soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เดินป่า 4 วัน 49 กิโลเมตร แม่ฮ่องสอน  (อ่าน 11234 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
เดินป่า 4 วัน 49 กิโลเมตร แม่ฮ่องสอน
« เมื่อ: 31 มกราคม 2563, เวลา 21:00:10 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


Home > Hiking > เดินป่า 4 วัน 49 กิโลเมตร บนเส้นทางชีวิตสัมพันธ์คนดอย คนเมือง และธรรมชาติ



บันทึกเส้นทางเดินป่า Fjallraven Thailand Trail 2020 ที่ไม่ได้ให้เพียงความท้าทาย แต่รวมไปถึงการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง และวิถีการอนุรักษ์ธรรมชาติในมุมมองใหม่


               ลองนึกภาพว่าคุณเป็นคนเมือง” ที่ต้องไปเดินและอาศัยอยู่ป่าเป็นเวลา 4 วัน 4 คืน ในเส้นทางราว 49 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่ค่อยๆ ไต่ระดับสู่ยอดดอยอันสูงชันบนทางเท้าในป่าคับแคบ เส้นทางบางช่วงค่อนข้างอันตรายจากทางลาดบนสันเขา (ทั้งช่วงขึ้น และลง) ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจมีโอกาสเท้าบวมเนื่องจากการเดินโดยใส่รองเท้าเดินป่าหนาเตอะอย่างยาวนานตั้งแต่เช้าจรดเย็น (บางคนก็ค่ำ)

               เมื่อยามหลับใหล ก็มีโอกาสเผชิญกับน้ำค้างเกาะเต็นท์ที่ส่งอุณหภูมิหนาวเย็นเหลือประมาณจับไปทั่วร่างกาย จนไม่อาจข่มตาได้สนิทตลอดทั้งคืน บางคนต้องล้มเลิกการเดินทางกลางคันด้วยสภาพร่างกายที่ไม่อาจฝืนทน และมีคนอีกไม่น้อยที่ยังพอประคับประคองสภาพร่างกาย แต่กลับต้องสู้กับจิตใจของตัวเองด้วยการถามตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “เรามาทำอะไรที่นี่


นี่คือประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมได้รับจากการเดินป่าในเส้นทางเดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน้ำเงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านงานเดินป่า Fjallraven Thailand Trail 2020 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว



แม้จะมีเรื่องราวอันยากลำบากมากมายเกิดขึ้นบนเส้นทาง ในอีกด้านหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดความทรงจำล้ำค่าที่ยากจะลืมเลือนเช่นกัน ความทรงจำนั้นไม่ได้เกิดจากการเดินป่าเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงเพื่อนร่วมทางและชาวกะเหรี่ยง เจ้าของเส้นทางตัวจริงที่ช่วยทำให้ภารกิจการเดินป่าครั้งนี้เป็นไปอย่างน่าจดจำ

วัฒนธรรมการเดินป่าที่ยั่งยืน

ตัวผมที่เริ่มเดินป่าเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้รับคำเชิญให้ไปเดินป่าตามรอยเส้นทางที่มีผู้เคยสัมผัสมาก่อนและบอกเล่าประสบการณ์ไว้ในบทความที่กล่าวถึงเส้นทางการเดินป่า Fjallraven Thailand Trail 2019 วัฒนธรรมใหม่ของการเดินป่าที่ยั่งยืน เมื่อต้นปีที่แล้ว

                โดยที่มาที่ไปของเส้นทางเดินป่านี้ ผู้จัดกิจกรรมได้รับแรงบันดาลใจมาจากเส้นทางเดินป่า Fjallraven Classic คือการเดินป่าระยะทางไกล 110 กิโลเมตร บนเส้นทางที่มีชื่อว่า “Kungsladen” ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสวีเดน จัดโดย Fjallraven แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์เพื่อกิจกรรมกลางแจ้งจากประเทศสวีเดน ผู้จัดโครงการ Fjallraven Thailand Trail ซึ่งเป็นชาวไทยที่ได้มีโอกาสไปเดินป่าในเส้นทางนี้มาแล้ว ได้นำรูปแบบโครงการนี้มาจัดขึ้นในประเทศไทย พร้อมเสาะหาเส้นทางที่เหมาะสม ซึ่งก็คือเส้นทางเดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน้ำเงาแห่งนี้



