Share:
วัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว เชียงใหม่
ประวัติพระเจ้าล้านทอง วัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว เชียงใหม่ พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระเจ้าหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างมานานสมัยเวียงพร้าว - วังหิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อทองสำริด ขนาดหน้าตัก 180 เซนติเมตร สูงรวมทั้งฐาน 274เซนติเมตร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ วัตถุ ตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 2 วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ.2528 จากประวัติ ความเป็นมาขององค์พระเจ้าล้านทอง โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือต่างๆ อ้างอิงดัง ต่อไปนี้ …
หนังสือ ตำนานเวียงพร้าว - วังหิน ของนายปวงคำ ตุ้ยเขียว หน้า 10 กล่าวไว้ว่า "พระเจ้า ล้านทองเวียงพร้าว เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย สร้างเมื่อจุลศักราช 888 และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่ง นับว่ามีความสำคัญทางจิตใจอย่างมากต่อคนเมืองพร้าว และทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เหนือของทุกปีทาง วัดจะจัดให้มีการสรงน้ำพระขึ้น
หนังสือ คนดีเมือง เหนือ ของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า 98 กล่าวไว้ว่า "พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่ สืบมาในปี พ.ศ.2068 ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่า พระเมืองเกษเกล้า พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. 2069 เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้"
หนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าว ของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า 2 ได้กล่าว ไว้ว่า"พระเจ้าล้านทอง เรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง " ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่านผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได 2069 วัสสาแล… 888 ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2069 ปีจอ อัฐศก" สมัยพระเมืองเกษเกล้าครองเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว - วังหิน ตามหลักฐานจากหนังสือดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะหล่อขึ้น ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง (ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้น จากประวัติของเวียงพร้าว - วังหิน จะทราบว่าหลัง จากเวียงพร้าว - วังหิน ได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี 2101 ผู้คนหนีออกจากเมืองหมดคงปล่อยให้องค์พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง 349 ปี จนมาถึง พ.ศ.2450 ได้มีดาบสนุ่งขาว ห่มขาว เป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวาง ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐาน แต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง" จึงเรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยัง ท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ ปลาร้า เป็นประจำ หรือเป็นอาหารโปรดของท่าน
เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฝั่นเฟือนพูดจาไม่รู้เรื่อง เดือดร้องถึงหมอผีต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี ส่วนท่านกาเลยังยัง ท่านไม่กลัว ออกเดินเที่ยว ชมบริเวณ จนได้พบองค์พระพุทธรูปทองสำริดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุดทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่ และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งรอบองค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยัง จึงได้หาก้อนอิฐซึ่งพอหาได้ในบริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งมีอยู่แถวนั้นมากมาย แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้ว ได้สร้างเพิงหมาแหงนด้วยเสา 4 ต้น มุงด้วยหญ้าคา เนื่องจากขาดคนดูแลเพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด พิกัด GPS. วัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว เชียงใหม่ : 19.366224, 99.169329
soupvan cnx. ยินดีให้คำปรึกษา เส้นทางการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง และ ที่พัก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จัดทริปเที่ยว ส่วนตัว หรือ หารเฉลี่ย
หาที่พัก สอบถามการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการเที่ยว ...
พูดคุย ทักทาย กันที่ กลุ่ม "soupvan พาเที่ยว" ได้นะครับ ...