ก่อนที่จะว่าต่อไป ขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ในงานนี้นะครับ
ภาพนี้เป็น
เครื่องเจียรระบบลม ทำหน้าที่ได้หลากหลายตามอุปกรณ์ที่อยู่ปลายเครื่อง เช่น เจีย ตัด ขัดเงา แต่ง เจาะ ต่างๆ ก็เขาทั้งนั้น เครื่องเจียรระบบลมนี้ต้องใช้คู่กับถังลมนะครับ
และลืมบอกไป ไอ้ใบกลมๆ ขวามือนั่นคือใบตัดเหล็กของ
เครื่องเจียขนาด 4 นิ้ว งานนี้พระเอกเลย ขาดมันไม่ได้เพราะงานใหญ่ๆ ไม่ว่าทั้งตัด แต่ง เจีย ให้เป็นเว้าโค้ง
มีใครสับสนกับคำว่า เจียร เจีย ไหม ผมไม่ได้เขียนผิดนะ
1. คำว่า "เจียร" มันมาจากคำว่าเจียระไน ที่มันหมายถึงเจียแบบละเอียด ละเอียดแทบจะขึ้นเงาหน่ะ เลยต้องใช้คำนี้
2. ส่วนคำว่า "เจีย" มันหมายถึงการเจีย หรือตัดชิ้นงานแบบทั่วๆไปที่ทำแบบหยาบๆอุปกรณ์ต่อพ่วงของเครื่องเจียรระบบลม ข้อดีของมันคือความเร็วรอบเจ้าเครื่องนี้จะสูงมาก 2-3 หมื่นรอบ/นาที
อุปกรณ์ต่อพ่วงของเครื่องเจียรระบบลม
1. ดอกเขียวๆแก่ ที่ติดคาอยู่ คือดอกเจียรแบบละเอียดมากและขัดเงาไปในตัว
2. ดอกเจาะ/ดอกกัดเหล็กสองแบบ ได้ทั้งเจาะ คว้านรู มันคมสุดทรวง เจ้าสองดอกนี่แหละคือพระเอกในการเจาะรูสเตนเลสและคว้านรูให้กว้างของงานนี้ (มีประจำการ 6 ดอก หรืออย่างละ 3 ดอก)
เด๋วหลายคนสงสัย ว่ามันจะเจาะรูได้งัย มั่วปล่าว อ่อตัวนี้ใช้วิธีเอาข้างๆค่อยๆกดลงกับชิ้นงานจนทะลุ แล้วเอาด้านตรงลอดรูลงไปคว้านรูให้กว้างอีกทีนึง เข้าใจแล้วนะ
(เครื่องเจียรระบบลม ดอกเจาะ /ดอกกัด ดอกขัด ดอกเจีย ทุกอย่างชุดนี้ราคารวม 2 หมื่นกว่า บอกตรงๆว่าจะให้ซื้อมาใช้เองคงม่ายเอาอ่ะ โดยเฉพาะดอกเจาะ /ดอกกัด ดอกนึงก็ 2,200 บาท แต่นายช่างผลิตโมลด์ของโรงงานเขาบอกว่ามันเหลือใช้เลยแบ่งมาให้ใช้ฟรี อิอิ )ส่วนเจ้านี่ที่เห็นแต่ชุดหัว คือหัวเชื่อมอาร์กอนครับ ทำหน้าที่เชื่อมสเตนเลสให้งานยากเป็นง่ายไปเลย งานนี้ผมมอบหน้าที่ให้เจ้าเครื่องเชื่อม 2 ระบบยี่ห้อ
JASIC รุ่น TIG225MT (IGBT) (เชื่อมได้ทั้งแบบธูป และแบบอาร์กอน)
ตู้เชื่อมแบบนี้ ถ้าใครคิดว่าจะจัดหาตู้เชื่อมแบบอินเวอร์เตอร์มาใช้ที่บ้าน แนะนำนะว่าถ้ากัดฟันเพิ่มเงินซื้อแบบเชื่อมได้ 2 ระบบ คือเชื่อมแบบธูป และอาร์กอนได้ละก็ขอแนะนำอย่างหลังนะครับ เพราะมันทำงานได้มากมายกว่าที่เราคิดเชื่อผมเถอะ ซื้อมาแล้วท่านจะไม่เสียใจ เพราะข้อดีของการเชื่อมแบบอาร์กอน ท่านแทบจะไม่ต้องใช้ลวดเชื่อมเลยส่วนมากใช้วิธีเชื่อมแบบละลายเนื้อเหล็กเดิมให้ติดกันทำให้จุดเชื่อมแข็งแรงมาก