ปลอกแขนสำหรับเจ้าที่ Fjallraven Thailand Trail 2020

                ทั้งสองเส้นทางส่งเสริมการเดินป่าที่มุ่งเน้นให้ผู้คนพึ่งพาตนเอง ชื่นชมธรรมชาติแบบไม่เร่งรีบ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และยึดหลักวัฒนธรรมการเดินป่า ทั้งการพึ่งพาตนเอง ด้วยการแบกสัมภาระของตัวเองทุกชิ้น เพื่อให้เราวิเคราะห์ถึงสิ่งที่จำเป็นในการเดินป่าจริงๆ การรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ เนื่องจากเราต้องการไปชมธรรมชาติ เราจึงออกไปเดินป่า ดังนั้นเราจึงต้องรักษาธรรมชาติให้ยังคงงดงาม ไม่ว่าจะเป็นการไม่ทิ้งขยะบนเส้นทาง แต่นำขยะกลับออกมาจัดการในพื้นที่อันเหมาะสม ของเสียจากร่างกายต้องฝังกลบให้ถูกวิธี และการให้เกียรติผู้ร่วมทาง แม้คนที่ร่วมเดินทางอาจมีความแตกต่างทั้งเชื้อชาติและภาษา แต่ก็ล้วนเป็นผู้ที่รักในชีวิตกลางแจ้ง จึงควรมองข้ามความแตกต่างนั้น และให้เกียรติผู้ร่วมทาง เราก็จะได้รับเกียรตินั้นเช่นเดียวกัน



Trekking Pass และแผ่นไม้สำหรับประทับตราจุด Check Point ตลอดทั้ง 4 วัน

                เส้นทางที่มีความยาวราว 49 กิโลเมตรนี้เป็นเส้นทางเดินเท้าบนสันเขาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างหมู่บ้านที่อยู่รายทางตามภูเขามาเป็นเวลานับร้อยปี แต่ปัจจุบันเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกใช้งานมากนัก เนื่องจากมีเส้นทางใหม่ที่สามารถเดินทางโดยรถยนต์ ซึ่งแม้จะต้องอ้อมภูเขา แต่ก็มีความสะดวกสบายมากกว่า เส้นทางจึงเริ่มค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป แต่ในครั้งนี้ เส้นทางที่ชาวกะหรี่ยงคุ้นเคยมานานกำลังจะทำให้คนเมืองจากหลากหลายประเทศจำนวนหนึ่งได้สัมผัสประสบการณ์เดินป่าท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

ตัวผมแม้จะไม่ได้มีประสบการณ์ในการเดินป่ามากมายนัก แต่ก็ตัดสินใจรับคำเชิญในการท้าทายตัวเองผ่านเส้นทางเดินป่าระยะไกลนี้


แผนผังแสดงระยะทางและความสูงของเส้นทางตลอดทั้ง 4 วัน


วันที่ 1 :  จอลือคี สู่แดนภูเขาชาวกะเหรี่ยง

ในคืนก่อนหน้า เราต้องเดินทางไปที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอเล็กๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเสมือนบริเวณเชื่อมต่อความเจริญกับดินแดนชนบทของชาวเขา เพื่อผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนและตระเตรียมอุปกรณ์เดินป่าขั้นสุดท้ายก่อนออกเดินทาง

                เมื่อวันเดินทางวันแรกมาถึง นักเดินป่าทั้งหลายต้องใช้รถตู้คันใหญ่เพื่อเดินทางออกจากตัวอำเภอไปให้ใกล้จุดสิ้นสุดทางหลวง จากนั้นนักเดินป่าจำต้องขนถ่ายตัวเองและสัมภาระไปยังขบวนรถกระบะของชาวบ้านท้องถิ่นราว 10 คันเพื่อไปยัง แม่ปะ จุดเริ่มต้นในการเดินป่าครั้งนี้ ที่อยู่บนความสูงราว 950 เมตรจากระดับทะเล โดยเส้นทางที่ไปยังจุดออกเดินนั้นต้องขับรถผ่านภูเขาอันลาดชันและคดเคี้ยว จึงต้องอาศัยชาวบ้านที่คุ้นเคยเส้นทางเป็นสารถีไปส่งยังปลายทาง


