศ์ชิง นอกจากนี้กบฏไท่ผิงยังกระตุ้นให้เกิดกบฏหุยในมณฑลส่านซี และก่านซู ที่เรียกในประวัติศาสตร์จีนว่าว่า “กบฏตุ้นก่าน” ฟังดูแล้วเหมือนกับเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทยไม่มีผิด เนื่องจากในเวลานั้นราชวงศ์ชิงเสื่อมทรามลงอย่างหนักใกล้ล่มสลาย ข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่รีดนาทาเร้นประชาชนอย่างหนักหน่วง ชาวหุยที่เป็นชนชาติส่วนน้อยยิ่งถูกกระทำอย่างหนักหน่วงยิ่งกว่าชาวฮั่น โดยเฉพาะในยูนนาน ก่านซู ชิงไห่ และซินเจียง ที่ถือว่าเป็นดินแดนห่างไกล

          แต่ในที่สุด กบฏมุสลิมก็ถูกรัฐบาลชิงปราบปรามลงได้ราบคาบในปี ค.ศ.1873 (พ.ศ.2416) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย ว่ากันว่า ทางการจีนปราบปรามกบฏมุสลิมอย่างโหดร้าย มีการสังหารหมู่ชาวมุสลิมอย่างไม่เลือกหน้า แบบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเลยทีเดียว จนทำให้มีผู้เสียชีวิตในยูนนานหลายล้านคน ชาวหุยยูนนานจำนวนมากต้องอพยพหนีออกจากจีน เข้าไปในพม่า (ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ เมืองมัณฑะเลย์) ไทยและลาว บางส่วนก็เข้าปล้นสะดมบ้านเมืองต่างๆ ตามรายทางที่ผ่านไป จนเกิดกรณีอย่าง สงครามปราบฮ่อ (พ.ศ.2420 - 2428) ขึ้นเป็นต้น

          ราวปี พ.ศ.2420 มีชาวฮ่อกลุ่มหนึ่งจำนวนหลายร้อยครอบครัวอพยพหนีการปราบปรามของรัฐบาลจีน มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่มณฑลพายัพ (เชียงใหม่) ทางการจึงให้พักอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือของตำบลข่วงสิงห์ บริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า หนองฮ่อ อันเป็นที่ตั้งของสนามม้าหนองฮ่อ ทุกวันนี้ ต่อมาทางการจึงยอมผ่อนปรนให้ชาวฮ่อบางส่วนเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ “บ้านฮ่อ” ถนนเจริญประเทศ ตั้งแต่ตรอกสุเหร่าไปจนถึง กงสุลอังกฤษ บ้างก็ไปอยู่บ้านสันป่าข่อย และนอกประตูช้างเผือก ชาวฮ่ออพยพบางส่วนทางการก็ให้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลำปาง

          ชาวฮ่อ (แข่บก หรือ แข่ฮ่อ) พอตั้งหลักแหล่งได้ ก็ประกอบอาชีพที่ตนถนัด คือทำการค้าขาย ส่วนหนึ่งก็ขายอาหาร เหมือนกับคนไทยที่ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ต่างประเทศ อาชีพแรกๆ ที่มักจะทำคือเปิดร้านอาหาร เข้าใจว่าเชียงใหม่เวลานั้น มีคนจีนยังไม่มากนัก รวมทั้งบรรพบุรุษฝ่ายบิดาของผู้เขียน ซึ่งเป็นจีนแต้จิ๋ว (แข่น้ำ) ส่วนใหญ่อาศัยรวมกันอยู่ริมแม่น้ำปิงแถววัดเกตุฯ ร้านอาหารจีน ซึ่งตอนนั้นจะเป็นร้านข้าวต้ม และร้านก๋วยเตี๋ยว ก็ยังมีไม่มากนัก ส่วนชาวฮ่อก็เปิดร้านข้าวซอย

          ที่เรียกว่าข้าวซอย เพราะในสมัยนั้นไม่มีเครื่องจักรอย่างสมัยนี้ สมัยนั้นเขาทำเส้นบะหมี่กันสดๆ แล้วลงหม้อต้มเลย ด้วยกระบวนการเอา แป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวด จนเข้ากันดี แล้วกดรีดให้เป็นแผ่น แล้วเอามีดมาซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้น นี่แหละเขาจึงเรียกว่า “ข้าวซอย”

          มาจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2475 ชุมชนเมืองเชียงใหม่มีขนาดโตขึ้นมาก มีตลาดวโรรส หรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า “กาดหลวง” เป็นตลาดกลางของเมืองเชียงใหม่ โอกาสหลังผู้เขียนจะค่อยเล่าความเป็นมาของกาดหลวงให้ฟัง ตอนนี้เอาเรื่องข้าวซอยก่อน ตอนนั้นมีร้านข้าวซอยฮ่อร้านหนึ่งมาตั้งอยู่ทางหลังตลาดบริเวณแถวศาลเจ้ากวนอู ในตรอกข่วงเมรุ ข้าวซอยสมัยนั้น ก็เป็นเพียงเส้นหมี่ราดน้ำแกงไก่ หรือแกงเนื้อ คล้ายขนมจีนน้ำเงี้ยวนั่นแหละ ไม่ได้ใส่กะทิใดๆ เพราะคนไทยภาคเหนือยุคนั้นไม่นิยมอาหารที่มีกะทิ ขืนใส่กะทิก็ไม่มีคนกิน ร้านข้าวซอยเจ้านี้มีลูกจ้างชาวพื้นเมืองคนหนึ่งชื่อ “นายปัน” นายปันคนนี้ว่ากันว่าทำงานกับร้านข้าวซอยมาแต่เด็ก จึงรู้เรื่องและมีความชำนาญทุกอย่างเกี่ยวกับข้าวซอยเป็นอย่างดี

          จนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ส่วนประเทศจีนอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร จึงกลายเป็นคู่สงครามกับไทย ชาวจีนที่ยังไม่ได้สัญชาติไทยในเชียงใหม่ ร่วมทั้งชาวฮ่อ ต้องถูกบังคับให้อพยพไปควบคุมอยู่ที่จังหวัดลำปาง นายปันจึงรับเอากิจการข้าวซอยมาทำต่อด้วยความยากลำบากในเศรษฐกิจในยุคสงคราม

          ตราบจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี พ.ศ.2488 ตอนนั้นเชียงใหม่ไม่มีร้านข้าวซอย ยกเว้น ร้านของนายปันเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่ข้างวัดช่างฆ้อง ถนนกำแพงดิน ไม่มีชื่อร้านแต่คนเชียงใหม่เรียกว่า “ข้าวซอยลุงปัน” หรือ “ข้าวซอยวัดช่างฆ้อง” เศรษฐกิจยุคหลังสงครามค่อยๆ ดีขึ้นผู้คนจึงเริ่มกินเริ่มใช้ รวมทั้งคนจีนที่ถูกบังคับให้ไปอยู่ลำปางเริ่มทยอยกลับมาเชียงใหม่ พร้อมคลื่นอพยพของชาวจีนจากผืนแผ่นดินใหญ่ หนี้การล่มสลายเศรษฐกิจของจีนภายใต้รัฐบาลก๊กมิ่นตั๋ง

          เพื่อให้อยู่รอดของธุรกิจข้าวซอยลุงปันจึงพัฒนาข้าวซอยรูปแบบใหม่ ที่เป็นข้าวซอยหมู ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ข้าวซอย ที่ได้พัฒนาแปลงศาสนาจากอิสลามมาเป็นพุทธ เนื่องจากปัญหาเรื่องแกง เวลานั้นเนื้อวัวขาดแคลน ถ้าใช้แกงฮังเล มาทานกับข้าวซอยก็จะไม่อร่อย ด้วยการลองผิดลองถูกจึงได้สูตรนำกะทิสดมาใช้ ปรากฏว่าฮิตบินติดตลาด ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ข้าวซอยลุงปันเปิดขาย ตั้งแต่ 10 โมงเช้า ไปถึง บ่าย 2 โมงก็หมดแล้ว จนข้าวซอยลุงปัน กลายมาเป็นมาตรฐานข้าวซอยของคนเชียงใหม่ไป ชาวฮ่อที่กลับมาเชียงใหม่เริ่มเปิดขายข้าวซอยหลังปี พ.ศ.2500 ต่างก็ต้องปรับสูตรข้าวซอย ให้เข้ามาตรฐานของข้าวซอยลุงปันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ใช้กะทิสด มาจนทุกวันนี้


ข้าวซอยเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิม โดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้น ข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่ และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม


วิธีทำ
1.  โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2.  ตั้งน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือด
3.  ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม
4.  ใส่ผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อย
5.  ใส่ไก่ ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิ เคี่ยวต่อจนไก่นุ่ม
6.  ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่เส้นข้าวซอยที่คลี่ออกจากกันแล้ว ทอดพอเหลืองกรอบ เพื่อทำเส้นกรอบสำหรับโรยหน้า
7.  ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น

เคล็ดลับในการปรุง
ข้าวซอยปรุงได้ทั้งเนื้อไก่ เนื้อวัว สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อ สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อควรหั่นเป็นชิ้นพอคำ ต้มให้เปื่อยก่อน แล้วนำไปเคี่ยวกับเครื่องแกง

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
การเลือกเนื้อไก่ ควรเลือกน่องและสะโพก สำหรับข้าวซอยเนื้อ ควรใช้เนื้อสันคอ

ที่มา :  ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพประกอบจาก https://sites.google.com/site/th5701108017/khaw-sxy-ki






ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th