เชื่อมอาร์กอนต่างกับเชื่อมแก๊สตรงที่อาร์กอนเชื่อมโดยการอาร์คชิ้นงานให้หลอมละลายในเวลาเสี้ยววินาที แต่เชื่อมแก๊สท่านต้องเป่าชิ้นงานให้หลอมละลายก่อนใช้เวลาเป็นนาทีนี่ครับตู้เชื่อม 2 ระบบที่ใช้งานนี้
JASIC รุ่น TIG225MT (IGBT) (เชื่อมได้ทั้งแบบธูป และแบบอาร์กอน)
ตู้เชื่อม2ระบบ แบบธูป+อาร์กอน ตอนซื้อมาในชุดของมันจะมีสายเชื่อมธูปมาให้คู่นึง (ในหนึ่งเส้นจะนำไปใช้ร่วมกับเชื่อมอาร์กอนด้วย) และชุดสายเชื่อมอาร์กอนอีกชุดนึง แถมชุดเกจปรับแรงดันมาให้ด้วย แต่ไม่มีถังอาร์กอนและสายก๊าสแถมให้นะครับถังแก๊สอาร์กอน ขนาด 1.5 คิว (ภาพแทน) และรถเข็น/ลาก
ถังแก๊สอาร์กอนจริงๆต้องเป็น
สีฟ้านะครับ ถ้าสีเขียวจะเป็นออกซิเจน ถังที่ใช้ทั่วไปมีขนาดความสูง 95 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 ซม. น้ำหนัก 17 กก. รวมแก๊สอาร์กอนแล้วถือว่าหนักพอดู จำเป็นต้องมีรถเข็นด้วยนะครับ ยกไปยกมาไม่ไหวแน่
- เฉพาะถัง ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500-2,700 บาท
- แก๊สอาร์กอนอีก 300 บาท /ถัง เวลาแก๊สหมดจะหมุนเวียนกันแบบถังแก๊สหุงต้มนะครับ
- รถเข็น ราคาจะอยู่ที่ 500-700 บาทเจ้านี่ คือหน้ากากเชื่อมโลหะแบบรุ่นใหม่ปรับแสงอัตโนมัติ
หลายคนอาจไม่เคยเห็น เพราะรุ่นเก่าๆจะเป็นกระจกมืดๆสีดำกรองแสง เรียกว่ามืดจริงๆ แต่ตัวนี้เป็นระบบอีเล็คทรอนิคส์ครับ ที่ด้านหน้าจะมีแผงโซล่าเซลล์รับแสงแปลงเป็นไฟฟ้าไปจ่ายให้แผงอีเล็คทรอนิคส์และจอ LCD ด้านหน้า ที่ติดคู่กับแผงโซล่าเซลล์ และตัวเซ็นเซอร์แสง
หลักการทำงานคือ พอเราเชื่อมหรืออาร์คโลหะจะเกิดแสงจ้า เจ้าแผงโซล่าเซลล์ก็จะจับแสงจ้าแปลงเป็นไฟฟ้าไปจ่ายให้ชุดควบคุม ชุดควบก็ส่งพลังงานไฟฟ้าไปจ่ายให้จอ LCD ให้มืด จะมืดน้อยหรือมากก็อยู่ที่เราปรับความเข้มเป็นตัวปรับอยู่ข้างๆหน้ากาก ทำให้การเชื่อมเป็นเรื่องง่ายไปทันที ไม่ต้องมาคอยถือหน้ากากบังหน้าให้เสียเวลา เพราะหน้ากากออโต้แบบนี้ในขณะที่เราไม่เชื่อมโลหะ เราสามารถมองผ่านจอ LCD เห็นชิ้นงานได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องถอดหน้ากากเลย (ที่ผมใช้ก็รุ่นนี้แหละ ราคาทั่วๆไปก็อยู่ที่ 900-1500 บาท แล้วแต่ร้าน)