เส้นทางที่รถกระบะของชาวบ้านนำส่งคณะเดินป่าไปยังจุดเริ่มเดิน


บรรดานักเดินป่าต้องโดยสารรถกระบะพร้อมสัมภาระไปยังจุดเริ่มเดิน

                เพราะการเข้าสู่เส้นทางบนสันเขาและป่าลึกอาจทำให้หลงได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยเส้นทาง ดั้งนั้นก่อนออกเดิน จึงต้องมีการประชุม จัดกลุ่มสี รวมไปถึงแนะนำชาวบ้านผู้ชำนาญเส้นทางประมาณ 10 คน ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำทาง เป็นที่ปรึกษาระหว่างการเดินทาง รวมไปถึงตอบข้อสงสัยต่างๆ ในกรณีที่คนเมืองต่างถิ่นอยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพื้นที่ที่พวกเขาคุ้นเคย ก่อนจะเริ่มออกเดิน


                เมื่อเริ่มออกเดินตามเส้นทางที่ลาดสันเขาไปราวครึ่งวัน คนที่ไม่ได้คุ้นเคยกับการเดินป่ามากนักเช่นผมก็เริ่มรู้สึกเหนื่อยหอบ สีหน้าท่าทางจึงแสดงออกอย่างชัดเจน จนพี่เล็ก หนึ่งในชาวบ้านผู้นำทางไปกับกลุ่มของเรา ทักผมด้วยภาษาไทยกลางในสำเนียงท้องถิ่น

“เหนื่อยเหรอครับ”

ผมพยักหน้าน้อยๆ แทนคำตอบ

“ธรรมดาครับ ขนาดผมคนพื้นที่ยังเหนื่อยเลย” ผมเห็นใบหน้าอันสดใสของพี่เล็กที่หันมาทางผมแม้จะเดินมาครึ่งวันแล้วก็ตาม ยากจะเชื่อว่าเขาเองก็รู้สึกเหนื่อยเหมือนกับผม




เส้นทางก่อนถึงจอลือคี


                หลังจากใช้เวลาเดินป่าราว 5 - 6 ชั่วโมง เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร เราก็มาถึงยังจุด Check Point ที่ 1 ชื่อว่า “จอลือคี” ตั้งอยู่บนระดับความสูง 1,150 เมตรจากระดับทะเล คำว่า จอลือคี ในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า “ภูเขาที่เป็นต้นน้ำ” หรือขุนน้ำของห้วยจอลือ จากจุดนี้สามารถเห็นขุนน้ำที่คอยซับน้ำฝนจนเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยงทั้งชาวกะเหรี่ยงและอีกหลายชีวิตเบื้องล่างภูเขา รวมไปถึงมุมมอง 360 องศาของทิวทัศน์ภูเขาอันสลับซับซ้อน ผู้มาเยือนหลายคนตื่นเต้นไปกับทัศนียภาพที่สวยงามจับใจ รวมไปถึงตอนกลางคืนที่ท้องฟ้าเปิดให้ชมดวงดาวได้อย่างสุดสายตาไร้สิ่งบดบัง


เต็นท์ของบรรดานักเดินป่าที่กางในจุด Check Point ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา

แต่สำหรับชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ นี่คือทัศนียภาพที่พวกเขาคุ้นเคยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เช่นเดียวกับคนเมืองที่คุ้นเคยกับทัศนียภาพของตึกสูงที่ให้ภาพราวกับภูเขาแคบๆ ซึ่งสูงลดหลั่นและอัดแน่นกันในพื้นที่เล็กๆ

วันที่ 2 :  ดอยธง สู่ยอดดอยชันในแดนหนาว

ในวันนี้ นักเดินป่าทุกคนเริ่มออกเดินทางจากจอลือคีตั้งแต่เช้าเพื่อมุ่งหน้าไปยังยอด “ดอยธง” จุด Check Point ที่ 2 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,650 เมตรจากระดับทะเล อันเป็นจุดสูงที่สุดของเส้นทางในครั้งนี้



เส้นทางเดินป่าในวันที่สอง ที่มีความลาดชันมากที่สุด แต่ก็มีทิวทัศน์ที่สวยงามตลอดทาง


                แม้จะเป็นวันที่มีระยะการเดินสั้นที่สุด คือ 8 กิโลเมตร แต่สำหรับผม นี่คือวันที่ยากที่สุดในการเดินทาง เพราะเส้นทางนั้นต้องเดินไปบนสันปันน้ำที่มีความชันมาก ทำให้ชาวบ้านผู้นำทางต้องคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือนักเดินป่าต่างถิ่นเป็นพิเศษ รวมถึงตัวผมที่ต้องอาศัยกำลังของพวกเขาในการผลักดันร่างกายเมื่อต้องเดินบนทางลาดชันในยามที่ร่างกายไร้เรี่ยวแรงอยู่ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าเส้นทางจะยากลำบากที่สุด แต่ก็ตอบแทนนักเดินป่าด้วยทิวทัศน์ภูเขาอันสวยงามสุดลูกหูลูกตาไปเกือบตลอดเส้นทาง

เมื่อราว 20 ปีที่แล้ว ชาวกะเหรี่ยงในแถบเส้นทางนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ราวกับหมู่บ้านในนิทาน” คือใจความที่ ธัชรวี หาริกุล หรือพี่งบ ผู้จัดโครงการเดินป่านี้ เล่าถึงประสบการณ์การค้นพบเส้นทางเดินป่านี้ให้กับนักเดินป่าฟัง หลังเสร็จสิ้นการเดินทางในยามเย็นวันที่สองของการเดินทาง

                พี่งบกล่าวต่อไปว่า ในหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง ดูเหมือนเงินตราไม่ใช่สิ่งจำเป็น พวกเขาถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่ละครอบครัวมีที่ดินราว 4 - 5 แปลง เพื่อทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวแค่พอกิน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จก็ปล่อยให้ที่ดินผืนนั้นฟื้นตัว ไปปลูกข้าวในไร่นาแปลงอื่น รอเวลาให้ดินที่ถูกใช้งานไปแล้วกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เป็นวิถีการอนุรักษ์ป่าที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อให้พวกเขาพึ่งพาอาศัยธรรมชาติได้ต่อไป หากต้องการสิ่งใดเพิ่มเติมก็เพียงแค่เข้าไปหาของป่าหรือล่าสัตว์ พวกเขาแทบไม่รู้จักการใช้เงินตรา ชาวบ้านของหมู่บ้านในนิทานนี้มีชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่ายและมีความสุข


ในทุกวันหลังเสร็จสิ้นการเดินป่า ผู้เข้าร่วมการเดินป่าทั้งไทยและต่างชาติจะรับฟังเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังเส้นทางในแต่ละช่วง

                “แต่ในช่วงระยะหลัง วิถีชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป” พี่งบกล่าวและเสริมว่า วิถีชีวิตสมัยใหม่แบบคนเมืองค่อยๆคืบคลานเข้ามา พวกเขาค้นพบว่าเงินตรากลายเป็นสิ่งจำเป็น การทำไร่หมุนเวียนในเชิงอนุรักษ์เริ่มกลายเป็นการถางป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว อันเป็นทางเดียวที่พวกเขาจะหาเงินมาได้มากๆ พวกเขาจึงเริ่มทำการเกษตรในวิถีที่ทำลายธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงการใช้สารเคมี

ดังนั้น เพื่อช่วยชาวกะเหรี่ยงอีกทางหนึ่ง พี่งบจึงเกิดแรงบันดาลใจในการจัดโครงการเดินป่านี้ขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านเริ่มมีรายได้จากการนำทางหรือขายของให้นักท่องเที่ยวหรือนักเดินป่าที่ต้องการสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และเพื่อให้ชาวบ้านได้เล็งเห็นถึงวิธีการหาเงินแบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำลายธรรมชาติ แต่ต้องรักษาไว้เพื่อการท่องเที่ยว และเพื่อวิถีชิวิตดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติของพวกเขาเอง



ผู้นำทาง ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่กำลังผ่อนคลายอิริยาบถ หลังทำหน้าที่นำทางนักเดินป่ามาตลอดทั้งวัน

                อย่างไรก็ตาม พี่งบบอกว่า นี่เป็นเพียงโครงการเล็กๆ อาจจะช่วยชาวบ้านได้ในระดับที่ไม่ใหญ่โตนัก “แต่อย่างน้อยให้พวกเขาไม่ต้องถางป่าเพิ่มนิดหนึ่งก็ยังดี” เขากล่าวในระหว่างการคุยส่วนตัวกับผม ในเวลาไม่นาน จากจุดเริ่มต้นด้วยโครงการเล็กๆ ของพี่งบก็เริ่มพัฒนามากขึ้น ซึ่งจะขยายความในภายหลัง








ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 636
  • -จึงได้รับ: 967
  • กระทู้: 2161
  • กำลังใจ : +946/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: เดินป่า 4 วัน 49 กิโลเมตร แม่ฮ่องสอน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 31 มกราคม 2563, เวลา 21:24:30 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              




วันที่ 3 :  หมื่อฮะคี ดินแดนอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เมื่อยามมาถึง)

                ในเช้าวันที่ 3 ผมลืมตาด้วยความรู้สึกว่านอนอย่างไม่เต็มอิ่ม เนื่องจากคืนวันก่อน อุณหภูมิเลขตัวเดียวบนยอดดอยซึ่งรวมตัวกับน้ำค้างหนาที่เกาะเต็นท์ได้ผลิตมวลอากาศหนาวสุดขั้วเสียดทะลุเข้ามาตามร่างกาย ผมจึงรู้สึกตัวเป็นระยะๆ ตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่แสงอาทิตย์แผ่กระจายไปทั่วท้องฟ้า ผมก็ต้องเริ่มออกเดินป่าในวันที่ 3 อีกครั้ง



คณะเดินป่าส่วนหนึ่งกำลังดูแผนที่เปรียบเทียบเส้นทางเดินในวันที่ 3 ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากยอดดอยธง

                เส้นทางที่ผมต้องเดินในวันนี้มีความยาว 19 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในการเดินทาง เราเริ่มไต่ระดับลงจากดอยธงเพื่อไปยัง หมื่อฮะคี หรือหมู่บ้านแม่หาด หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงบนดอยที่ตั้งอยู่บนระดับความสูง 930 เมตรจากระดับทะเล และตั้งอยู่ไกลที่สุดแห่งหนึ่งจากทางถนน ในอดีต คนนอกสามารถสัญจรมาทางถนนได้เฉพาะแค่ในหน้าแล้งเท่านั้น คำว่า หมื่อฮะคี ในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า ดินแดนอาทิตย์อัสดง ซึ่งมีความหมายแฝงว่า ใครก็ตามที่มายังหมู่บ้านแห่งนี้ มักจะถึงในช่วงที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ตั้งแต่ออกเดินทางผมก็ค้นพบว่า เส้นทางนี้มีครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทางเดินราบเรียบปกคลุมไปด้วยร่มเงาจากต้นไม้สูงใหญ่ ทางลาดสูงชันที่ค่อนข้างอันตราย และทางเดินขึ้นเขาที่มาพร้อมกับอากาศเบาบาง เป็นต้น

               หลังจากเดินมาตลอดทั้งวัน ผมเริ่มเดินตัดเข้าไปในพื้นที่ของหมู่บ้านเพื่อไปยังจุด Check Point ที่ 3 ซึ่งในพื้นที่หมู่บ้านนี้เอง นักเดินป่าทั้งชาวไทยและต่างประเทศจะได้เห็นบ้านเรือนและความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงที่เรียบง่าย อยู่ร่วมใกล้ชิดกับธรรมชาติ ได้ยินคำทักทายและเห็นรอยยิ้มที่มอบให้กับผู้มาเยือน มีช่วงหนึ่งที่ผมเกือบหลงทาง ชาวบ้านก็ให้คำแนะนำเรื่องเส้นทางกับคนแปลกหน้าอย่างผมเป็นอย่างดี ผมจึงคาดเดากับตัวเองว่า แม้วิถีชีวิตสมัยใหม่จะคืบคลานเข้ามา แต่จิตวิญญาณของชาว “หมู่บ้านในนิทาน” ยังคงอยู่กับพวกเขา




แสงสุดท้ายของวันที่หมื่อฮะคี อันมีความหมายในภาษากะเหรี่ยงว่า ดินแดนอาทิตย์อัสดง (เมื่อยามมาถึง)



เด็กนักเรียนโรงเรียนหมู่บ้านแม่หาด หรือ หมื่อฮะคีในภาษากะเหรี่ยง

หมื่อฮะคียังคงเป็นดังคำเล่าลือ เพราะกว่าผมจะเดินมาถึงจุดหมาย ก็เป็นช่วงแสงสุดท้ายของวันแล้ว

                หลังจากกางเต็นท์ ผมนำเงินที่ติดตัวอย่างสงบนิ่งมาตลอด 3 วัน ใช้จ่ายไปกับร้านค้าชั่วคราวที่ชาวบ้านในพื้นที่มาตั้งโต๊ะขายให้กับนักเดินป่ากลุ่มใหญ่ เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ผมต้องพึ่งพาเสบียงที่ติดตัวมาเป็นหลัก ดังนั้นการได้ใช้จ่ายซื้ออาหารที่ปรุงสดใหม่กับชาวบ้านจึงเปรียบเหมือนดินแดนสวรรค์บนดินน้อยๆ และเมื่อคิดว่าการใช้จ่ายครั้งนี้จะเป็นรายได้เพิ่มเติมให้กับชาวบ้านที่มีส่วนเบื้องหลังในเส้นทางนี้ก็ทำให้รู้สึกอิ่มทั้งกายและใจ

วันที่ 4 :  สบโขง ชีวิตจริงของต้นน้ำ และ นาเชิงเขา

               [color]=teal] ในวันสุดท้าย ผมออกเดินทางจากหมื่อฮะคี ลงจากยอดดอยเป็นระยะทางราว 14 กิโลเมตร ไปยังเส้นชัยที่ หมู่บ้านสบโขง หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงริมฝั่งแม่น้ำเงา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยังคงใสสะอาด เนื่องจากอยู่ในป่าลึกและชาวบ้านช่วยกันรักษาต้นน้ำอย่างดี เส้นทางจากหมู่บ้านลงดอยต้องผ่านทางเดินที่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจัดกิจกรรมเดินป่านี้เป็นครั้งแรก คือหนึ่งในพื้นที่ไร่นาหมุนเวียนของชาวบ้านที่ตั้งอยู่ตรงเชิงเขา แต่ทุกวันนี้ ที่ดินตรงนี้ซึ่งผมกำลังเดินผ่านอยู่ในช่วงกระบวนการฟื้นตัว มีต้นไม้พุ่มเตี้ยๆขึ้นปกคลุมเส้นทางเดิน แทบดูไม่ออกว่าเคยผ่านการทำไร่มาก่อน [/color]
 


เส้นทางเดินที่ลาดลงในหุบเขา



ระหว่างการเดินทาง จะมีผู้นำทาง (ด้านซ้ายมือ) คอยนำทางและให้คำแนะนำตลอดการเดินทั้ง 4 วัน

                ความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นตลอด 3 วันเริ่มกลายเป็นความเคยชิน เมื่อเดินลงมาเรื่อยๆ ที่บริเวณป่าเชิงเขา ผมจึงสนุกกับการได้พบเจอธารน้ำเล็กๆ หลายสิบสายที่กลั่นมาจากต้นน้ำหลายจุดในป่า และในเส้นทางนี้เองที่ผมได้เห็นต้นน้ำเป็นครั้งแรกในชีวิต ยิ่งเดินใกล้ถึงจุดหมายมากขึ้น จากที่เคยเห็นธารน้ำเล็กๆ ก็เริ่มเห็นเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ค่อนข้างไหลเชี่ยว ขณะเดียวกันผมก็เริ่มเห็นที่ดินเพาะปลูกพืชไร่ของชาวเขามากขึ้น พร้อมกับอุณหภูมิร้อนระอุที่เริ่มเข้าหาตัว

               ในช่วงเวลาบ่ายคล้อย ผมเดินทางถึงเส้นชัยในหมู่บ้านที่เป็นจุดหมาย ผมพบเห็นชาวบ้านในหมู่บ้านกำลังจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงฉลองในตอนเย็นให้กับนักเดินป่าผู้พิชิตเส้นทางเดินอันหฤโหดนี้ พอมองทะลุไปเบื้องหลังฉากนั้นก็จะพบกับแม่น้ำเงา แม่น้ำสายใหญ่ที่เป็นปลายทางของต้นน้ำที่ผมได้เดินตามมาตลอด 4 วัน ดังนั้นเมื่อจัดการปลดสัมภาระและตั้งเต็นท์แล้ว ผมจึงพาร่างกายอันเหนื่อยล้าพุ่งลงไปยังแม่น้ำสายนั้นที่ทั้งใสสะอาดและให้ความสดชื่นแก่ผมอย่างเต็มกำลัง




เส้นชัยและจุดสิ้นสุดการเดินป่า ที่หมู่บ้านสบโขง จะมีชาวบ้านรอต้อนรับ



เวทีและอัฒจันทร์ที่สร้างจากไม้ไผ่โดยชาวบ้านหมู่บ้านสบโขง ด้านซ้ายคือแม่น้ำเงา แม่น้ำสายสำคัญของชาวบ้านในแถบนี้ ซึ่งยังคงใสสะอาด เนื่องจากต้นน้ำได้รับการดูแลอย่างดี

“เหมือนได้เกิดใหม่เลยแฮะ” เพื่อนร่วมเส้นทางเดินป่าที่กำลังดำผุดดำว่ายในแม่น้ำกล่าวกับผมเช่นนั้น ผมเองก็รู้สึกไม่ต่างกัน

เหมือนกับว่าธรรมชาติแห่งนี้ได้ให้ชีวิตใหม่กับผมอีกครั้ง


บทสรุป :  ชีวิตสัมพันธ์ของชาวบ้าน นักเดินป่า และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

                ในบรรยากาศงานเลี้ยงตอนค่ำ ช่วงที่ชาวบ้านสบโขงจำนวนหนึ่งมาจำหน่ายอาหารให้กับบรรดานักเดินป่าไปเลี้ยงฉลองความสำเร็จของตัวเอง ผมปลีกตัวมาพูดคุยกับชาวบ้านที่มาเป็นผู้นำทางในครั้งนี้ หนึ่งในนั้นคือ โม๊ะโล๊ะ วนาธรรมเจริญ ชาวบ้านหมู่บ้านสบโขงที่เป็นผู้นำทางมาตลอด 4 วัน ผมถามโม๊ะโล๊ะและชาวบ้านคนอื่นๆไปตรงๆว่า คนนอกอย่างนักเดินป่าที่มาในวันนี้ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับพวกเขาจากการเดินป่าครั้งนี้บ้างไหม

               โม๊ะโล๊ะเท้าความให้ฟังถึงวิธีการหารายได้ของเขาและชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ นั่นคือการเข้าไปรับจ้างทั่วไป ตัวเขาเองก็เลี้ยงสัตว์ ทำรายได้ราว 20,000 – 30,000 บาทต่อปี แต่ถ้าหักค่าใช้จ่ายแล้วจะเหลือประมาณ 15,000 – 20,000 บาท และเมื่อถึงฤดูทำพืชไร่ เช่น ปลูกถั่ว ซึ่งทำได้เพียงปีละหนึ่งครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ก็จะได้รายได้ราว 20,000 บาท โดยยังไม่หักต้นทุน เมื่อหารจำนวนรายได้เป็นต่อวันก็ไม่ได้มากมายนัก ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตเช่นนี้ แต่การทำหน้าที่เป็นผู้นำทางในกิจกรรมเดินป่าครั้งนี้สร้างรายได้ให้เขาเพิ่มเติมอีกราว 500 บาทต่อวัน หากคำนวณเงินที่พวกเขาจะได้รับตลอดทั้งงานก็เป็นสัดส่วนรายได้ต่อวันที่มาก นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่ได้ประโยชน์จากการให้บริการรถกระบะและจำหน่ายอาหารระหว่างเส้นทางอีกมาก




ผู้นำทางให้กับนักเดินป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตามเส้นทางเดินป่า หนึ่งในทีมผู้อยู่เบื้องหลังงานเดินป่าครั้งนี้

                แม้โครงการ Fjallraven Thailand Trail ที่จัดขึ้นเพียงราว 1 สัปดาห์ใน 1 ปี จะจบไป แต่พวกเขาไม่ได้หยุดบทบาทแต่เพียงเท่านี้ เพราะโครงการเดินป่าเล็กๆนี้ได้เป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในเส้นทางเดินป่าได้ร่วมมือกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนในชื่อ เส้นทางเดินป่าระยะไกลชุมชนขุนน้ำเงา เพื่อจัดการนำเที่ยวเดินป่าในเส้นทางรูปแบบเดียวกันนี้แก่ผู้ที่สนใจในช่วงฤดูหนาว พร้อมกับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอื่นๆ เช่น แคนูแคมปิ้งและการตกปลาเชิงอนุรักษ์ที่ชาวบ้านเป็นผู้ดูแล การบริการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาตินี้เองที่เป็นตัวกระตุ้นให้ชาวบ้านต้องรักษาธรรมชาติตามวิถีดั้งเดิมของพวกเขา โดยผู้ที่ให้การฝึกอบรมการจัดการท่องเที่ยวคือมูลนิธิธรรมชาติไม่จำกัด ที่มีพี่งบ ผู้ริเริ่มโครงการเส้นทางเดินป่าในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง จนปัจจุบัน ชาวบ้านสามารถรับนักท่องเที่ยวผ่านการติดต่อโดยตรงทาง Facebook ได้แล้ว



ชาวบ้านในหมู่บ้านสบโขง กำลังเตรียมตั้งร้านขายอาหารให้กับบรรดานักเดินป่าที่เข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองในวันสุดท้าย

                ถึงแม้ว่าในอนาคต พื้นที่บางส่วนที่ผมได้เดินมาจะอยู่ในขั้นเตรียมการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแม่เงา ซึ่งจะมีกระบวนการอนุรักษ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งไว้สำหรับการทำกินของชาวบ้านเอง สำหรับผมแล้ว การจะอนุรักษ์พื้นที่นี้เอาไว้ให้ได้คงไม่ใช่การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของชาวบ้านแต่เพียงลำพัง คนเมืองซึ่งเป็นผู้รับทรัพยากรปลายน้ำสามารถมีส่วนช่วยในการสร้างรายได้ให้กับพวกเขาโดยการเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ ภายใต้หลักการที่รบกวนธรรมชาติและเจ้าบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่พวกเขาพยายามรักษาและมีผลต่อตัวเรา

จะคนบนดอยหรือคนเมืองก็ไม่ต่างกัน เพราะทุกคนล้วนกำเนิดมาจากธรรมชาติ

เรื่อง เกียรติศักดิ์ หมื่นเอ
ภาพ ณัฐวัฒน์ ส่องแสง




soupvan cnx. ยินดีให้คำปรึกษา เส้นทางการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง และ ที่พัก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

จัดทริปเที่ยว ส่วนตัว หรือ หารเฉลี่ย
หาที่พัก สอบถามการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการเที่ยว ...
พูดคุย ทักทาย กันที่ กลุ่ม
soupvan พาเที่ยว ได้นะครับ ...





:Big-QQ (45):      :Big-QQ (45):    soupvan cnx.    :Big-QQ (45):      :Big-QQ (45):
 
ลุงซุป เชียงใหม่    (ศุภชัย นันท์วโรทัย)     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th